อ่านข่าว

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รัสเซีย


พระราชวังเครมลิน
พระราชวังเครมลิน ตั้งอยู่ที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย สร้างอยู่บนเนินเขาริมฝั่งแม่น้ำมอสควา ภายในมีพระราชวัง หอคอย และป้อมปราการ ซึ่งในอดีต เป็นที่ประทับของพระเจ้าซาร์กษัตริย์แห่งราชวงศ์รัสเซีย แต่ได้ถูกปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์ และได้ใช้เป็นที่ทำการรัฐบาลเครมลิน เป็นชื่อ ของนักการเมือง พอระบบสังคมนิยม ล่มสลายเป็นประชาธิปไตย ก็ได้เปิดให้เป็น แหล่งท่องเที่ยว จนถึงปัจจุบันสถาปัตยกรรมของกรุงมอสโกนั้น พระราชวังเครมลินถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีเลิศที่สุดในยุโรปยุคกลาง คำว่า "เครมลิน" มีความหมายว่า ป้อมปราการ มีความยาวล้อมรอบ 2,235 เมตร มีหอคอย 18 แห่ง (เพื่อป้องกันการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน) โดยมีการปรับปรุงต่อเติมมาเรื่อยๆ เริ่มจากใช้อิฐสีขาวเป็นรอบรั้วกั้นกำแพงแต่ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาเป็นอิฐสีแดง ซึ่งความสูงของหอคอยแตกต่างกันระหว่าง 28-71 เมตร เช่นภายในพระราชวัง แห่งนี้ประกอบด้วยปราสาท โบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์ คลังแสง อาวุธยุทธภัณฑ์ หอคอย ป้อมปราการ หอสูง ยอดแหลม และโดมมากมาย มีกำแพงสูง 65 ฟุตรอบพระราชวัง มีความยาวเกือบ 3 กิโลเมตร พระราชวังจักรพรรดิอยู่ตรงกลาง หอคอยอิวานเวลิกี้สูง 270 ฟุต เป็นที่แขวนระฆัง ของพระเจ้าโบริสดูนอฟ ผู้อยู่บนหอคอย จะสามารถมองเห็นทัศนียภาพ กรุงมอสโก ที่สวยงาม ได้อย่างชัดเจน บรรดาหอคอย หอสูง โดม ป้อมปราการเหล่านี้ เมื่อแสงพระอาทิตย์สาดมาต้อง จะเห็นเป็นสีทอง เปล่งปลั่ง สุกอร่าม งามตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก ประตูสำคัญ คือประตูโปรดชำระบาป ซึ่งพระเจ้าซาร์อะเล็กซิส โปรดให้สร้างเมื่อปีค.ศ. 1491 โปรดให้ติดโคมใหญ่ไว้บนยอดดวงหนึ่งประตูนี้เคยมีพระบรมราชโองการรับสั่งให้ผู้ผ่านเข้าออกต้องถอดหมวก แสดงความเคารพ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกจับประหารชีวิต ถัดไปไม่ไกลมีมหาวิหารอัครเทวทูตซึ่งมีที่ตกแต่งไว้อย่างงดงาม เพื่อใช้เป็นสุสานฝังพระศพของพระเจ้าซาร์ทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังมีโบสถ์อัสสัมชัญซึ่งสร้างไว้อย่างประณีตบรรจงเป็นพิเศษ
มหาวิหารเซนต์บาซิล
เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้น ในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียนแห่งอาณาจักรโรมันและสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิติตัส
ในคริสตศตวรรษที่ 1หรือประมาณปี ค.ศ.80อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทราย วัดโดยรอบได้ประมาณ 527เมตร สูง 57เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000คนมีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรีเพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬาและมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน ในบางครั้งจะมีการเรียกชื่อ โคลิเซียม (Coliseum โดยในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
มหาวิหารเซนต์บาซิล (St. Basil’s Cathedral) คืออีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของกรุงมอสโก ด้วยรูปทรงที่มีลักษณะเป็นโดมรูปหัวหอม สีสันสดใส ตั้ง ตระหง่านสง่างาม ขนาบข้างด้วยกำแพงเครมลิน ดึงดูดให้คนจำนวนไม่น้อยที่เดินทางสู่จัตุรัสแดงแล้วจะต้องถ่ายรูปเป็นที่ ระลึกคู่กับมหาวิหารแห่งนี้ พร้อมกับการเรียนรู้ความเป็นมาอันยาวนานของสถานที่สำคัญนี้ควบคู่กันไป
มหาวิหารเซนต์บาซิลสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอีวานที่ 4 (Ivan the Terrible) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในการรบชนะเหนือกองทัพของมองโกลที่เมืองคาซาน (Kazan) ในปี พ.ศ. 2095 หลังจากถูกปกครองกดขี่มานานหลายร้อยปี ออกแบบโดยสถาปนิก ปอสนิก ยาคอฟเลฟ (Postnik Yakovlev) และด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมจึงทำให้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า พระเจ้าอีวานที่ 4 ทรงพอพระทัยในความงดงามของมหาวิหารแห่งนี้มาก จึงมีคำสั่งให้ปูนบำเหน็จแก่สถาปนิก ผู้ออกแบบด้วยการควักดวงตาทั้งสอง เพื่อไม่ให้สถาปนิกผู้นั้นสามารถสร้างสิ่งที่สวยงามกว่านี้ได้อีก การกระทำในครั้งนั้นของพระเจ้าอีวานที่ 4 จึงเป็นที่มาของสมญานาม Ivan The Terrible หรืออีวานมหาโหด นั่นเอง
สิ่งที่ควรชม
-โดมรูปหัวหอม ที่มีหลากหลายสีสันสดใสสวยงามมีหลายขนาด เป็นโดม 9 แห่งที่รวมอยู่ด้วยกันได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน เป็นรูปแบบศิลปะจากจินตนาการจากเทพนิยายซึ่งเป้นพระบรรชาของพระผู้เป็นเจ้า หรือแรงบรรดาลใจจากเทพเจ้าบนสวรรค์
-ภาพรูปเคารพในโบสถ์กลาง (Main Iconostasis) เป็นภาพพระเยซูและสาวกคนสำคัญ และมีรวดลายฝังหินขัดเรียบที่มีสีสันสวยงามวิจิตรบรรจงมาก เป็นผลงานชิ้นเอกในสไตล์บารอก อายุราว 200 ปี บางภาพก็มากกว่านั้น
-อนุสาวรีย์ คอสมา มินิน และ ดมิทริ โปซาร์สกี้ (Kuzma Minin and Dmitry Pozharsky) หล่อด้วยทองสำริดโดย Ivan Martos ทั้ง 2 คนเป็นผู้นำกองกำลังอาสาสมัครต่อสู้ผู้รุกรานชาวโปล (Ploes) ออกจากเขตเครมลินในปี พ.ศ. 2361 หลังจากได้รับชัยชนะจากสงครามนโปเลียน (พ.ศ. 2348 เกิดสงครามกับฝรั่งเศส รัสเซียมีชัยชนะในการรบที่ออสเตอร์ลิสส์ (Austerlitz) พ.ศ. 2355 นโปเลียนบุกเข้ามอสโก แต่ตีไม่สำเร็จจึงต้องล่าถอยออกไป)บริเวณใกล้กันกับมหาวิหารเซนต์บาซิล เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานเลนินหรือสุสานเลนิน ซึ่งยังคงเก็บรักษาร่างของวลาดิเมียร์ เลนิน ผู้นำคนสำคัญของคอมมิวนิสต์ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปเคารพศพได้ แรกเริ่ม ตั้งอยู่ตรงกลางจตุรัสแดง หันหน้าเข้าหาว้งเครมลิน ต่อมาในยุคคอมมิวนิสต์โซเวียตได้มีการย้ายมาอยู่ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์บาซิล เปิดตั้งแต่ 11.00-19.00 น. วันพุธและวันพฤหัสบดี เปิดถึง 18.00 น. ปิดทุกวันศุกร์
"จัตุรัสแดง" (Red Square)
"จัตุรัสแดง" (Red Square) ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของกรุงมอสโก ตั้งอยู่กลางใจเมืองของมอสโก ประเทศรัสเซีย ทางด้านหน้าจัตุรัสแดงนั้น เป็นที่ตั้งของกิโลเมตรที่ศูนย์ของรัสเซีย สังเกตุได้จากที่พื้นถนนจะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลม และภายในวงกลมนี้เองก็จะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปยืนกลางวงกลมนั้นและโยนเศษเหรียญข้ามไหล่ตัวเองไปด้านหลังเพื่ออธิษฐานให้ได้กลับมาที่มอสโกอีกครั้ง ชื่อของจัตุรัสแดงอาจจะฟังดูแล้วนึกถึงการนองเลือด แต่จริงๆ แล้วคำว่าจัตุรัสแดงนั้นก็หมายถึงความสวยงาม ความดีงามเท่านั้นลานกว้างของจัตุรัสแดงนี้มีพื้นที่กว้าง 695 เมตร ยาว 130 เมตร ทำหน้าที่เป็นสถานที่จัดงานสำคัญๆ ต่างๆ ของรัสเซียมาหลายยุคหลายสมัย คล้ายๆ กับสนามหลวงของไทย ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่างๆ ของประเทศ เช่น การสวนสนามแสดงแสนยานุภาพของกองทัพรัสเซียในโอกาสต่างๆ รวมไปถึงการชุมนุมเรียกร้องเดินขบวนของประชาชนด้วยเช่นกัน บริเวณจัตุรัสแดงยังประกอบไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ รายรอบอีกมากมาย เช่น พระราชวังเครมลิน พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์รัสเซีย และห้างสรรพสินค้า GUM (ห้างกุม)
มหาวิหารเซ็นต์ซาเวียร์ หรือ มหาวิหารโดมทอง
มหาวิหารเซ็นต์ซาเวียร์ หรือ มหาวิหารโดมทอง (St. Saviour Cathedral) ตั้งอยู่ที่เมืองมอสโก ประเทศรัสเซีย เป็นมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย ที่ได้ถูกบูรณะขึ้นมาใหม่เนื่องในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 850 ปี แห่งการสถาปนากรุงมอสโก สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้า Alexander ที่ 1 เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือกองทัพของ นโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ในสมัยของสตาลิน เคยสั่งให้ทุบทำลายสถานที่แห่งนี้ จนกระทั่งในสมัยประธานาธิบดีบอริส เยลซิน จึงได้มีการบูรณะขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเงินบริจาคและพลังความศรัทธาของผู้คน มหาวิหารโดมทองแห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่หลักในการประกอบพิธีกรรมทางคริสตศาสนาของประเทศรัสเซีย
ห้างสรรพสินค้ากุม (GUM)
ห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงมอสโก แต่มีชื่อเสียงในเรื่องของสินค้าอันมีให้เลือกซื้อกัน อย่างหลากหลายชนิด ห้างสรรพสินค้ากุม หรืออีกสถนที่หนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ของเมืองนี้ ห้างสรรพสินค้ากุม ก่อสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1895 มีความสวยงามและโดดเด่นมากลักษณะชองตัวอาคารเป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีร้านค้าเปิดให้ บริการมากมายสำหรับให้ผู้ที่เดินทางหรือผู้ที่ชอบการช้อปปิ้งถึง 200 ร้านค้าด้วยกัน แต่สินค้าที่นี่อาจจะมีทั้งรูปลักษณ์ ภายในและภายนอกที่ดูหรูหราโอ่อ่า และที่สำคัญตั้งอยู่บริเวณลานกว้างในย่านจตุรัสแดงห้างสรรพสินค้ากูม มีการจำหน่ายสินค้าประเภทอุปโภคและบริโภคเช่น เสื้อผ้า ของใช้ในครัวเรือน สินค้าที่มีชื่อมียี่ห้อ เครื่องสำอางค์ น้ำหอม และสินค้าที่เป็นประเภทของที่ระลึก ซึ่งมีให้เลือกกันอย่างหลากหลายทีเดียว
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ( State Museum History )
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ( State Museum History ) ตั้งอยู่ในย่านจตุรัสแดง เมืองมอสโก ประเทศรัสเซีย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เก็บรวบรวมเอกสารที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ลักษณะของอาคารนั้นมีลักษณะเป็นตึกสีแดง หลังคาเป็นแบบสังกะสี และมีสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์และมีความเก่าแก่มาก ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยห้องต่างๆ จำนวน 21 ห้อง สร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช มีการเก็บรวบรวมพระราชสมบัติมากกว่า 45 ล้านชิ้นและเอกสารกว่า 15 ล้านชิ้น รวมทั้งสมุดที่ใช้ในการร่างเอกสารต่างๆ อัญมณีที่ล้ำค่าและเก่าแก่ และชุดไม้เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อาวุธที่ใช้ในการทำศึกสงครามของรัสฌซียแผนที่ รวมทั้งพระคำ ภีร์ที่สำคัญ ฯลฯ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ใช้ระยะเวลาในการตกแต่ง ปรับปรุงและซ่อมแซมเป็นเวลานานหลายปี เนื่องจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสถานที่ที่เก่าแก่จึงเป็นเหตุให้การตกแต่ง หรือการปรับปรุงและทำการซ่อมแซมเป็นไปได้ยากและใช้ระยะเวลานานพอสมควร
พระราชวังฤดูร้อนปีโตรเดอร์วาเรส
พระราชวังฤดูร้อนปีโตรเดอร์วาเรส เป็นพระราชวังที่สวยงามไม่เหมือนใคร ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย พระราชวังฤดูร้อนเปโตรควาเรสต์ (ปีเตอร์ฮอฟ) ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งทะเลบอลติก เป็น พระราชวังของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ตัวอาคารพระราชวังสวยงามมาก นอกจากนี้ยังมีน้ำพุมากกว่า 100 แห่ง การเข้าชมพระราชวังจะต้องนำถุงเท้าที่จัดเตรียมไว้ให้ สวมคลุมรองเท้าอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นของพระราชวังเสียหาย พระราชวังฤดูร้อนปีโตรเดอร์วาเรส เป็นที่หนึ่งของความใหญ่โตที่สุดในรัสเซีย 
พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิเทจและพระราชวังฤดูหนาว
พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิเทจและพระราชวังฤดูหนาว ตั้งอยูที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ท่านจะได้ชม “พระราชวังฤดูหนาว” จะได้พบกับความยิ่งใหญ่อลังการ มีลานกว้าง และ “เสาอเล็กซานเดอร์” ที่สร้างถวายพระเกียรติแด่กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ที่พระองค์ทรงชนะ สงครามเหนือนโปเลียนของฝรั่งเศส กล่าวได้ว่า พิพิธภัณฑ์นี้ยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ของฝรั่งเศสเลยทีเดียวพระราชวังฤดูหนาวจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์เฮอมิเทจ มีการแสดงผลงานศิลปะที่โด่งดังจากทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านชิ้น ตั้งแต่ยุคอียิปต์
วิหารเซ็นไอแซค (St. Isaac's Cathedral)
วิหารเซ็นไอแซค (St. Isaac's Cathedral) เป็นมหาวิหารที่ตั้งอยู่ที่เมืองเซ็นปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย เริ่ม ก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1818 แล้วเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1858 เป็นหนึ่งในมหาวิหารที่สวยที่สุดของรัสเซีย สร้างในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Auguste de Montferrand ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 40 ปี ประกอบด้วยเสาหินแกรนิต 48 ต้น น้ำหนักต้นละ 114 ตัน ถายในประดับประดาด้วยปฏิมากรรมบอร์น และภาพวาดกว่า 400 ชิ้น โดมทองอันสง่างามที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองด้วยขนาดมหึมาที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 25.8 เมตรซึ่งเป็นอันดับที่ 4 ของโลกรองจากมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม มหาวิหารเซนต์ปอลที่ลอนดอน และมหาวิหาร "สตา เดล ฟีออเร" ที่ฟลอเรนซ์ประวัติของมหาวิหารเซนต์ไอแซคมีมายาวนานเกือบกว่าสาม
อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Bronze Horseman)
อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Bronze Horseman) เป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกของนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งติดกับแม่น้ำเนวา ด้านหน้าของโบสถ์เซ็นไอแซค ใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ก่อสร้างเป็นอนุสาวรีย์ของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ผู้เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้ขนานนามว่า มหาราช ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Entienne Maurice Falconet ตามพระบัญชาของพระนางแคทเธอรีนมหาราช ภายหลังจากการขยายดินแดนของประเทศไปจรดทะเลดำสำเร็จตามพระประสงค์ของพระเจ้า ปีเตอร์มหาราช โดยมีการสลักพระนามไว้ที่ฐานของหินแกรนิตด้วยที่อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งนี้ยังเป็นจุดชมทัศนียภาพของเมือง เช่น วิวของแม่น้ำเนวา ด้านหน้าของโบสถ์เซ็นต์ไอแซค ตึกบัญชาการกองทัพเรือ และอาคารเถระสมาคม อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งนี้เปิดให้ชมฟรีทุกวัน

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีได้สิ้นสุดลง เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีสติที่ฟั่นเฟือนไปจากเดิม ทำให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกหรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ทรงสร้างราชธานีใหม่ขึ้นอีกที่หนึ่งด้วย อีกทั้ง ยังทรงก่อตั้งราชวงศ์จักรีขึ้นมาให้เป็นราชวงศ์ใหม่ ที่มีการปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในระยะแรก แต่เมื่อล่วงเลยไปถึงปี พ.ศ. 2475 ระบบการปกครองก็ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยยาวนานมากกว่า 80 ปี สามารถสรุปลำดับของพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองในราชวงศ์จักรีได้ทั้งสิ้น  9  พระองค์    ดังต่อไปนี้

รัชกาลที่ 1  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นครองราชย์วันที่ 6  เมษายน พ.ศ. 2325 ถึง วันที่ 6 กันยายน   พ.ศ. 2352
รัชกาลที่ 2  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขึ้นครองราชย์วันที่  7  กันยายน  พ.ศ. 2352 ถึงวันที่  21 กรกฎาคม  พ.ศ. 2367
รัชกาลที่ 3  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์วันที่  21  กรกฎาคม  พ.ศ. 2367 ถึงวันที่ 2  เมษายน  พ.ศ. 2394
รัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์  วันที่ 2 เมษายน  พ.ศ. 2394 ถึงวันที่ 1  ตุลาคม  พ.ศ. 2411
รัชกาลที่ 5  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระปิยะมหาราช ขึ้นครองราชย์วันที่  1  ตุลาคม  พ.ศ. 2411 ถึงวันที่ 23 ตุลาคม  พ.ศ. 2453
รัชกาลที่ 6  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระมหาธีรราชเจ้า ขึ้นครองราชย์วันที่  23  ตุลาคม  2453 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.  2468
รัชกาลที่ 7  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์วันที่  26  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2468 ถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477
รัชกาลที่ 8  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์วันที่  2  มีนาคม พ.ศ. 2477 ถึงวันที่  9  มิถุนายน  พ.ศ. 2489
รัชกาลที่ 9   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ขึ้นครองราชย์วันที่  9   มิถุนายน  พ.ศ.  2489 จวบจนถึงปัจจุบัน
ราชธานีของไทยแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นต่อจากกรุงธนบุรีนั้น มีชื่อว่า “กรุงรัตนโกสิรทร์” หรือ “กรุงเทพมหานคร” ซึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์” มีความหมายว่า พระนครแห่งนี้มีพื้นที่อันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต และเป็นพระมหานครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะได้ มีความงามอันแสนมั่นคงและเจริญยิ่ง อีกทั้งยังเป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก นครแห่งนี้เต็มไปด้วยพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย ซึ่งเป็นวิมานของเหล่าเทพผู้อวตารลงมา อันมีท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษนุกรรมลงมาเนรมิตไว้ให้ กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับกรุงธนบุรีที่เป็นราชธานีเดิม โดยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์จักรี ก็คือ “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครแห่งใหม่นี้ขึ้นด้วย โดยรับสั่งให้พิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครแห่งใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ทรงลงมือกำจัดจลาจลที่เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดกรุงธนบุรีสำเร็จแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา และได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรกแห่งราชวงศ์จักรีด้วย  โดยทรงพระนามให้ตนเองว่า “ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของราชวงศ์อันยิ่งใหญ่ที่ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากแต่งตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นมาแล้ว ในปี พ.ศ.  2325 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงย้ายราชธานีจากที่เคยตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี มาเป็นฝั่งกรุงเทพฯที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  โดยให้เหตุผลในการย้ายราชธานีดังต่อไปนี้

พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีมีความคับแคบอีกทั้งยังมีวัดขนาบข้างทั้งสอง อันได้แก่ วัดท้ายตลาดหรือวัดโมลีโลกยาราม และวัดอรุณราชวราราม ทำให้ยากต่อการขยับขยายเมือง
ทรงไม่ต้องการให้ราชธานีถูกแม่น้ำเจ้าพระยาแบ่งกั้นออกเป็น 2  ส่วน
พื้นที่ในแถบตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ราบลุ่มซึ่งเหมาะต่อการขยายอาณาเขตของเมืองออกไปได้อย่างกว้างขวางมากกว่า
พื้นที่ในฝั่งธนบุรีมีลักษณะเป็นท้องคุ้ง ซึ่งทำให้น้ำกัดเซาะตลิ่งและพังทลายลงได้ง่าย
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 4 ข้อ จึงทำให้สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตัดสินใจสร้างพระบรมมหาราชวังในที่แห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  และโปรดให้สร้างวัดขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง พร้อมอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานคู่บ้านคู่เมืองด้วย  ซึ่งในปัจจุบันก็คือ วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว นั่นเอง

สภาพภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์
ภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในบริเวณแหลมที่ยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก และมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้ขุดคูพระนครขึ้นตั้งแต่บริเวณบางลำภูไปจนถึงวัดเลียบ ซึ่งมีผลให้กรุงรัตนโกสินทร์มีสภาพคล้ายกับเกาะสองชั้น ในขณะเดียวกัน ก็โปรดให้มีการสร้างพระบรมมหาราชวังแบบง่ายๆขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วย ส่วนกำแพงของพระนครนั้นก็สร้างจากอิฐของกรุงศรีอยุธยา
และเนื่องจากกรุงรัตนโกสินทร์ มีชัยภูมิในการป้องกันข้าศึกชั้นเยี่ยม ทั้งมีแม่น้ำเจ้าพระยาขวางกั้นทางด้านตะวันตก และมีกรุงธนบุรีที่ดัดแปลงเป็นค่ายคอยต้านข้าศึกเอาไว้ ทำให้พม่าไม่สามารถยกทัพมาบุกกรุงรัตนโกสินทร์ได้เลยสักครั้ง

กรุงรัตนโกสินทร์สร้างแล้วเสร็จอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 2327 และมีการเลียนแบบองค์ประกอบของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น วัดสุทัศน์ที่เลียนมาจากวัดพนัญเชิญ ดังจะเห็นว่ามีพระบรมมหาราชวังอยู่ริมน้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรุงรัตนโกสินทร์ยังคงถูกก่อสร้างต่อมาเรื่อยๆ จนเสร็จสมบูรณ์หมดจริงๆในช่วงรัชกาลที่ 3 และช่วงเวลาถัดจากนี้ไปจะเป็นช่วงแห่งการขยับขยายเมืองเสียมากกว่า

ในรัชกาลที่ 4 ทรงริเริ่มขยายพระนครไปทางทิศตะวันออก โดยการขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้น พร้อมมีการสร้างป้อมแต่ไม่มีกำแพงขึ้นมาด้วย นอกจากนี้ ยังรับสั่งให้มีการตัดถนนเจริญกรุงและพระรามสี่ ทำให้เป็นการกระจายความเจริญออกไปพร้อมๆกับถนน ส่วนในรัชกาลที่ 5 มีการขยายความเจริญตามถนนราชดำเนินไปทางทิศเหนือ พร้อมทั้งมีการก่อสร้างพระราชวังดุสิตขึ้นมา ไม่เพียงเท่านั้น ยังโปรดให้รื้อกำแพงเมืองต่างๆออก เพราะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีการศึกแล้ว
ความเจริญถูกแพร่กระจายออกไปพร้อมกับวังเจ้านายที่ปลูกสร้างขึ้นไว้นอกพระนคร ทำให้พื้นที่ที่เคยเป็นทุ่งนากลายสภาพมาเป็นเมืองในที่สุด และในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ได้เพิ่มความเจริญขึ้นมาอีก โดยมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก ที่ชื่อว่า ‘สะพานพระรามหก’ ขึ้นมา ส่วนในรัชกาลที่ 7 ก็โปรดให้มีการสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือ สะพานพุทธ ขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยงระหว่างฝั่งกรุงธนบุรีกับฝั่งพระนครนั่นเอง และหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พระนครก็ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นการรวมจังหวัดต่างๆเข้าเป็น ‘กรุงเทพมหานคร’ เมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบันนั่นเอง

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  จะหมายถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 1  ถึง  รัชกาลที่  3  ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์ยุคเก่าและประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ที่มีการพัฒนาประเทศไป ตามอารยธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก หากกล่าวถึงความรุ่งเรืองในด้านต่างๆในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สามารถแบ่งได้มีดังนี้
การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ จะไม่เปลี่ยนแปลงจากสมัยอยุธยาเท่าไรนัก กล่าวคือ ยังคงมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดในการปกครองประเทศอยู่ ส่วนการปกครองส่วนกลาง จะแบ่งลักษณะได้ดังนี้  คือ

อัครมหาเสนาบดีแบ่งออกเป็น 2 ตำแหน่ง ได้แก่
สมุหกลาโหม ถือเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
สมุหนายก ถือเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน และทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
จตุสดมภ์ แบ่งออกเป็น 4  ฝ่าย  ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การดูแลของสมุหนายก จตุสดมภ์ แบ่งออกเป็น เสนาบดีกรมเมือง เสนาบดีกรมวัง เสนาบดีกรมคลัง และ เสนาบดีกรมนา
ในขณะที่การปกครองส่วนภูมิภาค จะแบ่งหัวเมืองออกได้เป็น  3  ประเภท  ได้แก่ หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองจัตวา หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้จากราชะานี จะต้องมีการส่งเครื่องบรรณาการมาถวายแก่เมืองหลวงปีละหนึ่งครั้ง  ในขณะที่ ประเทศราชที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากราชธานี จะต้องส่งมา 3 ปีต่อครั้ง

กฎหมายที่ใช้ในการปกครองในยุคสมัยนี้ ก็ถือเลียนแบบอย่างจากกฎหมายสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี  แต่ได้นำมาปรับแก้ไขให้ทันยุคทันสมัยขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1  เรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า “กฎหมายตราสามดวง”  อันได้แก่  ตราราชสีห์  ตราคชสีห์  และตราบัวแก้ว ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ ก็ถูกใช้กันมาอย่างยาวนานจนถึงในสมัยของรัชกาลที่ 5

การศึกษาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีศูนย์กลางอยู่ที่วัด  วัง  และตำหนักเจ้านาย  โดยรัชกาลที่  3  ได้โปรดให้มีการจารึกตำราการแพทย์แผนโบราณเอาไว้ที่วัดพระเชตุพน หรือ วัดโพธิ์ ทำให้วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น ‘วัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย’ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงสมัยที่มีการทำนุบำรุงศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเห็นได้จากการทำสังคายนาชำระพระไตรปิฎก  การออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์ การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่สำคัญ  เช่น วัดพระศรีรัตนศาดาราม  วัดสุทัศน์เทพวราราม  และวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม  เป็นต้น  อีกทั้งในสมัยรัชกาลที่  2  ยังโปรดให้มีการส่งทูตไปศึกษาประวัติทางพระพุทธศาสนาในลังกาอีกด้วย และในครั้งนั้นก็ได้มีการนำเอาหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกากลับมาที่ไทยด้วย  รัตนโกสินทร์จึงถือเป็นยุคสมัยแห่งการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

ในด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติ ประเทศไทยในสมัยนั้นก็มีการติดต่อกับประเทศแถบตะวันตกมากขึ้น และได้มีการขยายตัวตามต่างชาติมากขึ้นด้วย  เนื่องจากตรงกับยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมและลัทธิจักรวรรดินิยมพอดี โดยชาติตะวันตกที่มีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมาก ได้แก่

โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่เข้ามาติดต่อกับไทยชาติแรก โดยการนำของชาวโปรตุเกส ที่มีชื่อว่า ‘อันโตนิโอ  เอด วิเสนท์ (องตนวีเสน)’ โดยเขาผู้นี้ได้อัญเชิญสาส์นเข้ามาในรัชกาลที่1 และในสมัยรัชกาลที่ 2 ไทยก็ได้มีการส่งเรือเข้าไปค้าขายกับโปรตุเกสที่มาเก๊าด้วย  ความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีเช่นนี้ จึงทำให้โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามาตั้งสถานกงสุลในประเทศไทยได้สำเร็จ
อังกฤษเป็นอีกหนึ่งชาติที่เข้ามาผูกไมตรีกับไทย โดยหวังผลประโยชน์ในดินแดนมลายู โดยชนชาติอังกฤษเข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยขอให้ไทยช่วยส่งทหารไปรบกับพม่าและไทยกับอังกฤษก็ได้เริ่มทำสนธิสัญญาฉบับแรกร่วมกัน คือ ‘สนธิสัญญาเบอร์นี’ ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369  ซึ่งสาระสำคัญกล่าวไว้ว่า  ประเทศไทยกับอังกฤษจะมีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน และช่วยอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าให้แก่กันและกันด้วย และสนธิสัญญานี้ก็เป็นผลให้ เรือสินค้าที่เข้ามาค้าขายในไทยจะต้องเสีย ‘ภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ’ แทนการเก็บภาษีตามแบบเดิมที่เคยมีมาในอดีต
กรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ประวัติศาสตร์ไทยช่วงนี้ถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ และมีการทำ “สนธิสัญญาเบาริง” ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งที่มาและสาระสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนี้ มีดังต่อไปนี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ทรงตระหนักได้ถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังไล่คุกคามประเทศต่างๆในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนั้น รัชกาลที่ 4 จึงทรงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายมาเป็นการคบค้ากับชาติตะวันตกมากขึ้น  เพื่อความอยู่รอดของประเทศ โดยจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2398  โดยการทำ ‘สนธิสัญญาเบาริง’ กับประเทศอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นโดยมี เซอร์ จอห์น  เบาริงเข้ามาเป็นราชทูตเจรจากับไทย
สาระสำคัญของ ‘สนธิสัญเบาริง’ มีดังต่อไปนี้

อังกฤษขออนุญาตเข้ามาตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินเพื่อทำมาหากินในประเทศไทย
คนอังกฤษสามารถสร้างวัดและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ให้แก่คนไทยได้
มีการเก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทย มีสิทธิในการค้าขายกันได้อย่างเสรี
สินค้าต้องห้าม ได้แก่ ข้าว ปลา  และเกลือ
หากประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับประเทศอื่นๆที่ได้รับผลประโยชน์มากกว่าอังกฤษ  จะต้องยอมทำให้อังกฤษด้วย
ข้อความในสนธิสัญญานี้ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าจะใช้งานครบ10  ปี  และหากต้องการแก้ไขจะต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่าย และบอกความต้องการล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี
การสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษฉบับนี้มีผลดีและผลเสียที่ประเทศไทยจำเป็นต้องยอมรับ โดยผลดีที่ไทยได้รับประการสำคัญ คือ การรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ส่วนผลดีด้านอื่นๆที่ตามมา ก็คือ ทำให้การค้าของไทยขยายตัวได้มากขึ้น และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าเป็นแบบเสรีมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้นด้วย ในขณะที่ผลเสียก็มีไม่น้อยเช่นกัน เพราะไทยจำเป็นต้องเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ และเนื่องด้วยข้อได้เปรียบด้านนี้ ทำให้อังกฤษไม่ยอมแก้ไขสนธิสัญญากับไทย
ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ทำให้ไทยมีสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก และทำให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าตามแบบอารยธรรมตะวันตกมากยิ่งขึ้น  การเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

ด้านการปกครอง 
รัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขประเพณีดั้งเดิมบางประการ เพื่อให้ราษฎรมีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์มากขึ้น  โดยทรงเปิดโอกาสให้ราษฎรสามารถเข้าเฝ้าหรือถวายฎีการ้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์ได้อย่างสะดวก ส่วนสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่  โดยแบ่งเป็น  2  ระยะ  คือ  ‘ระยะการปรับปรุงในระยะแรก’ ที่มีการตั้งสภา 2 สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ กับ ระยะที่สองที่เป็น ‘ระยะการปรับปรุงการปกครอง’ ในปีพ.ศ. 2435  โดยการปกครองที่ปรับปรุงโปรดให้มีการปกครองส่วนกลางยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ และเปลี่ยนเป็นการแบ่งหน่วยราชการออกเป็น 12 กรม โดยมีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวงแทน ในขณะที่ การปกครองส่วนภูมิภาค ก็ทรงประกาศให้ยกเลิกการจัดหัวเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  และจัตวา ทิ้งเสีย และเปลี่ยนมาเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลแทน อีกทั้งยังทรงโปรดให้มีการรวมเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล และกำหนดให้ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑลนั้นๆ โดยขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย  สุดท้ายคือการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคให้เป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน  เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญไปในทั่วทุกพื้นที่

ด้านกฎหมายและการศาล
รัชกาลที่ 4  ทรงโปรดให้ตรากฎหมายขึ้นหลายฉบับ เพื่อทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น  กฎหมายมรดก  สินสมรส เป็นต้น  ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 5  ก็มี “กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์” ผู้เป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย  เป็นบุคคลสำคัญในการปฏิรูปกฎหมายและการศาลในหลายๆด้าน เช่น การจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย หารตรากฎหมายตามแบบอารยประเทศ การจัดตั้งกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น

ด้านเศรษฐกิจ 
หลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษแล้ว การค้าของไทยก็เริ่มเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้รัชกาลที่ 4  ทรงเปลี่ยนจากการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญแทน ส่วนในสมัยรัชกาลที่  5  ก็ประกาศให้เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาเป็นการใช้ระบบทศนิยม ซึ่งใช้ทองคำเป็นมาตรฐานของเงินตราเป็นหลัก  และโปรดให้มีการใช้เหรียญบาท เหรียญสลึง  และเหรียญสตางค์ ในการจับจ่ายซื้อของแทนเงินแบบเดิม  พร้อมมั้งจัดตั้งธนาคารเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น มีชื่อว่า  “แบงก์สยามกัมมาจล” หรือปัจจุบันก็คือธนาคารไทยพาณิชย์นั่นเอง

ด้านการศึกษา 
คณะมิชชันนารีอเมริกัน คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของไทยให้เป็นไปตามแบบสมัยใหม่ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4  ก็ได้เกิดโรงเรียนชายแห่งแรกขึ้นที่ตำบลสำเหร่  ซึ่งปัจจุบันก็คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในขณะที่ โรงเรียนสตรีแห่งแรก ก็คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ซึ่งปัจจุบันก็คือ โรงเรียนวัฒนาวิทยานั่นเอง

หลังจากนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และโรงเรียนวัดมหรรณพาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรกขึ้นมา ทั้งนี้ก็เพื่อปฏิรูปการศึกษาไทย และเป็นการสร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อเข้ารับราชการและช่วยพัฒนาประเทศไทยนั่นเอง   นอกจากนี้ ยังโปรดให้มีการจัดทำแบบเรียนฉบับแรกขึ้นมา ซึ่งถูกเรียบเรียงโดยพระยาศรีสุนทรโวหาร ยอดนักประพันธ์ที่สำคัญของคนไทยด้วย

ส่วนรัชกาลที่ 6  ก็ได้มีการปรับปรุงการศึกษาให้พัฒนาต่อยอดมากขึ้นไปอีก โดยโปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นมาใช้งานในปี พ.ศ. 2464  รวมทั้งมีการเรียกเก็บเงินค่า “ศึกษาพลี” จากราษฎร เพื่อใช้ในการบำรุงการศึกษาในท้องถิ่นด้วย และสุดท้ายคือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีชื่อว่า “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” ขึ้นมานั่นเอง