อ่านข่าว

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย

เมโสโปเตเมีย ( Mesopotamia) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า “ที่ระหว่างแม่น้ำ” โดยมีนัยหมายถึง “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส” เมโสโปเตเมีย (meso=กลาง,potamia=แม่น้ำ)ดินแดนดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย
ชนชาติแรกอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์กาล บริเวณที่เข้ามาตอนแรกคือ แคว้นซูเมอร์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเมโสโปเตเมียติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น ลากาซ บาบิโลน อูร์ อูรุค นิปเปอร์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่ม
ดินแดนอินเดียโบราณทางศาสนามักเรียกว่าชมพูทวีป เป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมดินแดนอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศในปัจจุบัน ชื่ออินเดียมาจากภาษาสันกกฤตว่าสินธุ  ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำสายสำคัญทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียโบราณ ชาวอินเดียเองเรียกดินแดนของเขาว่า ภารตวรรษ  ซึ่งมีความหมายว่าดินที่อยู่ของชาวภารตะ  คำว่าภารตะมาจากคำว่าภรตะ  ซึ่งเป็นชื่อของ กษัตริย์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นที่ราบลุ่ม ที่อุดมสมบูรณ์มี อารรธรรมอินเดียโบราณที่ปรากฏหลักฐานอยู่ คือ ที่เมืองฮารัมปาในแคว้นปัญจาบ และเมืองโบราณโมเฮนโจ ดาโร ในแคว้นซินค์ เมืองทั้งสองนี้มีลักษณะที่บอกให้รู้ถึงการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ มีการแบ่งเขตภายในเมืองออกเป็นสัดส่วน  จัดที่ตั้งอาคารสำคัญไว้เป็นหมวดหมู่ มีถนนสายสำคัญๆ มีท่อระบายน้ำสร้างด้วยอิฐฝังลึกอยู่ในดิน มีสระน้ำใหญ่สร้างด้วยอิฐ และมีซากสิ่งก่อสร้างที่สันนิษฐานว่าเป็นยุ้งข้าวใหญ่โตหัวเสา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประเทศอินเดีย
อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ถูกสร้างขึ้นโดยชาวดราวิเดียน (มิลักขะหรือ ทมิฬ) ชนพื้นเมืองเดิมของอินเดียผิวดำ ร่างเล็ก จมูกแบนพูดภาษาตระกูลดราวิเดียน (ทมิฬ ) มีการค้นพบหลักฐานเมื่อ คริสต์ศักราช 1856 เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟบริเวณลุ่มน้ำสินธุ  ค้นพบซากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ คริสต์ศักราช 1920 ปรากฏเป็นรูปเมือง บริเวณเมือง ฮารัมปา(Harappa)  และเมืองโมเฮนโจ  ดาโร(Mohenjo  Daro) อายุประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลักฐานที่ค้นพบจัดเป็นอารยธรรมยุคโลหะเป็นสังคมเมือง ป้อมปราการขนาดใหญ่ มีสระอาบน้ำสาธารณะนักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการวางผังเมือง ตัดถนน มีกำแพงอิฐ บ้านเรือนสร้างด้วยอิฐ
มีระบบระบายน้ำสองท่อทำด้วยดินเผาอยู่ข้างถนน เพื่อรับน้ำที่ระบายจากบ้าน มีอักษรภาพใช้ พบโบราณวัตถุรูปแกะสลักหินชายมีเครา มีแถบผ้าคาด  มีตราประทับตรงหน้าผาก รูปสำริดหญิงสาว รูปแกะสลัก บนหินเนื้ออ่อน เครื่องประดับ สร้อยทองคำ สร้อยลูกปัด มีการเพาะปลูกพืชเกษตรเช่นฝ้าย ข้าวสาลี ถั่ง งา ข้าวโพด พบหลักฐานการค้ากับต่างแดนทั้งทางบกและทางทะเล เช่น เปอร์เชีย อัฟกานิสถาน เมโสโปเตเมีย ธิเบต โดยพบโบราณวัตถุจากอินเดีย  หินสี เงิน อัญมณีจากเปอร์เชีย หยกจากธิเบต และ มีการขุดค้นพบอารยธรรมนี้กว่า 100 แห่งบริเวณแม่น้ำสินธุ ส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห จีน  อารยธรรมจีนในแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห
อารยธรรมจีนได้สร้างสมอยู่ในแผ่นดินแถบบริเวณนี้เป็นมาเวลาช้านาน และมีอิทธิพลที่สร้างกันมานั้นก็ได้มาจากความนึกคิดของเขาเป็นสิ่งสำคัญซึ่งย่อมหมายถึง วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อโลก คนจีนจึงมุ่งที่จะสนใจในปรัชญาของชีวิตและนับถือนักปราชญ์ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ เป็นต้น
อารยธรรมของจีนโบราณที่ศึกษา คือ จีนยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ที่มณฑลโฮนาน และกัสสู ได้พบเครื่องมือหินและเครื่องปั้นดินเผา  เช่นเครื่องปั้นดินเผายางเซา ซึ่งเชื่อว่ามีมาก่อน 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และที่มณฑลซานตุง ได้พบเครื่องปั้นดินเผาสีดำ ใกล้ตำบลลุงชาน จึงเรียกว่าเครื่องปั้นดินเผาลุงชาน
อารยธรรมของจีนก่อตัวขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห และลุ่มแม่น้ำซีเกียงหลังจากนั้นได้ขยายไปสู่ทะเล และภาคพื้นทวีปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและขยายสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีร่องรอยความเจริญให้ชาวโลกได้ศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปกครอง จีนมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมีผู้นำที่มีความสามารถ จีนเชื่อว่ากษัตริย์ที่มาปกครองจีนนั้นเป็นคำสั่งของสวรรค์ ดังนั้นกษัตริย์ คือ  โอรสของสวรรค์ที่จะลงมาปกครองราษฎร์ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข  ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดปกครองราษฎร์ให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน  กษัตริย์พระองค์นั้นหรือราชวงศ์นั้นก็จะถูกลบล้างไป และมีกษัตริย์พระองค์ใหม่ระบบครอบครัวของจีนยึดความกตัญญูและนับถือผู้อาวุโสตามหลักคำสอนของ ขงจื๊อ
หลักคำสอนของขงจื๊อ  ถือว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์เพียบพร้อมที่สุดคือเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมแนวคำสอนที่เป็นพื้นฐานของภูมิปัญญาจีนที่เชื่อว่าปัญหาต่างๆในสังคมเกิดจากคนแต่ละคน การแก้ปัญหาทางหนึ่งคือการฝึกฝนตนเองการอบรมตนเอง  และสามารถปกครองครอบครัวได้ เมื่อปกครองครอบครัวได้ ก็สามารถปกครองแค้วนได้ คุณธรรมประกอบด้วย หลัก 5 ประการ ความสุภาพ มีใจโอบอ้อมอารี จริงใจ  ตั้งใจ  เมตตากรุณา   คุณธรรมที่สำคัญที่เป็นหัวใจของปรัชญาขงจื๊อ คือ เหริน เพราะคำนี้ประกอบด้วย อักขระสองตัวคือ “คน” กับ “สอง” หมายถึง มนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  เหรินคือความรัก ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ เริ่มจากความรักในบิดา มารดา ความรักในความเป็นพี่น้องกัน
ผลงานของขงจื๊อรวบรวมไว้เรียก ตำรับ 5 เล่มของขงจื๊อประกอบด้วย
1)  อี้จิง ตำรับว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
2)  ชูจิง ตำรับว่าด้วยประวัติศาสตร์
3)  ซือจิง ว่าด้วยกาพย์กลอน
4)  หลี่จิ้ง ว่าด้วยพิธีการ
5)  ชุนชิว พงศาวดารฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง
2. ด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ แต่ละราชวงศ์จะมีศิลปะวิทยาการต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปตามพื้นฐานของกษัตริย์ หลักฐานที่ปรากฏให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเช่น เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมยางเซา วัฒนธรรมลุงชาน และกำแพงเมืองจีน
อาณาจักรอิสลาม    คาบสมุทรอาระเบีย   อยู่ทางตะวันตกสุดของทวีปเอเชีย แหล่งชาวอาหรับนับถือเทพเจ้าหลายองค์
เกิดศาสนาอิสลามจึงหันมานับถือพระเจ้าองค์เดียวคืออัลเลาะห์เป็นปึกแผ่นคาบสมุทรอาระเบีย
อาณาจักรบิแซนตีน  หรืออาณาจักรตะวันออก  มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงสแตนติโนเปิล( เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งก็ตั้งตามชื่อของเขาเอง ซึ่งเดิมชื่อ ไบแซนทิอุม หรือ ไปแซนไทม์ —Byzantium–)
มีจักรพรรดิ์สำคัญคือ จัสติเนียน  ผู้มีความสามารถทางการเมือง การปกครองและการทหาร และจัดทำประมวลกฎหมายจัสติเนียน ซึ่งเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ ในทวีปยุโรป มรดกความเจริญทางวัฒนธรรม คือ สถาปัตย

สรุปการสิ้นสุดของสมัยกรุงธนบุรี

การจลาจลตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน

การปราบชุมนุมต่างๆการขจัดอิทธิพลของพม่าออกไปจากดินแดนไทย ตลอดจนการขยายอาณาเขตออกไปยังดินแดนลาวและเขมร แม้ว่าจะทำให้ประเทศชาติมีความเป็นเอกภาพและความมั่นคงก็ตาม แต่การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินติ้งทำสงความตลอดรัชกาลของพระองค์ ซึ่งในช่วงเวลา 15 ปีเกิดศึกสงครามถึง 10 ครั้ง ทำให้พระองค์ต้องตรากตรำจากการทำสงครามต่อเนื่อง ประกอบกับทรงต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการรบการการส่งกองทัพไปรบตามหัวเมืองต่างๆมาเป็นการตั้งรับในราชธานี อันเป็นผลมาจากการทิ้งเมืองเชียงใหม่ให้ร้างใน พ.ศ. 2319 และสภาพร่วงโรยของหัวเมืองเหนือหลังเสร็จศึกอะแซหวุ่นกี้ จนไม่สามารถใช้เป็นแนวรบได้ดั่งเช่นในอดีต สร้างความกังวลและความไม่สบายพระทัยให้กับพระองค์เป็นอย่างยิ่ง เพราะการตั้งรับข้าศึกภายในราชธานี ถ้าพ่ายแพ้ก็หมายถึงการล่มสลายของบ้านเมืองดังเช่นที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แรงกดดันเหล่านี้สร้างความเครียดให้กับพระองค์ จนถึงกับปฏิบัติพระองค์ผิดปกติไปในตอนปลายรัชกาล อันมีผลทำให้เกิดจลาจลในแผ่นดินขึ้นที่สุด
1.การจลาจลวุ่นวายในเขมร  2323
พ.ศ. 2323 เกิดการกบฏในเขมร พวกกบฏจับพระรามราชาและพระนารายณ์ราชาปลงพระชนม์ทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบการจลาจลได้สำเร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้นักองเองซึ่งเป็นโอรสของพระนารายณ์ราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงมีฟ้าทะละหะ (มู) เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เขมรจึงหันไปพึงญวนอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปปราบเขมร ขณะที่กองทัพไทยจะรบกับเขมรอยู่นั้น ก็มีข่าวว่าทางกรุงธนบุรีเกิดจลาจลวุ่นวาย ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเสียพระสติ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงต้องรีบยกทัพกลับ




2.ความวุ่นวายภายในกรุงธนบุรี  2324
สัญณาณการบอกเหตุความผิดปกติของพระองค์มีมากมาย เริ่มจากการที่พระองค์สนพระทัยเรื่องปาฏิหาริย์และเชื่อว่าการเจริญกรรมฐานจะทำให้พระองค์มีความสามารถเหนือมนุษย์ทั่วๆไป ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสได้บันทึกว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรับสั่งอยู่เสมอว่าพระองค์สามารถเหาะไปในอากาศได้ ทำให้พระองค์มุ่งมั่นในการเจริญกรรมฐานอย่างหนัก โดยทรงไปปฏิบัติกรรมฐาน ณ พระอุโบสถวัดบางยี่เรือใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2319 การคร่ำเคร่งมากเกินไปและการมีจุดประสงค์ในการที่ผิดหลักพระพุทธศาสนา ทำให้พระองค์มีพระสติฟั่นเฟือน โดยสำคัญพระองค์ว่าทรงทรงบรรลุโสดาบัน จึงตรัสถามพระราชาคณะว่าภิกษุจะไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันได้หรือไม่ เมื่อพระราชาคณะทูลว่าไม่ได้ก็ทรงพิโรธ ทรงให้ถอดพระราชาคณะออกจากสมณศักดิ์ แล้วให้เฆี่ยนรวมทั้งพระลูกด้วย ตั้งแต่นั้นมาพระสงฆ์เมื่อเข้าเฝ้า
จะต้องถวายบังคมดังเช่นฆราวาสจนสิ้นรัชกาล นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์อื่นๆอีกมากที่แสดงถึงพระสติที่แปรปรวนของพระองค์ ทำให้พระองค์สั่งประหารชีวิตผู้คน
โดยไม่มีความผิดหลายครั้ง ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งพระชายาและเจ้า
จอมของพระองค์ สร้างความระส่ำระสายให้กับบ้านเมืองไปทั่ว
การกระทำของสมเด็จพระเจ้าตากสินตอนปลายรัชกาล ซึ่งขัดต่อขนมประเพณีที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติ เช่น บังคับให้ภิกษุกราบไหว้พระองค์ เป็นต้น ทำให้กลุ่มขุนนางที่จงรักภักดีเริ่มเสื่อมศรัทธาในพระองค์และเอาใจออกห่าง ประกอบกับในตอนจะสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินยังทรงกระทำการหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่า พระองค์เสียพระสติมากขึ้น เช่น ทรงสอบถามถึงพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าเพื่อเปรียบเทียบกับพระวรกายของพระองค์ ทรงสอบฌานกับพระราชาคณะ ทรงลงโทษน้าของเจ้าพระยาจักรี ตลอดจนทรงยกย่องพี่เลี้ยงของพระราชบุตรและพระราชธิดาเป็น”สมศรีสมทรง”(เมียเจ้า)*4เป็นต้น ทำให้บ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวายจึงเกิดกลุ่มบุคคลต่อต้านพระองค์มากยิ่งขึ้น ในขณะที่อำนาจพระองค์กลับอ่อนแอลงเรื่อยๆ
3.กบฏพระยาสรรค์  2324
พ.ศ. 2324 เกิดจลาจลที่กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงให้พระยาสรรค์ขุนนางที่พระองค์ไว้วางพระทัยอย่างมาก ขึ้นไประงับการจลาจล โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินไม่ทรงทราบว่า หัวหน้าที่ก่อความวุ่นวายคือ ขุนแก้ว น้องชายของพระยาสรรค์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ นอกจากพระยาสรรค์จะไม่ปราบพวกก่อความวุ่นวายแล้ว ยังอาศัยช่วงจังหวะที่กลุ่มขุนนางไม่พอใจพระเจ้าตากสิน และดำเนินการต่อต้านพระเจ้าองค์ ตัดสินใจร่วมมือกับพวกก่อการจราจล ยกกำลังมาตีกรุ่งธนบุรี และเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระเจ้าตากสินได้สำเร็จ พร้อมกับบังคับให้พระองค์ทรงผนวช และจับพระบรมวงศานุวงศ์มาจองจำไว้ในราชวังแล้วตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการพร้อมกับประกาศจะถวายราชสมบัติให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกปกครองต่อไป ต่อมาพระยาสรรค์เปลี่ยนใจคิดจะครองราชย์สมบัติเสียเอง จึงเตรียมกองกำลังไว้ต่อสู้กับสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งจะกลับจากการทำสงครามในเขมรในระหว่างนี้
4.สงครามกลางเมืองระหว่างพระยาสรรค์และพระยาสุริยอภัย 2324
พระยาสรรค์ให้กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ยกทัพไปโจมตีค่ายพระยาสุริยอภัย หลานของสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกที่ยกทัพมาจากนครราชศรีมา เพื่อมารักษากรุ่งธนบุรีตามคำสั่งของสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ทั้งสองฝ่ายได้ปะทะกันอย่างหนัก กรมขุนอนุรักษ์สงครามเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถูกจับได้ พระยาสรรค์คิดว่าเรื่องที่ตนให้กรมขุนอนุรักษ์สงครามยกทัพไปตีค่ายพระยาสุริยอภัยเป็นความลับ จึงวางตัวนิ่งเฉยอยู่ในวัง พระยาสุริยอภัยซึ่งรู้ความจริงทั้งหมดจากกรมขุนอนุรักษ์สงครามเห็นเช่นนั้น จึงได้ควบคุมสถานการณ์ในวังเอาไว้ แล้วให้สึกสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้วนำไปจองจำเอาไว้ เพื่อรอสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกตัดสินความต่อไป


5.การพิจารณาปัญหาเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสิน
สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพมาถึงกรุ่งธนบุรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระองค์ได้ประชุมขุนนางและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เพื่อวางแผนฟื้นฟูบ้านเมืองพร้อมกับสอบถามความเห็นว่าจะจัดการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินอย่างไร ที่ประชุมเห็นความว่าควรจะสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินเสีย เพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อความมั่นคงของแผ่นดินต่อไป ส่วนพระยาสรรค์ถูกประหารชีวิตในภายหลัง จากนั้นขุนนาง ข้าราชการ และราษฎรได้พร้อมใจกันทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นกษัตริย์ต่อไปเป็นอันสิ้นสุดยุคธนบุรีพร้อมกับมีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือ“ราชวงศ์จักรี”ในพ.ศ.2325
6.สรุปการสิ้นสุดของสมัยกรุงธนบุรี กิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ได้บุกมาแล้วบังคับให้พระองค์ผนวช ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมายังกรุง ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน

สาเหตุการเสื่อมอำนาจของอยุธยา

15 สาเหตุการเสื่อมอำนาจของอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยเป็นระยะเวลายาวนาน 417 ปี (พ.ศ.1893-2310) พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา
คือ พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยาแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากที่สุด
ในรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133-2148) อาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด
ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การค้าขายและการเจริญไมตรีกับต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199-2231)
ความเสื่อมของอยุธยา กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง
   ครั้งแรก นสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราชเมื่อพ.ศ.2112
   ครั้งที่ 2 ในรัชสมัย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) เมื่อ พ.ศ.2310
สาเหตุการเสื่อมอานาจของกรุงศรีอยุธยา
 ความเสื่อมอานาจทางการเมือง มีการแก่งแย่งชิงอานาจใหม่ในหมู่ขุนนางข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์อยู่เนืองๆ
มีการกาจัดศัตรูทางการเมือง ทำให้กาลังทหารถูกบั่นทอนความเข็มแข็งลงไปมาก
 ความอ่อนแอของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงขาดความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ
กองทหารไม่ได้รับการฝึกฝนให้เตรียมพร้อมในการทำศึกสงคราม และมีปัญหาวินัยหย่อนยาน
 การที่ไทยว่างเว้นจากสงครามมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาทในการป้องกันพระราชอาณาจักร
ขาดการฝึกปรือกาลังทัพและการวางแผนการยุทธที่ดี ทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพในการทาสงครามป้องกันพระนคร
เมื่อพม่ายกกาลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนจะเสียกรุงใน พ.ศ.2310
 พม่าเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ไปจากเดิม คือ ยกทัพกวาดต้อนผู้คน สะสมเสบียงอาหารลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและขึ้นมาจากหัวเมืองฝ่ายใต้
ตัดขาดหัวเมืองรอบนอกมิให้ติดต่อและช่วยเหลือเขตราชธานีได้ และพร้อมที่จะรบตลอดทั้งปี โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นฤดูฝนหรือฤดูน้าหลาก
ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้ต่างไปจากเดิมที่มักจะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์และเข้ามาทางเดียว และเมื่อถึงฤดูน้าเหนือหลากลงมาท่วมก็ยกทัพกลับ
ทำให้ไทยวางแผนการตั้งรับผิดพลาดหมด
– กรุงศรีอยุธยาถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจโดยกองทัพพม่า ทั้งจากทางเหนือและใต้ รวมทั้งต้องทาศึกระยะยาวนานนับปี ทาให้กรุงศรีอยุธยาเกิดขาดแคลนเสบียงอาหารอันนาไปสู่ความอ่อนแอต่อกาลังทัพและผู้คนของไทย

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา

16 ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา
                    ความหมาย
คำว่า “วัฒนธรรม” มาจากคำสองคำ คำว่า “วัฒน” จากคำศัพท์ วฑฺฒน” ในภาษาบาลี หมายถึงความเจริญ ส่วนคำว่า “ธรรม” มาจากคำศัพท์ “ธรฺม” ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความดี เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า “วัฒนธรรม” หมายถึงความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
วัฒนธรรม    หมายถึง ( น. ) สิ่งที่นำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะเช่น วัฒนธรรมพื้นบ้านวัฒนธรรมชาวเขา
วัฒนธรรม  หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์ในแต่ละสังคมได้สร้างสรรค์ขึ้นมา  เพื่ออำนวย
ความสะดวกในการดำเนินชีวิต  หรือสนองความต้องการของสังคมและได้ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ปฏิบัติสืบต่อกันไป  โดยได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ในสังคม
วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความ
กลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
ภูมิปัญญา  หมายถึง  [พูม–] น. พื้นความรู้ความสามารถ.
ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญา  หมายถึง  ความรู้  ทักษะ  ความเชื่อ  และพฤติกรรมของคนไทย  โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบุคคล  ชุมชนและสังคม  ตลอดจนพื้นฐานความรู้เรื่องต่าง  ๆ  ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
              ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา
1.  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
      กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม  มีมีน้ำไหลผ่าน  3  สาย  คือ  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก
 และแม่น้ำลพบุรี  มีฝนตกเสมอ  ทำให้เหมาะแก่การเพาะ  การค้าขาย  และการดำเนินชีวิตของชาวอยุธยา
จึงส่งเสริมให้มีการคิดค้นภูมิปัญญาต่าง ๆ  ขึ้นมา  เช่น  บ้านเรือนที่มีใต้ถุนสูง  หลังคาทรงแหลม  บริโภคอาหารด้วยมือ  ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้  พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  เป็นต้น
2. ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
อยุธยาปกครองแบบสังคมศักดินา  ประกอบด้วยชนชั้นมูลนาย  และชนชั้นไพร่  มีการนับถือ
พระพุทธศาสนารวมทั้งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  มีการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการควบคุมกำลังคนให้เป็นระเบียบเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  โดยใช้กุศโลบายทางศาสนาเป็นเครื่องมืออบรมสั่งสอนผู้คน
3.  การรับอิทธิพลจากภายนอก
การที่อยุธยาติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ  จึงมีโอกาสได้เรียนรู้ภูมิปัญญาของชนชาติเหล่านั้น
และนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนในสมัยนั้น เช่น  อารยธรรมอินเดีย  อยุธยาได้นำรูปแบบ
การปกครองแบบเทวราชา  ที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือเทพเจ้าจุติลงมาปกครองประชาชน  โดยอยุธยารับมาจากเขมรซึ่งรับมาจากอินเดีย  อารยธรรมจีน  มีการติดต่อค้าขายในลักษณะของการส่งเครื่องราชบรรณาการหรือ จิ้มก้อง
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการสร้างรูปแบบการปกครองให้เหมาะสม
การปกครองจะต้องมีกษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองบ้านเมือง  ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์  –  ฮินดู  มาจากเขมรซึ่งเขมรรับต่อมาจากอินเดียโดยไทยเรียกเป็นสมมติเทพ  มีการวางระเบียบกฎเกณฑ์    ต่าง ๆ  เกี่ยวกับความสำคัญของพระมหากษัตริย์  เช่น  จัดให้มีที่ประทับสูงกว่าคนอื่น ๆ
มีการสร้างพระราชวังและภายในพระราชวังจะต้องมีกฎเกณฑ์และพิธีกรรมต่าง ๆ  ที่แสดงว่าพระองค์
เป็นสมมติเทพ  โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีถวาย  มีการใช้คำราชาศัพท์  มีกฎมณเฑียรบาล
มีเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์  แสดงถึงฐานะความเป็นกษัตริย์  มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงแก่สถาบันกษัตริย์  นอกจากนี้พระมหากษัตริย์จะต้องทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ  ได้กลายเป็นประเพณีสังคมไทยที่คนไทยต้องปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์
ด้วยความเคารพ  พระมหากษัตริย์ของไทยจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยและทรงเป็นประมุขของอาณาจักรไทยตลอดมา  การสร้างประเพณีการปกครองของคนไทยสมัยอยุธยา  จึงเป็นภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยและสถาบันกษัตริย์ได้กลายเป็นสถาบันหลักที่สำคัญของชาติใน
ระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน

การสถาปนาอาณาจักรธนบุรี

การสถาปนากรุงธนบุรี

ประวัติความเป็นมาของกรุงธนบุรี

เมืองธนบุรี

ในปัจจุบัน เมืองธนบุรีอาจมีฐานะเป็นเพียงเขตเล็กๆ เขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่ในอดีตพบว่าเมืองธนบุรีมีความสำคัญในฐานะราชธานีของไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2310 – 2315 แม้ว่าจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 15 ปี แต่ก็นับว่ามีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของชาติไทยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังปรากฏโบราณสถานที่สำคัญในสมัยธนบุรี คือ พระราชวังเดิม (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือ) รวมทั้งวัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นในปัจจุบันเมืองธนบุรีจึงได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาควบคู่กันไป
ความเป็นมา
เมืองธนบุรี หรือ บางกอกในอดีต คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน ๆ เป็นที่ราบสามเหลี่ยมปากน้ำเจ้าพระยาที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำเจ้าพระยา และลำคลองต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ ดังนั้นจึงมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่า “บางกอก” นั้นอาจจะเพี้ยนมาจากเดิมว่า “บางเกาะ” ด้วยความที่พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเกาะเล็กเกาะน้อยจากแม่น้ำลำคลองต่างๆ

เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลคดเคี้ยวมากตั้งแต่นนทบุรี ลงมายังพระนคร กล่าวคือ แม่น้ำเจ้าพระยาจะไหลจากทางเหนือ ผ่านเขตเมืองนนทบุรีลงมาถึงสะพานปิ่นเกล้า แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเข้ามาทางคลองบางกอกน้อย อ้อมผ่านตลิ่งชัน บางระมาดแล้ววกกลับเข้าคลองบางกอกใหญ่ (หรือคลองบางหลวง) แล้วไหลลงทางใต้ไปออกทะเลอ่าวไทย เป็นลักษณะรูปเกือกม้า ซึ่งความคดเคี้ยวของแม่น้ำนี้ ทำให้สองฟากฝั่งของแม่น้ำกลายเป็นที่ดอนซึ่งเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือน และกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกกันภายหลังว่า “ย่านบางกอก” แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ทำให้เสียเวลาในการเดินทางไปมา ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับหัวเมืองชายทะเลตะวันออก

ดังนั้นในสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 – 2089 ) จึงโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกขึ้น เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ที่ไหลอ้อมเข้าไปทางคลองบางกอกน้อย ออกคลองบางกอกใหญ่ (คือขุดตั้งแต่หน้าสถานีรถไฟบางกอกน้อย จนถึงหน้าวัดอรุณราชวรารามในปัจจุบัน) การขุดคลองลัดดังกล่าวทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดิน น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่ จึงไหลไปทางคลองขุดใหม่ และเซาะตลิ่งสองข้างจนกว้างขึ้น กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ (บริเวณที่ผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราช และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกวันนี้) ส่วนลำน้ำเดิมก็ค่อยๆ ตื้นเขินขึ้นลดขนาดลงเป็นลำคลอง ได้แก่ คลองบางกอกน้อย คลองชักพระ (คลองตลิ่งชัน) คลองบางขุนศรี คลองบางเชือกหนัง คลองวัดประดู่ และคลองบางกอกใหญ่ ดังที่เห็นในปัจจุบัน
เมื่อขุดคลองลัดสำเร็จ เมืองบางกอกหรือเมืองธนบุรีจึงถือกำเนิดขึ้น ทางฝั่งตะวันตก หัวมุมคลองบางกอกใหญ่ กลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และได้รับการยกฐานะขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล ทำหน้าที่ป้องกันศัตรูที่จะเข้ามาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งตรวจตราจัดเก็บภาษีสินค้าที่ผ่านเข้าออก โดยปรากฏชื่อครั้งแรกในพระราชพงศาวดาร ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ. 2091 – 2111) ว่า “เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร”แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ เพียง “ธนบุรี” ส่วนชื่อ”เมืองบางกอก” นั้นคงเป็นชื่อสามัญ ที่ชาวบ้านและชาวต่างประเทศนิยมเรียก ดังปรากฏชื่อบางกอกในแผนที่และเอกสารของชาวต่างชาติ

เมืองธนบุรีมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านทางทะเล โดยเฉพาะเมื่อการค้ากับต่างประเทศ เจริญรุ่งเรืองขึ้นถึงขีดสุด ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 – 2231) เนื่องจากเป็นเมืองท่าพักเรือต่างชาติ ที่เดินทางขึ้นล่องระหว่างกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงโปรดให้กองทหารฝรั่งเศส ขึ้นมาสร้างป้อมขึ้นทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเพื่อป้องกันข้าศึกซึ่งมาทางทะเล โดยเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นผู้กำกับการสร้าง เมื่อสร้างป้อมเสร็จจึงพระราชทานนามว่า “ป้อมวิไชยเยนทร์” และโปรดเกล้าฯ ให้ทหารต่างชาติทั้งโปรตุเกส และฝรั่งเศสมาประจำที่ป้อม ภายหลังที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ป้อมทั้งสองของเมืองธนบุรี (ป้อมฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก) กลายเป็นสมรภูมิรบระหว่างฝ่ายไทย กับกองทหารฝรั่งเศสที่ประจำป้อม ซึ่งในท้ายที่สุดฝรั่งเศสเป็นฝ่ายที่ต้องยอมแพ้ และถอนกำลังออกจากราชอาณาจักรไทย จากนั้นสมเด็จพระเพทราชาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อป้อมบางกอกทางฝั่งตะวันออก โดยให้คงเหลือแต่ป้อมทางฝั่งตะวันตก (ป้อมวิไชยเยนทร์) ไว้เท่านั้น ในคราวกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 พม่าได้ยึดเมืองบางกอกและแต่งตั้งให้นายทองอิน (คนไทยที่ไปเข้ากับฝ่ายพม่า) รักษาป้อมและเมืองบางกอก และหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ จึงโปรดฯ ให้บูรณะเมืองธนบุรีเพื่อใช้เป็นราชธานี
การสถาปนากรุงธนบุรี หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้เอกราชสำเร็จในปี พ.ศ. 2310 ทรงมีพระราชดำริว่ากรุง ศรีอยุธยามีสภาพทรุดโทรมมาก ไม่สามารถซ่อมแซมฟื้นฟูให้กลับคืนสภาพเดิมได้ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้าง ราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เนื่องจากเมืองธนบุรีมีชัยภูมิที่ดี เป็นเมืองหน้าด่านชายทะเล ควบคุมเส้นทางเดินเรือเข้าออก ประกอบกับเป็นเมืองที่มีป้อมปราการ และวัดวาอารามอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาก่อสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นเมืองขนาดย่อมซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะรักษาไว้ได้ และอยู่ปากแม่น้ำ หากเพลี่ยงพล้ำไม่สามารถรักษาเมืองไว้ได้จริงๆ ก็สามารถหลบหลีกศัตรูออกสู่ทะเล กลับไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้โดยสะดวก อีกทั้งตั้งอยู่บริเวณที่มีลำน้ำลึกใกล้ทะเล ถ้าข้าศึกไม่มี

การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีจำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อรองรับประชาชนที่หนีภัยสงครามมา และปรับปรุงให้เหมาะสมทางยุทธศาสตร์มากขึ้น ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเมืองไปทางทิศเหนือจนจรดคลองบางกอกน้อย พร้อมกับสร้างกำแพงเมืองตามแนวคลองขุดใหม่มีชื่อเรียกเป็นตอนๆ ว่า คลองบ้านขมิ้น คลองบ้านช่างหล่อ คลองบ้านหม้อ คลองวัดท้ายตลาด ส่วนทางทิศตะวันออกขยายไปจรดคลองคูเมืองที่ขุดขึ้นใหม่ (ปัจจุบันเรียกว่า”คลองหลอด”) ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมืองแล้วสร้างกำแพงเมืองขึ้นตามแนวคลองคูเมือง (กำแพงเมืองนี้ต่อมาได้ถูกรื้อลง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงขยายแนวกำแพงเมืองออกไปตามแนวคลองโอ่งอ่าง และคลองบางลำภู) ส่วนป้อมวิไชยเยนทร์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ป้อมวิไชยประสิทธิ์” พร้อมทั้งให้ขุดที่สวนเดิมเปลี่ยนเป็นท้องนานอกคูเมืองทั้ง 2 ฟากซึ่งเรียกว่า “ทะเลตม” ไว้สำหรับเป็นที่นาใกล้พระนคร

สำหรับขอบเขตของราชธานีแห่งใหม่นี้ ครอบคลุมสองฝั่งน้ำ โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่านกลางเมือง พื้นที่ในกำแพงเมือง ฝั่งตะวันตกเริ่มตั้งแต่เขตเมืองธนบุรี เดิมริมคลองบางกอกใหญ่ ไปจนถึงบริเวณหลังวัดบางหว้าน้อย (วัดอินทาราม) ริมคลองบางกอกน้อย ส่วนฝั่งตะวันออกเริ่มตั้งแต่ศาลเทพารักษ์หัวโชค (เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร) เลียบตามแนวคูเมือง (คลองคูเมืองบริเวณหลังกระทรวงมหาดไทย) ไปจรดแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด โดยภายในกำแพงเมืองธนบุรีเดิม เป็นที่ตั้งของพระราชวังกรุงธนบุรี

กรุงธนบุรีเป็นราชธานีเพียง 15 ปี หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันตก มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้พระราชวังกรุงธนบุรีว่างลง กรุงธนบุรีจึงถูกลดความสำคัญ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระราชวังกรุงธนบุรี ได้กลายเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กองทัพเรือ ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือจนถึงปัจจุบัน (สาระน่ารู้กรุงธนบุรี. 2555:ออนไลน์)


ปัจัยที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรื่องของของอาณาจักรธนบุรี

18 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง
การที่ประเทศไทยสมัยประชาธิปไตยมีความมั่นคงและมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามาเป็นสำคัญส่วนเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายประการ

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ

ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทย


๑. พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อราษฎรและประเทศชาติ ทั้งในเรื่องของความดีของราษฎร การเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติในยามที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามและการรุกรานจากภายนอก ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

๒. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในลักษณะที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญโดยพยายามปรับเปลี่ยนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอธิปไตยของชาติไว้ได้ ดังเช่น ในสมัยสงครามโลกครั่งที่ ๒ และสมัยที่ไทยกำลังเผชิญกับการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์

๓. การมีทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล สำหรับเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทยและความมั่นคงของประเทศ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ แก็สธรรมชาติสัตว์น้ำในบริเวณอ่าวไทย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวสำหรับเลี้ยงชีพคนไทยทั่วทุกภาคของประเทศอีกด้วย

๔. การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้การพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปอย่างเป็นระบบตามหลักของการพัฒนา ดังนั้น สภาพความเป็นอยู่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม และอื่น ๆ จึงขยายตัวออกไปทำให้ไทยมีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยา

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            เขตพื้นที่ จังหวัดสุโขทัยมีผู้คนมาพักอาศัยและตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัย สมัยทวาราวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
            บริเวณที่ราบตอนล่างของภาคเหนือของไทย เคยเป็นดินแดนที่มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางโบราณคดีพบเครื่องมือหินที่เขาขน เขากา ในเขตตำบลนครดิฐ อำเภอศรีนคร แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย  บ้านบึงหญ้า ตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ ฯลฯ ชุมชนเหล่านี้อยู่ต่อเนื่องกัน และตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นในเวลาต่อมา จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ได้มีการติดต่อกับดินแดนอื่นในแถบบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแบบทวาราวดี โดยได้พบโบราณวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ลูกปัด เครื่องมือสำริด เหล็ก เงินเหรียญที่มีรูปพระอาทิตย์ รวมทั้งโครงกระดูกมนุษย์ ที่แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่นในเขตเมืองเชลียง ซึ่งมีแท่งดินเผามีลวดลาย
            จากการพบโบราณสถานในศิลปะขอมที่บ้านนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ ชาวบ้านเรียกว่า ปรางค์เขาปู่จ่า และศาลาตาผาแดง ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย แสดงว่าในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีการติดต่อกับอาณาจักรขอมแล้ว
            ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปรากฏเรื่องการตั้งตนเป็นอิสระเพื่อปกครองสุโขทัยของกลุ่มชน ซึ่งต่อมาเป็นบรรพชนของคนไทยในปัจจุบัน


            พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรสุโขทัย
            เส้นทางคมนาคมและการค้าให้กำเนิดแคว้นสุโขทัย มีเส้นทางสำคัญสองเส้นทางคือเส้นทางข้ามหุบเขา ในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ และทิศทางตะวันออก - ตะวันตก เป็นเส้นทางเก่าแก่ใช้เดินทางกันมาแต่ครั้งโบราณ ระหว่างกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำโขง กับกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำน่าน และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน
            มีกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำโขงเคลื่อนย้ายไปตั้งถิ่นฐานบนเส้นทางสายเป็นหย่อม ๆ แล้วค่อย ๆ ทะยอยเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำน่าน บริเวณเขตจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาได้เกิดเป็นบ้านเมือง และได้กลายเป็นประชากรส่วนหนึ่งของแคว้นสุโขทัย
            เส้นทางแรกเชื่อมโยงผู้คนจากเขตเมืองหลวงพระบาง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) ลงใต้สู่ปากลาย ทุ่งยั้ง เชลียง และสุโขทัย อีกสายหนึ่งคือเส้นทางจากหลวงพระบาง ปัว น่าน แพร่ สุโขทัย ตาก ไปสุดทางที่ริมฝั่งทะเลอันดามันที่มะละแหม่ง
            เส้นทางข้ามหุบเขาสายตะวันออก - ตะวันตก เริ่มจากลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอิสานตอนบน รวมทั้งกลุ่มเมืองเวียงจันทน์ผ่านเทือกเขาภูพาน ในเขตจังหวัดอุดรธานี เข้าไปในเขตจังหวัดเลย ผ่านหุบเขาแถบอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ไปทางลำน้ำแควน้อย ซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำน่าน ในเขตอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เมื่อถึงลำน้ำน่านแล้ว ก็ล่องไปตามลำน้ำน่าน ผ่านเข้าเขตจังหวัดพิจิตร และนครสวรรค์ เข้าสู่บ้านเมืองเก่าสมัยทวาราวดี และลพบุรี บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
            ชาวไทยในภาคเหนือตอนล่างได้รวมตัวกันเป็นรัฐอิสระ มีความเจริญคู่เคียงกันมากับอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรอยุธยา มีศูนย์กลางการปกครองที่กรุงสุโขทัย ซึ่งไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง
            มีหลักฐานว่าพ่อขุนศรีนาวนำถุม ได้เป็นกษัตริย์ครองสองนคร คือทั้งเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย มีหลักฐานพอเชื่อได้ว่าเจ้านายในตระกูลศรีนาวนำถุม มีความสัมพันธ์กับตระกูลศรีโคตรบูรณ์ในลุ่มแม่น้ำโขงของภาคอีสานตอนบน ที่มีเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำเป็นเมืองสำคัญ นอกจากนั้นก็มีหลักฐานพอเชื่อได้ว่า ตระกูลของพ่อขุนบางกลางหาวมีเชื้อสายตระกูลเมืองน่าน และเมืองหลวงพระบาง และเชื่อมโยงไปถึงตระกูลสุพรรณบุรี ที่ครองแคว้นสุพรรณภูมิ ทางตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
            อาณาจักรสุโขทัย มีหลักฐานตั้งแต่สมัยพ่อขุนนาวนำถุม และชัดเจนขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว) ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๘๑ - ๑๘๒๒ ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ราชวงศ์พระร่วง) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา ๒๐๐ ปี จึงถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา
            อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ.๑๘๒๒ - ๑๘๔๑) ได้แผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยเจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งได้บ่งถึงความเจริญด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การทหาร กฎหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย และอื่น ๆ


            ประวัติศาสตร์ชุมชนเมืองเชลียง
            ชะเลียง ภาษาขอมแปลว่ายืน ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ วัดศรีชุม ได้บันทึกเหตุการณ์ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กล่าวถึงพ่อขุนนาวนำถุม เจ้าเมืองเชลียงว่า เป็นขุนในเมืองเชลียง ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้บันทึกถึงพระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า ทรงสถาปนาศิลาจารึกไว้ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงอีกหลักหนึ่งว่า จารึกอันหนึ่งมีในเมืองเชลียง
            เอกสารจดหมายเหตุอยุธยาได้กล่าวถึง เมือง เชลียง สุโขทัย ทุ่งย้าง บางยม สองแคว สระหลวง ชากังราว กำแพงเพชร
            ทางด้านตะวันตกของเมืองเชลียงเป็นเทือกเขาพระศรี มีวัดโบราณสร้างด้วยศิลาอยู่บนยอดเขาเทือกเขาพระศรีนี้ พระศิริมังคลาจารย์ผู้แต่งชินกาลมาลีปรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๐๕๙ เรียกนามภูเขานี้เป็นภาษาบาลีว่า สิริบรรพต
            เมืองเชลียงมีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองดังนี้
                -  ณ หมู่ที่ ๖ ตำบลศรีสัชนาลัย เมื่อปี พ.ศ.๑๕๐๓ - ๑๖๗๐ เป็นที่ตั้งของเมืองเชลียง
                -  สมัยสุโขทัย เรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า เมืองศรีสัชนาลัย
                -  เมื่อปี พ.ศ.๒๐๐๓ - ๒๐๑๗  อาณาจักรล้านนา สมัยพระเจ้าติโลกราชเรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า เมืองเชียงยืน
                -  พ.ศ.๒๐๑๗ - ๒๓๒๔  กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรีเรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า เมืองสวรรคโลก
                -  พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๓๗๘  กรุงรัตนโกสินทร์เรียกที่ตั้งจวนเจ้าเมืองโบราณ บริเวณวัดเชิงคีรี และตำบลท่าชัยว่า เมืองสวรรคโลก ปัจจุบันชาวบ้านคงเรียกว่า บ้านเมืองเก่า
                -  พ.ศ.๒๓๗๙ - ปัจจุบันเรียกที่ตั้งจวนเจ้าเมืองบริเวณหมู่บ้านวังไม้ขอนว่า เมืองสวรรคโลก ปัจจุบันคือตำบลสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
                -  พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๓๕  เรียกพื้นที่ตำบลสารจิตร ตำบลบ้านแก่ง ตำบลศรีสัชนาลัย และตำบลท่าชัยว่า เมืองวิเศษชัยสัตย์
                -  พ.ศ.๒๔๓๕ - ๒๔๗๐  พื้นที่ตำบลศรีสัชนาลัย และตำบลท่าชัย อยู่ในความปกครองของอำเภอสวรรคโลก
                -  พ.ศ.๒๔๕๖ - ๒๔๖๓  กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนชื่อตำบลเมืองเก่า เป็นตำบลศรีสัชนาลัย
                -  พ.ศ.๒๔๘๒  กระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนชื่ออำเภอหาดเสี้ยว เป็นอำเภอศรีสัชนาลัย
                -  พ.ศ.๒๕๒๖  กรมศิลปากร ประกาศจัดตั้งกลุ่มโบราณสถาน ตำบลท่าชัย ตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสวนจิตร ตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย


            ชุมชนอำเภอศรีสัชนาลัย
                -  พ.ศ.๒๔๒๘ - ๒๔๓๗  เรียกบริเวณบ้านปลายนา ตำบลบ้านตึกว่า เมืองด้ง
                -  พ.ศ.๒๔๓๗ - ๒๔๔๐  ปากห้วยแม่รากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเรียกว่า อำเภอด้ง
                -  พ.ศ.๒๔๔๐ - ๒๔๖๐  ตำบลหาดเสี้ยวเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ แต่ยังคงเรียกว่า อำเภอด้ง
                -  พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๘๒  เรียกนามอำเภอตามตำบลที่ตั้งอำเภอว่า อำเภอหาดเสี้ยว
                -  พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๕๑๐  ใช้นามอำเภอว่าศรีสัชนาลัย และอยู่ห่างจากเมืองศรีสัชนาลัยเก่า ประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ต่อมาใช้นามอำเภอว่าศรีสัชนาลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐


            โบราณสถาน และสถานที่สำคัญของอำเภอศรีสัชนาลัย  โบราณสถานก่อนที่ชุมชนไทยญวน ตำบลหาดเสี้ยว อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่น คนได้สร้างอุโบสถวัดหาดเสี้ยว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗ มีดังนี้
                -  วัดร้างสมัยสุโขทัย  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้สถาปนาเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษาตั้งชื่อวัดว่า วัดโบสถ์มณีราม มีอุโบสถเก่ากับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย มีจารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูป
                -  วัดร้างสมัยสุโขทัยอีกสองวัด ปัจจุบันไม่เหลือซาก
                -  วัดร้างสมัยสุโขทัยอยู่บนเขา ที่บ้านหาดสูง ปัจจุบันเป็นสำนักสงฆ์ชื่อว่า วัดภูธาตุเจดีย์
                -  วัดน้อย  อยู่ที่บ้านหาดสูง ชาวไทยพวนได้สร้างวิหารก่ออิฐถือปูนทับไปบนฐานวัดร้าง เป็นโบราณสถานสมัยสุโขทัย
                -  วัดโพธิทอง  อยู่ที่บ้านหาดสูง ชาวไทยพวนสถาปนาขึ้นเป็นวัด สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๖ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหาดสูง
                -  วัดโพธิชัย หรือวัดโพธิไทร  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหาดเสี้ยว จากศิลาจารึกที่ติดไว้ที่ฝาผนังอุโบสถ พบว่าอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๒๘๗ นับเป็นโบราณสถานสกุลช่างไทยพวน ที่เก่าแก่ที่สุดที่อยู่มาถึงปัจจุบัน กรมศิลปากรได้สำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ มีอาคาร อุโบสถ หอไตร เจดีย์ด้านทิศตะวันออก รวมสามรายการ ประตูโขงของวัด ๘ ประตู ถูกรื้อออกไปหมด ตามประเพณีไทยพวนเรียกชื่อประตูทั้งแปดทิศ และมีความหมายดังนี้
            ประตูซ้ำโกรน ทิศพายัพ หมายถึงหนู  ประตูโงนงก ทิศอุดร หมายถึงช้าง  ประตูชกเกวียน ทิศอิสาน หมายถึงวัว  ประตูเหียนแอ่น ทิศบูรพา หมายถึงครุฑ  ประตูแว่นโต ทิศอาคเนย์ หมายถึงสิงห์โต  ประตูโสภาค ทิศทักษิณ  ประตูลาภฟาน ทิศหรดี หมายถึงเสือ และประตูหารน้ำ ทิศประจิม หมายถึง พญานาค
                -  วัดบ้านใหม่  ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมตรงกันข้ามกับวัดโบสถ์มณีราม แต่เนื่องจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง ต้องย้ายวัดลึกเข้าไปจากฝั่ง
                -  วัดเวียงชัย  ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดแม่ราก ตามชื่อหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐
                -  หมู่บ้านข่า  ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเกาะระเบียง อยู่ในเขตตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย


            ชุมชนเมืองด้ง เมืองด้งอยู่ในเขตตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมืองด้งได้ชื่อมาจาก เจ้าหมื่นด้ง โอรสเจ้าหมื่นโลกสามล้าน เจ้านครลำปาง ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๓ มีนามว่าเจ้าหาญแต่ท้อง เมื่อเจริญชันษาแล้วได้เป็นแม่ทัพของอาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้าหมื่นด้ง เจ้าเมืองนครลำปาง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๘๖ และได้รักษาการเจ้าเมืองเชียงชื่น ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๐๐๓ - ๒๐๑๒ อีกด้วย ในห้วงเวลานี้ คงจะได้มาตั้งกองกำลังควบคุมเมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่น ที่ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย บริเวณวัดต้นสนโพธาราม
            คำว่าเมืองด้ง ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ.๒๔๒๘ ใบบอกเมืองสวรรคโลก จ.ศ.๑๒๔๗ แสดงว่าเมืองด้งคง จะได้รับการยกฐานะชุมชนบริเวณบ้านตึกขึ้นเป็นเมือง ตำแหน่งเจ้าเมืองมียศเป็นที่พระเมืองด้ง ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองสวรรคโลก ชื่อเมืองด้งมีความเป็นมา ดังนี้
                -  พ.ศ.๒๐๐๓ - ๒๐๑๗ เป็นที่ตั้งกองกำลังควบคุมเมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่นของเจ้าหมื่นด้งเจ้าเมืองนครลำปาง
                -  พ.ศ.๒๔๓๗ - ๒๔๔๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอด้ง
                -  พ.ศ.๒๔๔๑ - ๒๔๕๖ ตำบลบ้านตึก เป็นที่ตั้งสาขาของที่ว่าการอำเภอด้ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย
            ชุมชนอำเภอสวรรคโลก ชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ล้อมรอบด้วยวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดจวน ประวัติศาสตร์ชุมชนแห่งนี้เกี่ยวข้องกับเมืองเชลียง เมืองศรีสัชนาลัย เมืองเชียงชื่น และเมืองสวรรคโลกเก่า เป็น เมืองลูกหลวงในสมัยสุโขทัย เป็นเมืองพระยามหานคร มีศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ เท่ากับเมืองสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครศรีธรรมราช ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมัยกรุงธนบุรีเจ้าเมืองสวรรคโลกเป็นเจ้าพญาสวรรคโลก ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๔ เจ้าเมืองสวรรคโลกเป็นที่พระสวรรคโลก
            หลังจาก ปี พ.ศ.๒๔๓๕ ทางกรุงเทพ ฯ ได้เริ่มส่งข้าราชการมาบริหารการปกครองควบคู่กับตำแหน่งขุนนางสืบตระกูล ทายาทตระกูลวิชิตนาค นามเดิมชื่อมั่งเป็นเจ้าเมืองสวรรคโลก ลำดับที่สี่ เรียงกันดังนี้
                -  พญาสวรรคโลก (นาค - ต้นตระกูลวิชิตนาค) พ.ศ.๒๓๗๘ - ๒๓๘๕
                -  พญาสวรรคโลก (นก ) ลูกพญาสวรรคโลก (นาค) พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๔๑๑
                -  พระยาสวรรคโลก (ด้วง) ลูกพระยาสวรรคโลก (นก) พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๓๓
                -  พระยาสวรรคโลก (มั่ง  วิชิตนาค) ลูกพระยาสวรรคโลก (ด้วง) พ.ศ.๒๔๓๓ - ๒๔๔๕
            เมืองสวรรคโลกใหม่ย้ายจากเมืองสวรรคโลกเก่ามาอยู่ที่บ้านวังไม่ขอน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙ เมืองสวรรคโลกได้ย้ายไปสามครั้งแล้ว ตัวเมืองเดิมเป็นอย่างเมืองจริง ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำยม หรือแม่น้ำธานี มีกำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงอย่างแน่หนา เมืองสวรรคโลกที่ว่ามาธรรมราชสร้าง เป็นเมืองเดิมทิ้งร้างแล้ว เมืองได้ลงมาตั้งใหม่ที่บ้านท่าชัย ซึ่งบัดนี้เรียกว่าเมืองเก่า อยู่ใต้เมืองเดิมลงมาคุ้งหนึ่ง ต่อมาก็ทิ้งอีก แล้วมาตั้งที่บ้านวังไม้ขอน อยู่ใต้เมืองเก่าลงไปมาก
            เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๗ ยังมิได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่ตั้งเจ้าเมือง มีแต่หลวงยกบัตรรักษาการแทนเจ้าเมืองสวรรคโลก เมืองสวรรคโลกมีเมืองขึ้นสามเมืองคือ
                เมืองบางขลัง  ปัจจุบันเป็นตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก ชื่อเมืองนี้ปรากฏตั้งแต่สมัยเชลียงแล้ว โบราณสถานสำคัญของเมืองนี้ได้แก่วัดโบสถ์เมืองบางขลัง วัดใหญ่ชัยมงคล และหอรบทุ่งเสลี่ยม เป็นต้น หลังจากปี พ.ศ.๒๕๐๑ ได้แยกพื้นที่ของเมืองบางขลังตั้งเป็นอำเภอทุ่งเสลี่ยม
                เมืองทุ่งยั้ง  อยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งของวัดพระแท่นศิลาอาสน์ และวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองทางบางโพเป็นเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ ยกฐานะเมืองพิชัยจากเมืองตรีเป็นเมืองโท ตัดพื้นที่เมืองทุ่งยั้งในความปกครองของเมืองสวรรคโลก ให้อยู่ในความปกครองของเมืองพิชัยเช่นเดียวกับเมืองอุตรดิตถ์ หลังจาก ปี พ.ศ.๒๔๕๙ ได้ยกเมืองอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ พื้นที่เมืองทุ่งยั้งจึงอยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่นั้นมา
                เมืองบางยม  ปัจจุบันเป็นตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก ปรากฏชื่อเมืองนี้ครั้งแรกในเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ.๒๓๘๗ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๓๕ เมืองสวรรคโลกมีเมืองในปกครองหกเมืองคือ เมืองด้ง เมืองวิเศษชัยสัตย์ เมืองบางยม เมืองศรีนพมาศ เมืองพิรามรง และเมืองบางขลัง


            ชุมชนเมืองสุโขทัยเก่า  ปัจจุบันอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง ฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เจ้าเมืองสุโขทัย ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ เท่ากับตำแหน่งสำคัญ ๘ ตำแหน่งในครั้งนั้นคือ พระมหาอุปราช เจ้าพระยามหาเสนาสมุหพระกลาโหม เจ้าพญาจักรีสมุหนายก เจ้าพญาสุรสีห์เจ้าเมืองพิษณุโลก เจ้าพญาศรีธรรมราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองสวรรคโลก และเจ้าเมืองสุโขทัย
            ในสมัยธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระเชียงเงินเจ้าเมืองเชียงเงิน (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองตาก) เป็นผู้รั้งตำแหน่งพญาสุโขทัย
            ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระวิเชียรบุรี (ปัจจุบันเป็นชื่ออำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์) ดำรงตำแหน่งพญาสุโขทัย
            พ.ศ.๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้หลวงณรงอาสา กองส่วยไม้ขอนสัก บุตรพญาสุโขทัยคนเก่าเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย
            พระยาศรีสัชนาลัย (เลี้ยง  ศิริปาละ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยคนแรก
            เมืองสุโขทัยย้ายจากเมืองเก่ามาอยู่ธานีตั้งแต่เมื่อใด ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน
            การอนุรักษ์เมืองสุโขทัยเก่าให้เป็นเมืองประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ จอมพล. ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ไปตรวจราชการถึงเมืองสุโขทัยเก่า พบโบราณสถานอันสำคัญอยู่ในสภาพปรักหักพัง สมควรที่จะฟื้นฟูบูรณะให้เป็นเมืองประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของประเทศ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะเมืองสุโขทัยเก่าขึ้นมาในปีเดียวกันนั้น ต่อมาได้มีการตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรได้รับงบประมาณขุดแต่งบูรณะในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๘ - ๒๕๑๒ เป็นส่วนใหญ่
            ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีการใช้คำว่า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นครั้งแรก รัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาให้จังหวัดสุโขทัยมากเป็นพิเศษกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา


            ชุมชนเมืองราชธานี  ตั้งอยู่ที่ตำบลราชธานี อำเภอเมือง ฯ ชาวบ้านเรียกกันเป็นสามัญว่า ธานี
            คำว่าธานีซึ่งเป็นชื่อตำบลอยู่ปัจจุบัน เข้าใจว่ามาจากคำว่า ทะเลหลวง ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหงที่กล่าวว่า ด้านตะวันออกของตัวเมืองสุโขทัย เป็นที่ตั้งของทะเลหลวง ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำลำพัน แม่น้ำฝากระดาน คลองสามพวง ไหลมารวมกันเป็นทะเลหลวง แล้วไหลออกไปรวมกับแม่น้ำยมเก่าที่อำเภอกงไกรลาศ
            คำว่าธานี เป็นชื่อแม่น้ำท่าแพเดิมหรือแม่น้ำยมในปัจจุบัน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกแม่น้ำด้านตะวันออกกำแพงเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๐๐๒ ว่า แม่น้ำราชธานี
            ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๗๕ - ๒๓๗๘ ปรากฏชื่อเมืองราชธานีเป็นชื่อเมืองขึ้นของเมืองสุโขทัย
            ชื่ออำเภอเมือง ฯ มีลำดับความเป็นมาคือ ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๔๔๒ - ๒๔๕๙ เรียกว่าอำเภอในเมือง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๗๔ เรียกอำเภอธานี ตามชื่อตำบลธานี พ.ศ.๒๔๗๔ - ๒๔๘๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อำเภอธานีใช้ชื่ออำเภอว่า อำเภอสุโขทัยธานี จังหวัดสวรรคโลก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ กระทรวงมหาดไทยยุบ จังหวัดสวรรคโลก และอำเภอเมืองสวรรคโลก เป็นอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัยธานีจึงเปลี่ยนเป็น อำเภอเมืองสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน




            ชุมชนอำเภอศรีสำโรง  พื้นที่ของอำเภอศรีสำโรงมีชุมชนโบราณสามแห่งด้วยกัน คือ บ้านสระบัว ตำบลวังใหญ่ บ้านวังมีด (๑) ตำบลนาขุนไกร และบ้านวังมีด (๒) ตำบลขุนไกร นอกจากนี้วัดโรงฆ้อง และวัดป่าขมิ้น ตำบลเกาะตาเลี้ยง เป็นวัดโบราณอยู่ริมลำน้ำยมสายเก่า แสดงถึงการมีชุมชนในอดีตอยู่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ด้วย
            โบราณสถานเมืองศรีสำโรง  ได้แก่ วัดสำโรงทอง อยู่ที่บ้านท่ามักกะสัง ตำบลราวต้นจันทน์ วัดโรงฆ้อง ปัจจุบันชื่อวัดวงฆ้อง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมเก่า ตำบลเกาะตาเลี้ยง เป็นวัดที่มีอายุประมาณ ๗๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุ อันได้แก่ พระพุทธรูปโบราณสี่องค์เดิมอยู่ที่วัดโบสถ์ เมืองบางขลัง ชาวบ้านได้อาราธนามาประดิษฐานที่วัดบ้านซ่าน ตำบลบ้านซ่าน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ ระฆังโบราณของถ้ำระฆัง ตำบลนาขุนไกร และได้นำมาถวายไว้ที่วัดบ้านซ่าน พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย อยู่ที่วัดคลองโป่ง ตำบลคลองตาล




            ชุมชนอำเภอกงไกรลาศ  อยู่ที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอกงไกรลาศ เดิมคงจะเป็นเมืองกงครามในความปกครองของเมืองสุโขทัย และปรากฏชื่อเมืองกงไกรลาศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            ที่ว่าการอำเภอกงไกรลาศหลังแรกตั้งอยู่บนเกาะกง ในเขตตำบลกงในปัจจุบัน พื้นที่อำเภอกงไกรลาศมีวัดร้างมากเกือบ ๗๐ วัด เช่น วัดทุ่งเนินพยอม หรือวัดป่าแฝก อยู่ในเขตตำบลป่าแฝก มีโบราณสถานคือ ฐานวิหาร ฐานอุโบสถ กำแพงแก้ว หอไตร เตาเผาสังคโลกที่ระบายความร้อนแนวนอน


            ชุมชนอำเภอคีรีมาศ  อยู่ในเขตตำบลทุ่งหลวง หนึ่งแห่งและตำบลศรีคีรีมาศอีกแห่งหนึ่ง ชื่อเมืองคีรีมาศมีปรากฏอยู่ในบันทึกวัดพระเชตุพน ตอนทำเนียบหัวเมือง ที่จัดทำขึ้นระหว่าง ปี พ.ศ.๒๓๗๕ - ๒๓๗๘ เป็นเมืองในความปกครองของเมืองสุโขทัย เจ้าเมืองเป็นที่พระคีรีมาศ


            ชุมชนอำเภอบ้านด่านลานหอย  จากหลักฐานทางโบราณคดี พบคันดินและคูน้ำซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณ อยู่ในเขตตำบลวังน้ำขาวสองแห่ง จากจำนวน ๑๖ แห่งในเขตจังหวัดสุโขทัย เขาค่ายและบ้านด่าน สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นด่านโบราณ ระฆังโบราณที่เก็บรักษาอยู่ที่วัดสังฆาราม หรือวัดบ้านด่าน ตำบลบ้านด่าน นำมาจากถ้ำระฆังตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง
            ชื่อเดิมของชุมชนนี้ชื่อ บ้านด่านกับบ้านลานคอย เมื่อมีการแบ่งพื้นที่อำเภอเมืองสุโขทัย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ จึงนำเอาชื่อหมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดมารวมกันเป็นชื่ออำเภอ แต่ชื่อลานคอยได้กลายไปเป็นลานหอย
            เขาค่าย บ้านด่าน และบ้านคอย  อยู่ระหว่างเมืองสุโขทัย และเมืองตาก เมื่อเกิดศึกพม่าที่ยกมาทางด่านแม่ละเมา ผ่านเมืองตาก เป็นหน้าที่ของเจ้าเมืองตาก จะต้องรายงานให้หมู่บ้านลานคอยทราบ แล้วหมู่บ้านลานคอยจะต้องรับส่งม้าเร็วไปรายงานบ้านด่าน บ้านด่านต้องรับส่งม้าเร็วไปส่งข่าวศึกกับเมืองสุโขทัย ให้เตรียมป้องกันเมือง สันนิษฐานว่า ถ้าทัพพม่ายกผ่านเข้ามาถึงเมืองตาก ราษฎรบ้านลานคอย และบ้านด่าน จะต้องรีบอพยพครัวเรือน และข้าวเปลือก เข้าไปอยู่ในกำแพงเมืองสุโขทัย ส่วนไพร่ชายซึ่งมีหน้าที่ต้องเป็นทหารทุกคน คงต้องเตรียมอาวุธประจำกายมาป้องกันข้าศึกอยู่บริเวณเขาค่าย ปัจจุบันบนเขาค่าย ยังคงมีกองหินก่อเป็นเชิงเทินเหลืออยู่เป็นแนวยาวตลอดภูเขา

ปัจจัยที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาราจักรอยุธยา

1.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรือง
1.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

ชุมชนไทยก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา
            อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะก่อตั้งขึ้นในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ดินแดนของประเทศในอดีต เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณหลายแห่ง ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี  ฟูนัน ศรีวิชัย และนครศรีธรรมราช เป็นต้น   สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชนชาติมอญและขอม
            การก่อกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1780 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ทำสงครามขับไล่ชนชาติขอม   รวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้ง อาณาจักรสุโขทัยขึ้น ซึ่งในบริเวณดินแดนใกล้เคียงดังกล่าว ก็ยังมีผู้นำคนไทยที่ตั้งตัวเป็นอาณาจักรอิสระอีกแห่งหนึ่ง คือ อาณาจักรล้านนา
            การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้วในขณะนั้นแคว้นอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ
           1. แคว้นอู่ทองเป็นชุมชนของคนไทย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   มีการค้นพบซากเมืองโบราณและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในเขตตัวเมืองอู่ทอง(อยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) และในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
           2. ศูนย์กลางความเจริญของแคว้นอู่ทองอยู่ที่ตัวเมืองอู่ทอง จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า เมืองอู่ทอง เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร) จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 13 และถือว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่าเมืองโบราณที่นครปฐม
           3. การค้นพบศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้สันนิษฐานว่า ก่อนในช่วงดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้ หลังจากนั้น เมืองอู่ทอง ได้เสื่อมอำนาจและลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 เมืองสุพรรณบุรี กลับมีความเจริญเข้ามาแทนที่
            4.แค้วนอู่ทองหรือสุพรรณบุรี อาจเป็นเมืองเดิมของพระเจ้าอู่ทองก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง ทรงพาผู้คนอพยพหนีโรคระบาดจากแคว้นสุพรรณภูมิมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศณีอยุธยา และต่อมาทรงตั้งให้ ขุนหลวงพะงั่ว ญาติผู้ใหญ่ของพระองค์ไปครองเมืองสุพรรณบุรีแทนแคว้นละโว้หรือลพบุรี
             1.เมืองละโว้เป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 โดย "พระยากาฬวรรณดิศราช" กษัตริย์นครปฐมเป็นผู้สั่งให้สร้างเมืองละโว้ขึ้น ในพ.ศ. 1002 แต่ทั้งเมืองละโว้ นครปฐม อู่ทอง และสุพรรณภูมิ ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ในช่งพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งสิ้น โดยละโว้มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงทางด้านตะวันออกของอาณาจักร
            2.แคว้นละโว้มีความเจริญทางวัฒนธรรมและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ความเจริญของละโว้แผ่ขยาย ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณปากอ่าวไทยขึ้นไปตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออกจนถึง เมืองนครสวรรค์และเมืองหริภุญไชย
            3.แคว้นละโว้เริ่มรับวัฒนธรรมฮินดูและพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานจากเขมรอย่างมาก ตั้งแต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยเชื่อว่าแคว้นละดว้ตกอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของเขมร เพราะก่อนหน้านี้ละโว้เคยส่งทูตไปเมืองจีนอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจาก พ.ศ.1544 ก็ไม่ได้ส่งไปอีกเลย
           4.แคว้นละโว้ย้ายราชธานีใหม่ ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 17
                    4.1 แคว้นละโว้ถูกคุกคามโดยกองทัพของพระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม(พม่า)เมื่อประมาณ พ.ศ. 1601
                    4.2 พระนารายณ์กษัตริย์ของแคว้นละโว้ ได้ย้ายราชธานีใหม่มาตั้งตรงปากแม่น้ำลพบุรี (บริเวณที่แม่น้ำลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1625 และตั้งชื่อว่า "กรุงอโยธยา" ส่วนเมืองละโว้เดิมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ลพบุรี" และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา ตั้งแต่บัดนั้น
            5.แค้วนอโยธยามีอำนาจปกครองในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19  สันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้อพยพพาผู้คนมาตั้งเมืองใหม่ที่ หนองโสน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก สถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 และยกฐานะ ลพบุรี ให้เป็นเมืองลูกหลวงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
        1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากที่ใด มีข้อสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว 3 ประการ ดังนี้
            1.1 มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอู่ทอง  แคว้นสุพรรณภูมิ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1890 เมืองอู่ทองซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำจระเข้สามพัน ประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) ใช้เวลาสร้างเมืองใหม่ 3 ปี และสถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งใหม่ ใน พ.ศ.1893
            1.2 มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอโยธยา บริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นละโว้ โดยพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพไพร่พลทิ้งเมืองอโยธยา หนีภัยอหิวาตกโรคระบาด มาสร้างเมืองใหม่เช่นกัน
            1.3 มีฐานะเป็นพระราชโอรสของแคว้นละโว้ พระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นละโว้ และมอบหมายให้พระเจ้าอู่ทองไปครองเมืองเพชรบุรี ในฐานะเมืองลูกหลวง ครั้งเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระเจ้าอู่ทองจึงเสด็จกลับมาครองราชวมบัติในแคว้นละโว้ และต่อมาได้ย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา
        2. การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 เป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเสื่อมอำนาจลง ตรงกับรัชการพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ในขณะที่ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็ยังคงมีแคว้นของคนไทยตั้งบ้านเมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในที่สุดปัจจัยที่สนับสนุนให้การสถาปนากรุงศรีอยุธยาประสบความสำเร็จ
        1. ความเข้มแข็งทางการทหาร สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นละโว้ หรือดฃเป็นเจ้าเมืองที่มาจากเมืองอู่ทองอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีกำลังทหารเข้มแข็ง มีกำลังไพร่พลมาก และมีลักษณะเป็นผู้นำทางการเมืองที่ผู้คนยอมรับ จึงให้การสนับสนุนในด้านกำลังคนอย่างเต็มที่
        2. การดำเนินนโยบายทางการทูตที่เหมาะสมกับดินแดนใกล้เคียง พระเจ้าอู่ทองได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ จึงเป็นการเชื่อมโยงแค้วนละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทั้งสองอาณาจักรลดการแข่งขันทางการเมืองซึ่งกันและกัน
        3. การปลอดอำนาจทางการเมืองภายนอก  ในขณะนั้น อาณาจักรสุโขทัยของคนไทยด้วยกันที่อยู่ทางตอนเหนือ และอาณาจักรเขมร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง จึงไม่สามารถสกัดกั้นการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ของคนไทยได้
        4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา   ป่าสักและลพบุรี   ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป
        5. ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศของอยุธยาเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ  ประกอบกับอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการคมนาคมทางน้ำสะดวกทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้ง่ายการสร้างความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา
        ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพยายามสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักร โดยการดำเนินการทางการเมือง ดังต่อไปนี้
        1. การขยายอำนาจไปยังอาณาจักรเขมร เนื่องจากเขมรเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาก่อน มีอาณาจักรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอยุธยา ทำให้คนไทยเกิดความหวาดระแวงไม่ปลอดภัย
            1.1 รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพอยุธยาไปตีเขมร  2   ครั้ง ใน พ .ศ. 1895 และ 1896 ทำให้เขมรเสื่อมอำนาจลง ต้องย้ายเมืองหลวงหนี ทางฝ่ายไทยได้กวาดต้อนพราหมณ์ในราชสำนักเขมรมายังกรุงศรีอยุธยา เป็นผลให้เกิดการแพร่หลาย ศิลปวัฒนธรรมเขมรในไทยมากขึ้น
            1.2 รัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (สมเด็จพระเจ้าสามพระยา) เขมรต้องตกเป็นประเทศราชของไทย ทางอยุธยายินยอมให้เขมรได้ปกครองตนเอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี
        2. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เหตุการณ์สำคัญดังนี้
            2.1 รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง กองทัพอยุธยาตี เมืองสรรค์(ชัยนาท) เมืองหน้าด่านของสุโขทัยไว้ได้ใน พ .ศ. 1900  แต่พระยาลิไทย กษัตริย์สุโขทัยได้ส่งทูตมาเจรจาขอคืน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองยังดำเนินไปด้วยดี
            2.2 รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ยกกองทัพไปตีอาณาจักรสุโขทัยหลายครั้ง ใน พ.ศ. 1921 ได้เข้ายึดเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) เมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย พระยาไสยลือไทย กษัตริย์สุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมไม่คิดต่อสู้ ทำให้อยุธยามีอำนาจเหนืออาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้น โดยยินยอมให้สุโขทัยปกครองตนเองในฐานะประเทศราช
            2.3 รัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้เสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ยปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชวงศ์ของสุโขทัยด้วยกัน ใน พ.ศ. 1962 จนเหตุการณ์ยุติด้วยดี ในรัชกาลนี้สุโขทัยกับอยุธยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันมากขึ้น เมื่อมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าสามพระยาพระโอรสแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระธิดาแห่งกรุงสุโขทัย
            2.4 รัชกาลพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (สมเด็จเจ้าสามพระยา) โปรดให้พระราชโอรส พระราเมศวร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ในฐานะที่ทรงมีเชื้อสายสุโขทัย ขึ้นปกครองอาณาจักรสุโขทัย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ พิษณุโลก   เป็นผลให้สุโขทัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1983 เป็นต้นมา
        3. การขยายดินแดนให้กว้างขวาง ทำให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของคนไทย
        อาณาจักรอยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนบนและตอนล่าง กลายเป็นอาณาจักรของคนไทยที่เข้มแข็งที่สุด และเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมืองของคนไทยในสมัยนั้นอย่างแท้จริง มีอาณาเขต ดังต่อไปนี้
            3.1 ทิศเหนือ จรดอาณาจักรล้านนา และสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยด้วยกัน ต่อมาสุโขทัยถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าสลับกัน
            3.2 ทิศตะวันออก จรดอาณาจักร เขมรหรือขอม ซึ่งบางสมัยต้องตกเป็นประเทศราชของไทย และบางสมัยก็แข็งเมืองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อไทย
            3.3 ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติลาว มีความเข้มแข็งทางการเมืองรองจากอยุธยา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
            3.4 ทิศตะวันตก อยุธยามีอำนาจครอบครองอาณาจักรมอญ แถบเมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด แต่ต่อมาก็ต้องสูญเสียให้แก่พม่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21
            3.5 ทิศใต้ อยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมะลายูบางเมือง เช่น ปัตตานี กลันตัน และไทรบุรี เป็นต้น

1. ข้อความที่ค้นคว้ามาแสดงถึงช่วงเวลา และยุคสมัยใด

ตอบ ประมาณ พ.ศ.18932.

2.ยุคสมัยที่เกิดเหตุการณ์นั้น มีลักษณะเด่นอย่างไร

ตอบ พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม)เพราะประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก

3. การแบ่งเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษาประวัติศาสตร์
ตอบ ทำให้สะดวกต่อการศึกษาและเข้าใจได้ง่ายในเหตุการณ์ในช่วงเวลาต่างๆของประวัติศาสตร์

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

2.2 การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา


          การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้ว
แคว้นอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ

            แคว้นอู่ทองเป็นชุมชนของคนไทย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   มีการค้นพบซากเมืองโบราณและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในเขตตัวเมืองอู่ทอง (อยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) และในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี

            ศูนย์กลางความเจริญของแคว้นอู่ทองอยู่ที่ตัวเมืองอู่ทอง จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า เมืองอู่ทอง เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร) จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 13 และถือว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่าเมืองโบราณที่นครปฐม

            การค้นพบศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้สันนิษฐานว่า ก่อนในช่วงดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้ หลังจากนั้น เมืองอู่ทอง ได้เสื่อมอำนาจและลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 เมืองสุพรรณบุรี กลับมีความเจริญเข้ามาแทนที่

            แค้วนอู่ทองหรือสุพรรณบุรี อาจเป็นเมืองเดิมของพระเจ้าอู่ทองก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง ทรงพาผู้คนอพยพหนีโรคระบาดจากแคว้นสุพรรณภูมิมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา และต่อมาทรงตั้งให้ ขุนหลวงพะงั่ว ญาติผู้ใหญ่ของพระองค์ไปครองเมืองสุพรรณบุรีแทนแคว้นละโว้หรือลพบุรีแคว้นละโว้หรือลพบุรี
             เมืองละโว้เป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 โดย "พระยากาฬวรรณดิศราช" กษัตริย์นครปฐมเป็นผู้สั่งให้สร้างเมืองละโว้ขึ้น ในพ.ศ. 1002 แต่ทั้งเมืองละโว้ นครปฐม อู่ทอง และสุพรรณภูมิ ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งสิ้น โดยละโว้มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงทางด้านตะวันออกของอาณาจักร

            แคว้นละโว้มีความเจริญทางวัฒนธรรมและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ความเจริญของละโว้แผ่ขยาย ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณปากอ่าวไทยขึ้นไปตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออกจนถึง เมืองนครสวรรค์และเมืองหริภุญไชย

            แคว้นละโว้เริ่มรับวัฒนธรรมฮินดูและพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานจากเขมรอย่างมาก ตั้งแต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยเชื่อว่าแคว้นละโว้ตกอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของเขมร เพราะก่อนหน้านี้ละโว้เคยส่งทูตไปเมืองจีนอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจาก พ.ศ.1544 ก็ไม่ได้ส่งไปอีกเลย

            แคว้นละโว้ย้ายราชธานีใหม่ ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 17

 แคว้นละโว้ถูกคุกคามโดยกองทัพของพระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม (พม่า) เมื่อประมาณ พ.ศ. 1601
 พระนารายณ์กษัตริย์ของแคว้นละโว้ ได้ย้ายราชธานีใหม่มาตั้งตรงปากแม่น้ำลพบุรี (บริเวณที่แม่น้ำลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1625 และตั้งชื่อว่า "กรุงอโยธยา" ส่วนเมืองละโว้เดิมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ลพบุรี" และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา ตั้งแต่บัดนั้น


กรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา

            แค้วนอโยธยามีอำนาจปกครองในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19  สันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้อพยพพาผู้คนมาตั้งเมืองใหม่ที่ หนองโสน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก สถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 และยกฐานะ ลพบุรี ให้เป็นเมืองลูกหลวงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

            สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากที่ใด มีข้อสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว 3 ประการ ดังนี้

มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอู่ทอง แคว้นสุพรรณภูมิ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1890 เมืองอู่ทองซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำจระเข้สามพัน ประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) ใช้เวลาสร้างเมืองใหม่ 3 ปี และสถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งใหม่ ใน พ.ศ.1893
 มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอโยธยา บริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นละโว้ โดยพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพไพร่พลทิ้งเมืองอโยธยา หนีภัยอหิวาตกโรคระบาด มาสร้างเมืองใหม่เช่นกัน
มีฐานะเป็นพระราชโอรสของแคว้นละโว้ พระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นละโว้ และมอบหมายให้พระเจ้าอู่ทองไปครองเมืองเพชรบุรี ในฐานะเมืองลูกหลวง ครั้งเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระเจ้าอู่ทองจึงเสด็จกลับมาครองราชวมบัติในแคว้นละโว้ และต่อมาได้ย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา
            การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 เป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเสื่อมอำนาจลง ตรงกับรัชการพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ในขณะที่ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็ยังคงมีแคว้นของคนไทยตั้งบ้านเมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในที่สุดปัจจัยที่สนับสนุนให้การสถาปนากรุงศรีอยุธยาประสบความสำเร็จ

ปัจจัยที่สนับสนุนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
        1. ความเข้มแข็งทางการทหาร สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นละโว้ หรือดเป็นเจ้าเมืองที่มาจากเมืองอู่ทองอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีกำลังทหารเข้มแข็ง มีกำลังไพร่พลมาก และมีลักษณะเป็นผู้นำทางการเมืองที่ผู้คนยอมรับ จึงให้การสนับสนุนในด้านกำลังคนอย่างเต็มที่

        2. การดำเนินนโยบายทางการทูตที่เหมาะสมกับดินแดนใกล้เคียง พระเจ้าอู่ทองได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ จึงเป็นการเชื่อมโยงแค้วนละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทั้งสองอาณาจักรลดการแข่งขันทางการเมืองซึ่งกันและกัน

        3. การปลอดอำนาจทางการเมืองภายนอก ในขณะนั้น อาณาจักรสุโขทัยของคนไทยด้วยกันที่อยู่ทางตอนเหนือ และอาณาจักรเขมร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง จึงไม่สามารถสกัดกั้นการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ของคนไทยได้

        4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา   ป่าสักและลพบุรี   ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป

        5. ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศของอยุธยาเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ   ประกอบกับอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการคมนาคมทางน้ำสะดวกทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้ง่ายการสร้างความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา

           ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพยายามสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักร โดยการดำเนินการทางการเมือง ดังต่อไปนี้

1. การขยายอำนาจไปยังอาณาจักรเขมร เนื่องจากเขมรเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาก่อน มีอาณาจักรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอยุธยา ทำให้คนไทยเกิดความหวาดระแวงไม่ปลอดภัย

รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพอยุธยาไปตีเขมร  2   ครั้ง ใน พ .ศ. 1895 และ 1896 ทำให้เขมรเสื่อมอำนาจลง ต้องย้ายเมืองหลวงหนี ทางฝ่ายไทยได้กวาดต้อนพราหมณ์ในราชสำนักเขมรมายังกรุงศรีอยุธยา เป็นผลให้เกิดการแพร่หลาย ศิลปวัฒนธรรมเขมรในไทยมากขึ้น
รัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (สมเด็จพระเจ้าสามพระยา) เขมรต้องตกเป็นประเทศราชของไทย ทางอยุธยายินยอมให้เขมรได้ปกครองตนเอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี
2. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เหตุการณ์สำคัญดังนี้

รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง กองทัพอยุธยาตี เมืองสรรค์(ชัยนาท) เมืองหน้าด่านของสุโขทัยไว้ได้ใน พ .ศ. 1900  แต่พระยาลิไทย กษัตริย์สุโขทัยได้ส่งทูตมาเจรจาขอคืน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองยังดำเนินไปด้วยดี
รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ยกกองทัพไปตีอาณาจักรสุโขทัยหลายครั้ง ใน พ.ศ. 1921 ได้เข้ายึดเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) เมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย พระยาไสยลือไทย กษัตริย์สุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมไม่คิดต่อสู้ ทำให้อยุธยามีอำนาจเหนืออาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้น โดยยินยอมให้สุโขทัยปกครองตนเองในฐานะประเทศราช
รัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้เสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ยปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชวงศ์ของสุโขทัยด้วยกัน ใน พ.ศ. 1962 จนเหตุการณ์ยุติด้วยดี ในรัชกาลนี้สุโขทัยกับอยุธยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันมากขึ้น เมื่อมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าสามพระยาพระโอรสแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระธิดาแห่งกรุงสุโขทัย
รัชกาลพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (สมเด็จเจ้าสามพระยา) โปรดให้พระราชโอรส พระราเมศวร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ในฐานะที่ทรงมีเชื้อสายสุโขทัย ขึ้นปกครองอาณาจักรสุโขทัย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ พิษณุโลก   เป็นผลให้สุโขทัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1983 เป็นต้นมา
3. การขยายดินแดนให้กว้างขวาง ทำให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของคนไทย  อาณาจักรอยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนบนและตอนล่าง กลายเป็นอาณาจักรของคนไทยที่เข้มแข็งที่สุด และเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมืองของคนไทยในสมัยนั้นอย่างแท้จริง มีอาณาเขต ดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ จรดอาณาจักรล้านนา และสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยด้วยกัน ต่อมาสุโขทัยถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าสลับกัน
ทิศตะวันออก จรดอาณาจักร เขมรหรือขอม ซึ่งบางสมัยต้องตกเป็นประเทศราชของไทย และบางสมัยก็แข็งเมืองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อไทย
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติลาว มีความเข้มแข็งทางการเมืองรองจากอยุธยา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
 ทิศตะวันตก อยุธยามีอำนาจครอบครองอาณาจักรมอญ แถบเมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด แต่ต่อมาก็ต้องสูญเสียให้แก่พม่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21
ทิศใต้ อยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมะลายูบางเมือง เช่น ปัตตานี กลันตัน และไทรบุรี เป็นต้น

การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์

          เมื่อผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ได้พิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ขั้นตอนการวิพากษ์หลักฐาน การวิพากษ์ข้อสนเทศ การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในขั้นต้นและขั้นลึกไปแล้ว สิ่งสุดท้ายที่จะพิจารณาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็คือการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์

 จากหลักฐานทางโบราณคดี ศิลปสถาปัตยกรรม ตลอดจนตำนาน พงศาวดาร ฯลฯ ที่ค้นพบในภาคเหนือของประเทศไทย นักวิชาการได้ศึกษาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว แล้วลำดับเรื่องราวของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในภาคเหนือช่วงสมัยพญามังรายได้ว่า พญามังราย ได้สร้างเมืองเชียงใหม่หรือ “ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ” ให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ใน พ.ศ. 1839 และได้ขยายอำนาจไปไกลจนถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง และสิบสองปันนา พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนให้มาเป็นพลเมืองในเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก หลังรัชกาลของพญามังรายได้มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าพญาแสนพู ทรงได้สร้างเมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งอาจถือว่าเป็นราชธานีแห่งที่สองของอาณาจักรล้านนาก็ว่าได้ ต่อมาในสมัยของพญาถือนาได้รับพระพุทธศาสนานิกายรามัญวงศ์(ลังกาวงศ์เก่า) จากเมืองสุโขทัยซึ่งตรงกับสมัยพระยาลิไท มาสืบพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่และทรงโปรดให้สร้างวัดสวนดอกไม้ หรือวัดบุปผารามให้เป็นที่ประดิษฐานของพระสังฆราช และเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกายรามัญวงศ์สืบต่อมา จากการที่นักวิชาการได้ศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในส่วนที่เป็นเอกสารและสิ่งก่อสร้าง จนสามารถเรียบเรียงเป็นเรื่องราวซึ่งใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดนี้ เรียกว่า “ การสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ” ฉะนั้นการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์จึงหมายถึง การเอาข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาเกี่ยวพันให้เกิดความสัมพันธ์กันขึ้นนั่นเอง

          แต่ถ้าหากเจาะลึกลงไปเพื่อหาคำตอบที่ว่าทำไมพญามังรายถึงต้องสร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา หรือทำไมพญาแสนพูต้องเสด็จไปประทับอยู่ที่เชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพนั้น นักวิชาการได้เสนอข้อเท็จจริงไว้ว่าการที่พญามังรายสร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ขึ้น เนื่องจากมีชัยภูมิดีและเป็นการย้ายเมืองใหม่จากเวียงกุมกาม ซึ่งเกิดน้ำท่วมทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลากมาไว้ที่แห่งใหม่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์และป้องกันข้าศึกได้ดีกว่า และการที่พญาแสนพูต้องเสด็จมาประทับอยู่เมืองเชียงแสน จนทำให้เมืองนี้มีบทบาทเกือบเท่าเมืองเชียงใหม่ นักวิชาการได้เสนอไว้ว่าเป็นเพราะต้องการป้องกันกำลังของพม่าที่มีกำลังพลมากทางเมืองเชียงแสน การเจาะลึกถึงสาเหตุดังกล่าวของนักวิชาการดังได้ยกเป็นตัวอย่างเรียกว่า “การวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์”

วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์



        การศึกษาประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มาศึกษาวิเคราะห์ ตีความเรื่องราว และตรวจสอบ

ความถูกต้องของเรื่องราวเหตุการณ์นั้น ๆ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวประวัติความเป็นมาของมนุษย์ เรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้

        1. หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดี หลักฐานทางศิลปกรรมที่สำคัญ คือ ศิลปวัตถุแบบอู่ทอง ศิลปวัตถุแบบลพบุรี

ศิลปวัตถุแบบทวารวดี นอกจากนี้ได้แก่ เงินตรา ซากอิฐปูนของวัดวาอาราม พระพุทธรูป เครื่องใช้ตามบ้านเรือน ฯลฯ

         2. หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่านั้นมักจะเขียนลงบนสมุดข่อยหรือใบลาน เช่น ตำนานสิงหนวัติ (เล่าเรื่องตั้งแต่พระเจ้าสิงหน

วัติอพยพมาจากเหนือ)  จามเทวีวงศ์ (เป็นเรื่องเมืองหริภุญไชย)  รัตน์พิมพ์วงศ์ (เป็นตำนานพระแก้วมรกต) สิหิงคุนิทาน (

เป็นประวัติพุทธศาสนาและประวัติเมืองต่าง ๆ ในลานนาไทย)  จุลยุทธ์กาลวงศ์ (เป็นพงศาวดารไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง

ตลอดสมัยอยุธยา)  ตำนานสุวรรณโคมคำ และตำนานมูลศาสนา (เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย) ปัญหาของ

หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่า คือ เราไม่ทราบว่าผู้บันทึกเขียนไว้เมื่อไร มีความจริงแค่ไหน และแต่งเติมเพียงใด

         3. หลักฐานที่เป็นศิลาจารึก ศิลาจารึกถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในระยะเริ่มแรกสมัยสุโขทัย

ที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง)  ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม)

ศิลาจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง)  ศิลาจารึกหลักที่ 8 ข. (จารึกวัดพระมหาธาตุ)  จารึกหลักที่ 24 (จารึกวัดหัวเวียงไชยา)

จารึกหลักที่ 35 (จารึกดงแม่นางเมือง นครสวรรค์)  จารึกหลักที่ 62 (จารึกวัดพระยืน ลำพูน) ฯลฯ หมายเหตุ ศิลาจารึกให้ลำดับหลักตาม

การค้นพบ ก่อน – หลัง

         4. หลักฐานพวกที่เป็นพงศาวดารพระราชพงศาวดารสยามมีมากมาย แต่ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่

           4.1 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยอยุธยา คือ ฉบับหลวงประเสริฐ

           4.2 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ แยกเป็น 3 รัชกาล คือ            

                     4.2.1 ฉบับรัชกาลที่ 1 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ฉบับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย ฉบับพระพันรัตน์ ฉบับบริติชมิวเซียม

             4.2.2 ฉบับรัชกาลที่ 3 มี 1 สำนวน คือ ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

             4.2.3 ฉบับรัชกาลที่ 4 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพระราชหัตถเลขา

         4.3 พระราชพงศาวดารฉบับอื่น ๆ คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก

         5. หลักฐานที่เป็นจดหมายเหตุชาวต่างประเทศหลักฐานพวกนี้เป็นหลักฐานภาษาต่างประเทศ เพราะมีชาวยุโรปหลายชาติ

เข้ามาติดต่อในสมัยอยุธยา หลักฐานเหล่านี้อยู่ในรูปของบันทึก จดหมายเหตุ จดหมายถึงผู้บังคับบัญชา จดหมายของข้าราชการและพ่อค้า

เอกสารทางการทูต บันทึกของมิชชันนารี เช่น จดหมายเหตุของลาลูแบร์ บันทึกของบาดหลวงเดอ ชั่ว สี จดหมายเหตุวันวิลิต

เอกสารฮอลันดา ฯลฯ อ้างอิงจาก (สุริยันตร์ เชาวน์ปรีชา: เอกสารประกอบ การสัมมนาประวัติพระยาพิชัยดาบหักเพื่อการจัด

ทำหลักสูตรบุคคลสำคัญท้องถิ่น



หลักเกณฑ์การประเมินค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท



       1. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายใน หมายถึง การตรวจสอบความน่าเชื้อถือของหลักฐานว่า

มีความน่าเชื่อถือมาก ปานกลาง หรือไม่น่าเชื่อถือทั้งหมด ซึ่งจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรตรวจสอบดังนี้

         1.1 ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึก ได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้น

         1.2 จุดมุ่งหมายของผู้บันทึก บางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น

         1.3 ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง

         1.4 คุณสมบัติของผู้บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน สภาพแวดล้อมน่าเชื่อถือหรือไม่ ขณะที่บันทึกนั้นสภาพร่างกายหรือ

จิตใจปกติหรือไม่มีความกดดันทางอารมณ์ หรือถูกบีบบังคับให้เขียนหรือไม่ข้อความในหลักฐานที่อาจเกิดการคัดลอกหรือแปลผิดพลาด

หรือมีการต่อเติมเกิดขึ้น

         1.5 ข้อความนั้นมีอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่

         1.6 วิธีการในการบันทึกใช้วิธีการบันทึกอย่างไร ถี่ถ้วนมีอรรถรสหรือเป็นการบันทึกโดยการสืบหาสาเหตุอย่างเที่ยงธรรม

ถ้าหากผู้บันทึกใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์ จะทำให้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ

       2. การประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก เป็นการมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่า เป็นของจริงหรือของปลอม ไม่ว่าจะเป็น

บางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือปลอมนั้น ผู้ศึกษา

ไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ทั้งหมด เพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริง ๆ จึงต้องอาศัยผลงานหรือขอความร่วม

มือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องของ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์

1.การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา

การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์เริ่มจากความสงสัย อยากรู้ ไม่พอใจกับคำอธิบายเรื่องราวที่มีมาแต่เดิม ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเริ่มจากการกำหนดเรื่องหรือประเด็นที่ต้องการศึกษาซึ่งในตอนแรก อาจกำหนดประเด็นที่ต้องการศึกษาไว้กว้างๆ ก่อน แล้วจึงค่อยจำกัดประเด็นลงให้แคบ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในภายหลัง เพราะบางเรื่องขอบเขตของการศึกษาอาจกว้างมากทั้งเหตุการณ์ บุคคล และเวลา

การกำหนดหัวเรื่องอาจเกี่ยวกับเหตุการณ์ ความเจริญ ความเสื่อมของอาณาจักร ตัวบุคคลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อาจยาวหรือสั้นตามความเหมาะสม ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ และยังมีหลักฐานข้อมูลที่ผู้ต้องการศึกษาหลงเหลืออยู่ หัวข้อเรื่องอาจปรับให้มีความเหมาะสมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหากหลักฐานที่ใช้ในการศึกษามีน้อยหรือไม่น่าเชื่อถือ

2.การรวบรวมหลักฐาน

การ รวบรวมหลักฐาน คือ การรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะศึกษา ซึ่งมีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

หลักฐานทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิกับหลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ

1) หลักฐานชั้นต้น (Primary Sources) เป็นหลักฐานร่วมสมัยของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ประกอบด้วยหลักฐานทางราชการทั้งที่เป็นเอกสารลับ เอกสารที่เปิดเผยกฎหมาย ประกาศ สุนทรพจน์ บันทึกความทรงจำของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรืออัตชีวประวัติผู้ที่ได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์ การรายงานข่าวของผู้รู้ ผู้เห็นเหตุการณ์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพถ่ายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น

2) หลักฐานชั้นรอง (Secondary Sources) เป็นหลักฐานที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักฐานชั้นต้น หรือโดยบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง แต่ได้รับรู้โดยผ่านบุคคลอื่น ประกอบด้วยผลงานของนักประวัติศาตร์หรือหนังสือประวัติศาสตร์ รายงานของสื่อมวลชนที่ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง

ทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองจัดว่ามีคุณค่าแตกต่างกัน คือ หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญมาก เพราะเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่บันทึกโดยผู้รู้เห็น หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ส่วนหลักฐานชั้นรองเป็นหลักฐานที่ทำขึ้นภายหลังโดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้น ต้น แต่หลักฐานชั้นรองจะช่วยอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจหลักฐานชั้นต้นได้ง่ายขึ้น ละเอียดขึ้นอันเป็นแนวทางไปสู่หลักฐานข้อมูลอื่นๆ ซึ่งปรากฏในบรรณานุกรมของหลักฐานชั้นรองทั้งหลักฐานชั้นต้นและชั้นรองสามารถ ค้นคว้าได้จากห้องสมุด ทั้งของทางราชการ และของเอกชน ตลอดจนฐานข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (website)

การค้นคว้าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้หลักฐานรอบด้าน โดยเฉพาะหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษา อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะใช้หลักฐานประเภทใดควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะหลักฐานทุกประเภทมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกัน

3.การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้ามาได้ ก่อนที่จะทำการศึกษาจะต้องมีกาีรประเมินคุณค่าว่าเป็นหลักฐานที่แท้จริง เพียงใด การประเมินคุณค่าของหลักฐานนี้เรียกว่า “วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์” ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี ดังต่อไปนี้

1) การประเมินคุณค่าภายนอกหรือวิพากษ์วิธีภายนอก ซึ่งหมายถึง การประเมินคุณค่าของหลักฐานจากลักษณะภายนอกของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บางครั้งก็มีการปลอมแปลง เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้หลงผิด หรือเพื่อเหตุผลทางการเมือง การค้า ดังนั้น จึงต้องมีการประเมินว่าเอกสารนั้นเป็นของจริงหรือไม่ ในส่วนวิพากษ์วิธีภายนอกเพื่อประเมินหลักฐานว่าเป็นของแท้ พิจารณาได้จากสิ่งที่ปรากฏภายนอก เช่น เนื้อกระดาษ กระดาษของไทยแต่เดิมจะหยาบและหนา ส่วนกระดาษฝรั่งดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เริ่มเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทางราชการจะใช้กระดาษฝรั่งหรือสมุดฝรั่งมากขึ้นในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับตัวพิมพ์ดีดเริ่มใช้มากขึ้นในกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวใช้ตัวพิมพ์ดีด ก็ควรสงสัยว่าหลักฐานนั้นเป็นของปลอม

2) การประเมินคุณค่าภายในหรือวิพากษ์วิธีภายใน เป็นการประเมินคุณค่าของหลักฐานจากข้อมูลภายในหลักฐานนั้น เป็นต้นว่า มีชื่อบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ ในช่วงเวลาที่หลักฐานนั้นทำขึ้นหรือไม่ ดังเช่น หลักฐานซึ่งเชื่อว่าเป็นของสมัยสุโขทัยแต่มีการพูดถึงสหรัฐอเมริกาในหลักฐาน นั้น ก็ควรสงสัยว่าหลักฐานนั้นเป็นของสมัยสุโขทัยจริงหรือไม่ เพราะในสมัยสุโขทัยยังไม่มีประเทศสหัฐอเมริกา แต่น่าจะเป็นหลักฐานที่ทำขึ้นเมื่อคนไทยได้รับรู้ว่ามีประเทศสหรัฐอเมริกา แล้ว หรือหลักฐานเป็นของเก่าสมัยสุโขทัยจริง แต่การคัดลอกต่อกันมามีการเติมชื่อประเทศสหัฐอเมริกา เข้าไป เป็นต้น

วิพากษ์วิธีภายในยังสังเกตได้จากการกล่าวถึงตัวบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ถ้อยคำ เป็นต้น ในหลักฐษนว่ามีความถูกต้องในสมัยนั้นๆ หรือไม่ ถ้าหากไม่ถูกต้องก็ควรสงสัยว่าเป็นหลักฐานปลอมแปลง หลักฐานที่แท้จริงเท่านั้นที่มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ ส่วนหลักฐานปลอมแปลงไม่มีคุณค่าใดๆ อีกทั้งจะทำให้เกิดความรู้ที่ไม่ถูกด้วย ดังนั้น การประเมินคุณค่าของหลักฐานจึงมีความสำคัญและจำเป็นมาก

4.การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล

เมื่อทราบว่าหลักฐานนั้นเป็นของแท้ ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงหรือความจริงในประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะต้องศึกษาข้อมูลหรือข้อสนเทศในหลักฐานนั้นว่าให้ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์อะไรบ้าง ข้อมูลนั้นมีความสมบูรณ์เพียงใด หรือข้อมูลนั้นมีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นอย่างไร มีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่ ข้อมูลมีความยุติธรรมหรือไม่ จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหลายมาจัดหมวดหมู่ เช่น ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ความเป็นไปของเหตุการณ์ ผลของเหตุการณ์ เป็นต้น

เมื่อได้ข้อมูลเป็นเรื่อง เป็นประเด็นแล้ว ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เรื่องนั้นก็จะต้องหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ และตีความข้อมูลว่ามีข้อเท็จจริงใดที่ซ่อนเร้น อำพราง ไม่กล่าวถึงหรือในทางตรงกันข้ามอาจมีข้อมูลกล่าวเกินความเป็นจริงไปมาก

ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ควรมีความละเอียดรอบคอบ วางตัวเป็นกลาง มีจินตนกาาร มีความรอบรู้ โดยศึกษาข้อมูลทั้งหลายอย่างกว้างขวาง และนำผลการศึกษาเรื่องนั้นที่มีแต่เดมมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ รวมทั้งจัดหมวดหมู่ข้อมูลให้เป็นระบบ

5.การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ

การเรียบเรียงหรือการนำเสนอจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องนำข้อมูลทั้งหมดมารวบรวมและเรียบเรียงหรือนำ เสนอให้ตรงกับประเด็นหรือหัวเรื่องที่ตนเองสงสัย ต้องการอยากรู้เพิ่มเติม ทั้งจากความรู้เดิมและความรู้ใหม่ รวมไปถึงความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการรื้อฟื้นหรือจำลองเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ อย่างถูกต้องและเป็นกลาง

ในขั้นตอนการนำเสนอ ผู้ศึกษาควรอธิบายเหตุการณ์อย่างมีระบบและมีความสอดคล้องต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผล มีการโต้แย้งหรือสนับสนุนผลการศึกษาวิเคราะห์แต่เดิม โดยมีข้อมูลสนับสนุนอย่างมีน้ำหนัก เป็นกลาง และสรุปการศึกษาว่าสามารถให้คำตอบที่ผู้ศึกษามีความสงสัย อยากรู้ได้เพียงใด หรือมีข้อเสนอแนะให้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อไปอย่างไรบ้าง

จะเห็นได้ว่าวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมี ระบบ มีความระมัดระวัง รอบคอบ มีเหตุผลและเป็นกลาง ซื่อสัตย์ต่อข้อมูลตามหลักฐานที่ค้นคว้ามา อาจกล่าวได้ว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์เหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จะแตกต่างกันก็เพียงวิธีการทางวิทยาศาสตร์สามารถทดลองได้หลายครั้ง จนเกิดความแน่ใจในผลการทดลอง แต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้อีก ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีจึงเป็นผู้ฟื้นอดีตหรือจำลองอดีตให้มีความถูก ต้องและสมบูรณ์ที่สุด โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อที่จะได้เกิดความเข้าใจอดีต อันจะนำมาสู่ความเข้าใจในปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรธนบุรี

9 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรธนบุรี
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของไทยสมัยธนบุรี
1. สภาพสังคม
ชีวิตความเป็นอยู่ถือได้ว่ามีการควบคุมกันอย่างเข้มงวดเพราะบ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลานอกจากนี้ยังมีการเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนีการเกณฑ์แรงาน
2. การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
รัชสมัยของพระเจ้าตากแม้จะไม่ยาวนานนักแต่ก็ยังได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอันมากที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ด้านศาสนา พระเจ้าตากทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนาอย่างมั่นคงทรงให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของสงฆ์ทั้งหมดรูปใดที่ประพฤติไม่ดีให้ศึกออกไปพระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างอุโบสถ และทรงคัดลอกพระไตรปิฎกที่นำมาจากวัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี 2312
2.2 ด้านศิลปวัฒนธรรม พระเจ้าตากทรงมีภารกิจมากมายโดยเฉพาะการสร้างบ้านเมืองการป้องกันประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงทำให้ผลงานในด้านนี้จึงไม่เด่นชัด สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ บรรดาช่างฝีมือและช่างศิลป์ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก ช่างที่มีอยู่ก็เป็นช่างฝึกหัดไม่อาจเทียบเท่าช่างในอยุธยาได้ ผลงานที่มีคือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรราม) และด้านก่อสร้างได้แก่ การสร้างพระราชวังป้อมปราการ เชิงเทิน ขาดความสวยงาม ส่วนทางด้าน วรรณกรรมมีผลงานสำคัญคือ รามเกียรติ์ เป็นต้น
2.3 ด้านนาฏศิลป์ มีการฟื้นฟูและเล่นฉลองในงานพิธีสำคัญตามแบบประเพณีสมัยอยุธยาดังเห็นได้จากพิธีสมโภชพระแก้วมรกตและพระบางซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญมาจากเวียงจันทร์เพื่อประดิษฐานที่กรุงธนบุรีซึ่งในครั้นนั้นมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ใช้เวลา 7 วันมีการประชันการแสดงละคร การแสดงโขน การเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นบทดอกสร้อยสัดวาฯ
2.4 ด้านการศึกษา ในสมัยธนบุรียังคงอยู่ที่วัดเหมือนเมื่อสมัยอยุธยานั้นคือการเรียนที่วัดมีพระสอนหนังสือและยังคงใช้แบบเรียนจินดามณีซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องวิธีแต่งกาพย์กลอน ศึกษาศัพท์เขมร บาลีสันสฤตด้วยเพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกนั้นก็เป็นวิชาเลขซึ่งนำใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับวิชาชีพพ่อแม่มีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นให้แก่ลูกหลาน เช่น วิชาแพทย์โบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปั้นปูน ช่างเหล็กฯ ส่วนเด็กหญิงถือตามประเพณีโบราณคือ การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว และการฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือจึงมีน้อยคนนักที่อ่านออกเขียนได้
การเมืองการปกครองและพัฒนาการด้านต่าง ๆ สมัยกรุงธนบุรี
ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการตีฝ่าวงล้อมพม่าเดินมุ่งหน้าไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก และได้รวมผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้ตั้งเป็นชุมนุมโดยยึดเมืองจันทบุรีเป็นฐานทัพ ให้ต่อเรือเตรียมไว้ จนกระทั่งเมื่อสิ้นฤดูมรสุม สมเด็จพระเจ้าตา (สิน) จึงเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้นที่อยุธยา และสามารถยึดค่ายนี้ได้ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถยึดธนบุรี และกรุงศรีอยุธยา คืนจากพม่าได้ ทำให้พระองค์มีความชอบธรรมในการสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ จึงได้ทรงสถาปนาธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีในปีเดียวกัน

การสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกสารของชาติได้แล้ว ปัญหาสำคัญของไทยในขณะนั้นคือ การป้องกันตนเองให้พ้นจากการโจมตีโดยพม่า และหาอาหารให้พอเลี้ยงผู้คนที่มีชีวิตรอดจากสงคราม แต่สภาพอยุธยาอยุธยาขณะนั้นไม่อาจบูรณะฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วด้วยกำลังคนเพียงเล็กน้อย อีกทั้งพม่าได้รู้ลู่ทางและจุดอ่อนของอยุธยาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นพระองค์จำเป็นที่จะต้องหาชัยภูมิที่เหมาะ ในการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือ กรุงที่ได้รับพระราชทานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร”
กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองบางกอกเดิมซึ่งในสมัยอยุธยา เมืองบางกอกมีฐานะเป็น “เมืองท่าหน้าด่าน” คือ เป็นที่จอดเรือสินค้า และเป็นเมืองหน้าด่านทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกษาที่ยกทัพเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยารวมทั้งตรวจตราเก็บภาษีเรือและสินค้าที่ขึ้นล่องตามลำน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บางกอกจึงมีป้อมปราการ และ มีด่านภาษีเป็นด่านใหญ่ที่เรียกว่า ขนอนบางกอก เมืองบางกอกจึงมีชุมชนชาวต่างชาติ เช่น ชุมชนชาว จีน อินเดียมุสลิม ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายและเป็นทางผ่านของนักเดินทาง เช่น นักการทูต พ่อค้า นักการทหาร และนักบวชที่เผยแผ่ศาสนา รวมทั้งนักเผชิญโชคที่ต้องการเดินทางไปยังอยุธยา
ดังนั้นโดยพื้นฐานที่ตั้งของธนบุรีจึงอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ของปากน้ำเจ้าพระยาและเป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจมาก่อนตลอดจนเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย เพราะมีทั้งป้องปราการและแม่น้ำลำคลองที่ป้องกันไม่ให้ข้าศึกษาโจมตีได้โดยง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ โดยสร้างพระราชวังชิดกับกำแพงเมืองทางใต้ มีอาณาเขตตั้งแต่ป้องวิชัยประสิทธิ์และวัดท้ายตลาดมาจนถึงวัดแจ้ง วัดทั้งสองจึงเป็นวัดในเขตพระราชฐาน สำหรับวัดแจ้งนั้นมีฐานะเป็นพระอารามหลวง
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
แผนภูมิแสดงการทำสงคราม
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองให้มีความเป็นปึกแผ่น โดยชักชวนให้ผู้คนที่หลบหนีสงครามกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ให้กลับมาตั้งบ้านเรืองใหม่ พร้อมทั้งฟื้นฟูระบบระเบียบในการบริหารราชการแผ่นดินตามแบบสมัยอยุธยา

การปกครองหัวเมืองในสมัยธนบุรี
ยศของผู้ปกครองเมือง
- การปกครองหัวเมืองชั้นใน
- การปกครองหัวเมืองชั้นนอก
- การปกครองเมืองประเทศราช
ผู้รั้งเมือง
เจ้าพระยา
ผู้ครองนคร
พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
ในตอนต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาวะทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนักทั้งนี้เพราะราษฎรมิได้ทำนาในระหว่างการศึกสงครามแม้ว่าภายหลังจากที่พระองค์กู้เอกราชได้แล้ว การทำนาก็ยังไม่ได้ผล เพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ในการขจัดปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ ทรงรับซื้อข้าวจากพ่อค้าจากเรือสำเภา

พัฒนาการด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติ
ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำ คนไทยร่วมแรงร่วมใจสร้างความเป็นเอกภาพให้กับบ้านเมืองอยู่นั้น คนไทยยังมีความกังวลที่จะรักษาชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย ดังนั้นความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยธนบุรี จึงมีลักษณะการทำสงครามตลอดสมัย ทั้งสงครามป้องกันอาณาจักรและขยายอาณาเขต ตลอดจนความสัมพันธ์ทางด
สังคมสมัยธนบุรีคล้ายกับสังคมอยุธยา คือ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยกลุ่มคน คือ
กลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนาง
กลุ่มชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาส
กลุ่มชนชั้นพิเศษ ได้แก่ นักบวช เช่น พระสงฆ์ และพราหมณ์

การตีความหลักฐาน

04 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ การพยายามเข้าใจความหมายของข้อสนเทศที่ปรากฎอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งความหมายของข้อสนเทศที่ปรากฎอยู่ในหลักฐานนั้นจะมีอยู่ 2 ระดับด้วยกัน คือ

1 ความหมายตามตัวอักษรหรือความหมายตามรูปภายนอก ผู้ศึกษาต้องแน่ใจว่าหลักฐานที่ตนใช้นั้นมีความหมายตรงไปตรงมาว่าอย่างไร ดังตัวอย่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ประติมากรรมที่ค้นพบในประเทศไทย ผู้ศึกษาจะต้องรู้ว่าเป็นรูปของพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนา หรือเป็นรูปของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

2 ความหมายที่แท้จริง หลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังมีความหมายอื่น ซึ่งเป็นความหมายตามเจตนารมณ์ของผู้สร้างหลักฐานแฝงอยู่ด้วย ดังเช่น จารึกที่เป็นการบันทึกการทำบุญของกษัตริย์ นอกจากจะมีเจตนารมณ์ที่จะบรรยายการทำบุญสร้างวัดใดวัดหนึ่งของกษัตริย์แล้ว อาจจะยังมีเจตนารมณ์ที่จะประกาศบุญญาอภินิหารของผู้สร้างที่ไม่มีผู้ใดเทียบเทียมได้ หรือว่าเทวรูปที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูนั้น อาจไม่ได้เป็นเพียงรูปเคารพในศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นภาพจำลองของกษัตริย์ที่ลวงลับไปแล้วเป็นต้น