อ่านข่าว

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รัสเซีย


พระราชวังเครมลิน
พระราชวังเครมลิน ตั้งอยู่ที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย สร้างอยู่บนเนินเขาริมฝั่งแม่น้ำมอสควา ภายในมีพระราชวัง หอคอย และป้อมปราการ ซึ่งในอดีต เป็นที่ประทับของพระเจ้าซาร์กษัตริย์แห่งราชวงศ์รัสเซีย แต่ได้ถูกปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์ และได้ใช้เป็นที่ทำการรัฐบาลเครมลิน เป็นชื่อ ของนักการเมือง พอระบบสังคมนิยม ล่มสลายเป็นประชาธิปไตย ก็ได้เปิดให้เป็น แหล่งท่องเที่ยว จนถึงปัจจุบันสถาปัตยกรรมของกรุงมอสโกนั้น พระราชวังเครมลินถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีเลิศที่สุดในยุโรปยุคกลาง คำว่า "เครมลิน" มีความหมายว่า ป้อมปราการ มีความยาวล้อมรอบ 2,235 เมตร มีหอคอย 18 แห่ง (เพื่อป้องกันการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน) โดยมีการปรับปรุงต่อเติมมาเรื่อยๆ เริ่มจากใช้อิฐสีขาวเป็นรอบรั้วกั้นกำแพงแต่ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาเป็นอิฐสีแดง ซึ่งความสูงของหอคอยแตกต่างกันระหว่าง 28-71 เมตร เช่นภายในพระราชวัง แห่งนี้ประกอบด้วยปราสาท โบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์ คลังแสง อาวุธยุทธภัณฑ์ หอคอย ป้อมปราการ หอสูง ยอดแหลม และโดมมากมาย มีกำแพงสูง 65 ฟุตรอบพระราชวัง มีความยาวเกือบ 3 กิโลเมตร พระราชวังจักรพรรดิอยู่ตรงกลาง หอคอยอิวานเวลิกี้สูง 270 ฟุต เป็นที่แขวนระฆัง ของพระเจ้าโบริสดูนอฟ ผู้อยู่บนหอคอย จะสามารถมองเห็นทัศนียภาพ กรุงมอสโก ที่สวยงาม ได้อย่างชัดเจน บรรดาหอคอย หอสูง โดม ป้อมปราการเหล่านี้ เมื่อแสงพระอาทิตย์สาดมาต้อง จะเห็นเป็นสีทอง เปล่งปลั่ง สุกอร่าม งามตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก ประตูสำคัญ คือประตูโปรดชำระบาป ซึ่งพระเจ้าซาร์อะเล็กซิส โปรดให้สร้างเมื่อปีค.ศ. 1491 โปรดให้ติดโคมใหญ่ไว้บนยอดดวงหนึ่งประตูนี้เคยมีพระบรมราชโองการรับสั่งให้ผู้ผ่านเข้าออกต้องถอดหมวก แสดงความเคารพ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกจับประหารชีวิต ถัดไปไม่ไกลมีมหาวิหารอัครเทวทูตซึ่งมีที่ตกแต่งไว้อย่างงดงาม เพื่อใช้เป็นสุสานฝังพระศพของพระเจ้าซาร์ทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังมีโบสถ์อัสสัมชัญซึ่งสร้างไว้อย่างประณีตบรรจงเป็นพิเศษ
มหาวิหารเซนต์บาซิล
เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้น ในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียนแห่งอาณาจักรโรมันและสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิติตัส
ในคริสตศตวรรษที่ 1หรือประมาณปี ค.ศ.80อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทราย วัดโดยรอบได้ประมาณ 527เมตร สูง 57เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000คนมีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรีเพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬาและมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน ในบางครั้งจะมีการเรียกชื่อ โคลิเซียม (Coliseum โดยในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
มหาวิหารเซนต์บาซิล (St. Basil’s Cathedral) คืออีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของกรุงมอสโก ด้วยรูปทรงที่มีลักษณะเป็นโดมรูปหัวหอม สีสันสดใส ตั้ง ตระหง่านสง่างาม ขนาบข้างด้วยกำแพงเครมลิน ดึงดูดให้คนจำนวนไม่น้อยที่เดินทางสู่จัตุรัสแดงแล้วจะต้องถ่ายรูปเป็นที่ ระลึกคู่กับมหาวิหารแห่งนี้ พร้อมกับการเรียนรู้ความเป็นมาอันยาวนานของสถานที่สำคัญนี้ควบคู่กันไป
มหาวิหารเซนต์บาซิลสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอีวานที่ 4 (Ivan the Terrible) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในการรบชนะเหนือกองทัพของมองโกลที่เมืองคาซาน (Kazan) ในปี พ.ศ. 2095 หลังจากถูกปกครองกดขี่มานานหลายร้อยปี ออกแบบโดยสถาปนิก ปอสนิก ยาคอฟเลฟ (Postnik Yakovlev) และด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมจึงทำให้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า พระเจ้าอีวานที่ 4 ทรงพอพระทัยในความงดงามของมหาวิหารแห่งนี้มาก จึงมีคำสั่งให้ปูนบำเหน็จแก่สถาปนิก ผู้ออกแบบด้วยการควักดวงตาทั้งสอง เพื่อไม่ให้สถาปนิกผู้นั้นสามารถสร้างสิ่งที่สวยงามกว่านี้ได้อีก การกระทำในครั้งนั้นของพระเจ้าอีวานที่ 4 จึงเป็นที่มาของสมญานาม Ivan The Terrible หรืออีวานมหาโหด นั่นเอง
สิ่งที่ควรชม
-โดมรูปหัวหอม ที่มีหลากหลายสีสันสดใสสวยงามมีหลายขนาด เป็นโดม 9 แห่งที่รวมอยู่ด้วยกันได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน เป็นรูปแบบศิลปะจากจินตนาการจากเทพนิยายซึ่งเป้นพระบรรชาของพระผู้เป็นเจ้า หรือแรงบรรดาลใจจากเทพเจ้าบนสวรรค์
-ภาพรูปเคารพในโบสถ์กลาง (Main Iconostasis) เป็นภาพพระเยซูและสาวกคนสำคัญ และมีรวดลายฝังหินขัดเรียบที่มีสีสันสวยงามวิจิตรบรรจงมาก เป็นผลงานชิ้นเอกในสไตล์บารอก อายุราว 200 ปี บางภาพก็มากกว่านั้น
-อนุสาวรีย์ คอสมา มินิน และ ดมิทริ โปซาร์สกี้ (Kuzma Minin and Dmitry Pozharsky) หล่อด้วยทองสำริดโดย Ivan Martos ทั้ง 2 คนเป็นผู้นำกองกำลังอาสาสมัครต่อสู้ผู้รุกรานชาวโปล (Ploes) ออกจากเขตเครมลินในปี พ.ศ. 2361 หลังจากได้รับชัยชนะจากสงครามนโปเลียน (พ.ศ. 2348 เกิดสงครามกับฝรั่งเศส รัสเซียมีชัยชนะในการรบที่ออสเตอร์ลิสส์ (Austerlitz) พ.ศ. 2355 นโปเลียนบุกเข้ามอสโก แต่ตีไม่สำเร็จจึงต้องล่าถอยออกไป)บริเวณใกล้กันกับมหาวิหารเซนต์บาซิล เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานเลนินหรือสุสานเลนิน ซึ่งยังคงเก็บรักษาร่างของวลาดิเมียร์ เลนิน ผู้นำคนสำคัญของคอมมิวนิสต์ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปเคารพศพได้ แรกเริ่ม ตั้งอยู่ตรงกลางจตุรัสแดง หันหน้าเข้าหาว้งเครมลิน ต่อมาในยุคคอมมิวนิสต์โซเวียตได้มีการย้ายมาอยู่ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์บาซิล เปิดตั้งแต่ 11.00-19.00 น. วันพุธและวันพฤหัสบดี เปิดถึง 18.00 น. ปิดทุกวันศุกร์
"จัตุรัสแดง" (Red Square)
"จัตุรัสแดง" (Red Square) ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของกรุงมอสโก ตั้งอยู่กลางใจเมืองของมอสโก ประเทศรัสเซีย ทางด้านหน้าจัตุรัสแดงนั้น เป็นที่ตั้งของกิโลเมตรที่ศูนย์ของรัสเซีย สังเกตุได้จากที่พื้นถนนจะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลม และภายในวงกลมนี้เองก็จะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปยืนกลางวงกลมนั้นและโยนเศษเหรียญข้ามไหล่ตัวเองไปด้านหลังเพื่ออธิษฐานให้ได้กลับมาที่มอสโกอีกครั้ง ชื่อของจัตุรัสแดงอาจจะฟังดูแล้วนึกถึงการนองเลือด แต่จริงๆ แล้วคำว่าจัตุรัสแดงนั้นก็หมายถึงความสวยงาม ความดีงามเท่านั้นลานกว้างของจัตุรัสแดงนี้มีพื้นที่กว้าง 695 เมตร ยาว 130 เมตร ทำหน้าที่เป็นสถานที่จัดงานสำคัญๆ ต่างๆ ของรัสเซียมาหลายยุคหลายสมัย คล้ายๆ กับสนามหลวงของไทย ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่างๆ ของประเทศ เช่น การสวนสนามแสดงแสนยานุภาพของกองทัพรัสเซียในโอกาสต่างๆ รวมไปถึงการชุมนุมเรียกร้องเดินขบวนของประชาชนด้วยเช่นกัน บริเวณจัตุรัสแดงยังประกอบไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ รายรอบอีกมากมาย เช่น พระราชวังเครมลิน พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์รัสเซีย และห้างสรรพสินค้า GUM (ห้างกุม)
มหาวิหารเซ็นต์ซาเวียร์ หรือ มหาวิหารโดมทอง
มหาวิหารเซ็นต์ซาเวียร์ หรือ มหาวิหารโดมทอง (St. Saviour Cathedral) ตั้งอยู่ที่เมืองมอสโก ประเทศรัสเซีย เป็นมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย ที่ได้ถูกบูรณะขึ้นมาใหม่เนื่องในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 850 ปี แห่งการสถาปนากรุงมอสโก สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้า Alexander ที่ 1 เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือกองทัพของ นโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ในสมัยของสตาลิน เคยสั่งให้ทุบทำลายสถานที่แห่งนี้ จนกระทั่งในสมัยประธานาธิบดีบอริส เยลซิน จึงได้มีการบูรณะขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเงินบริจาคและพลังความศรัทธาของผู้คน มหาวิหารโดมทองแห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่หลักในการประกอบพิธีกรรมทางคริสตศาสนาของประเทศรัสเซีย
ห้างสรรพสินค้ากุม (GUM)
ห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงมอสโก แต่มีชื่อเสียงในเรื่องของสินค้าอันมีให้เลือกซื้อกัน อย่างหลากหลายชนิด ห้างสรรพสินค้ากุม หรืออีกสถนที่หนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ของเมืองนี้ ห้างสรรพสินค้ากุม ก่อสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1895 มีความสวยงามและโดดเด่นมากลักษณะชองตัวอาคารเป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีร้านค้าเปิดให้ บริการมากมายสำหรับให้ผู้ที่เดินทางหรือผู้ที่ชอบการช้อปปิ้งถึง 200 ร้านค้าด้วยกัน แต่สินค้าที่นี่อาจจะมีทั้งรูปลักษณ์ ภายในและภายนอกที่ดูหรูหราโอ่อ่า และที่สำคัญตั้งอยู่บริเวณลานกว้างในย่านจตุรัสแดงห้างสรรพสินค้ากูม มีการจำหน่ายสินค้าประเภทอุปโภคและบริโภคเช่น เสื้อผ้า ของใช้ในครัวเรือน สินค้าที่มีชื่อมียี่ห้อ เครื่องสำอางค์ น้ำหอม และสินค้าที่เป็นประเภทของที่ระลึก ซึ่งมีให้เลือกกันอย่างหลากหลายทีเดียว
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ( State Museum History )
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ( State Museum History ) ตั้งอยู่ในย่านจตุรัสแดง เมืองมอสโก ประเทศรัสเซีย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เก็บรวบรวมเอกสารที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ลักษณะของอาคารนั้นมีลักษณะเป็นตึกสีแดง หลังคาเป็นแบบสังกะสี และมีสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์และมีความเก่าแก่มาก ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยห้องต่างๆ จำนวน 21 ห้อง สร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช มีการเก็บรวบรวมพระราชสมบัติมากกว่า 45 ล้านชิ้นและเอกสารกว่า 15 ล้านชิ้น รวมทั้งสมุดที่ใช้ในการร่างเอกสารต่างๆ อัญมณีที่ล้ำค่าและเก่าแก่ และชุดไม้เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อาวุธที่ใช้ในการทำศึกสงครามของรัสฌซียแผนที่ รวมทั้งพระคำ ภีร์ที่สำคัญ ฯลฯ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ใช้ระยะเวลาในการตกแต่ง ปรับปรุงและซ่อมแซมเป็นเวลานานหลายปี เนื่องจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสถานที่ที่เก่าแก่จึงเป็นเหตุให้การตกแต่ง หรือการปรับปรุงและทำการซ่อมแซมเป็นไปได้ยากและใช้ระยะเวลานานพอสมควร
พระราชวังฤดูร้อนปีโตรเดอร์วาเรส
พระราชวังฤดูร้อนปีโตรเดอร์วาเรส เป็นพระราชวังที่สวยงามไม่เหมือนใคร ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย พระราชวังฤดูร้อนเปโตรควาเรสต์ (ปีเตอร์ฮอฟ) ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งทะเลบอลติก เป็น พระราชวังของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ตัวอาคารพระราชวังสวยงามมาก นอกจากนี้ยังมีน้ำพุมากกว่า 100 แห่ง การเข้าชมพระราชวังจะต้องนำถุงเท้าที่จัดเตรียมไว้ให้ สวมคลุมรองเท้าอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นของพระราชวังเสียหาย พระราชวังฤดูร้อนปีโตรเดอร์วาเรส เป็นที่หนึ่งของความใหญ่โตที่สุดในรัสเซีย 
พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิเทจและพระราชวังฤดูหนาว
พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิเทจและพระราชวังฤดูหนาว ตั้งอยูที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ท่านจะได้ชม “พระราชวังฤดูหนาว” จะได้พบกับความยิ่งใหญ่อลังการ มีลานกว้าง และ “เสาอเล็กซานเดอร์” ที่สร้างถวายพระเกียรติแด่กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ที่พระองค์ทรงชนะ สงครามเหนือนโปเลียนของฝรั่งเศส กล่าวได้ว่า พิพิธภัณฑ์นี้ยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ของฝรั่งเศสเลยทีเดียวพระราชวังฤดูหนาวจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์เฮอมิเทจ มีการแสดงผลงานศิลปะที่โด่งดังจากทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านชิ้น ตั้งแต่ยุคอียิปต์
วิหารเซ็นไอแซค (St. Isaac's Cathedral)
วิหารเซ็นไอแซค (St. Isaac's Cathedral) เป็นมหาวิหารที่ตั้งอยู่ที่เมืองเซ็นปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย เริ่ม ก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1818 แล้วเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1858 เป็นหนึ่งในมหาวิหารที่สวยที่สุดของรัสเซีย สร้างในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Auguste de Montferrand ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 40 ปี ประกอบด้วยเสาหินแกรนิต 48 ต้น น้ำหนักต้นละ 114 ตัน ถายในประดับประดาด้วยปฏิมากรรมบอร์น และภาพวาดกว่า 400 ชิ้น โดมทองอันสง่างามที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองด้วยขนาดมหึมาที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 25.8 เมตรซึ่งเป็นอันดับที่ 4 ของโลกรองจากมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม มหาวิหารเซนต์ปอลที่ลอนดอน และมหาวิหาร "สตา เดล ฟีออเร" ที่ฟลอเรนซ์ประวัติของมหาวิหารเซนต์ไอแซคมีมายาวนานเกือบกว่าสาม
อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Bronze Horseman)
อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Bronze Horseman) เป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกของนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งติดกับแม่น้ำเนวา ด้านหน้าของโบสถ์เซ็นไอแซค ใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ก่อสร้างเป็นอนุสาวรีย์ของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ผู้เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้ขนานนามว่า มหาราช ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Entienne Maurice Falconet ตามพระบัญชาของพระนางแคทเธอรีนมหาราช ภายหลังจากการขยายดินแดนของประเทศไปจรดทะเลดำสำเร็จตามพระประสงค์ของพระเจ้า ปีเตอร์มหาราช โดยมีการสลักพระนามไว้ที่ฐานของหินแกรนิตด้วยที่อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งนี้ยังเป็นจุดชมทัศนียภาพของเมือง เช่น วิวของแม่น้ำเนวา ด้านหน้าของโบสถ์เซ็นต์ไอแซค ตึกบัญชาการกองทัพเรือ และอาคารเถระสมาคม อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งนี้เปิดให้ชมฟรีทุกวัน

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีได้สิ้นสุดลง เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีสติที่ฟั่นเฟือนไปจากเดิม ทำให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกหรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ทรงสร้างราชธานีใหม่ขึ้นอีกที่หนึ่งด้วย อีกทั้ง ยังทรงก่อตั้งราชวงศ์จักรีขึ้นมาให้เป็นราชวงศ์ใหม่ ที่มีการปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในระยะแรก แต่เมื่อล่วงเลยไปถึงปี พ.ศ. 2475 ระบบการปกครองก็ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยยาวนานมากกว่า 80 ปี สามารถสรุปลำดับของพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองในราชวงศ์จักรีได้ทั้งสิ้น  9  พระองค์    ดังต่อไปนี้

รัชกาลที่ 1  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นครองราชย์วันที่ 6  เมษายน พ.ศ. 2325 ถึง วันที่ 6 กันยายน   พ.ศ. 2352
รัชกาลที่ 2  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขึ้นครองราชย์วันที่  7  กันยายน  พ.ศ. 2352 ถึงวันที่  21 กรกฎาคม  พ.ศ. 2367
รัชกาลที่ 3  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์วันที่  21  กรกฎาคม  พ.ศ. 2367 ถึงวันที่ 2  เมษายน  พ.ศ. 2394
รัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์  วันที่ 2 เมษายน  พ.ศ. 2394 ถึงวันที่ 1  ตุลาคม  พ.ศ. 2411
รัชกาลที่ 5  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระปิยะมหาราช ขึ้นครองราชย์วันที่  1  ตุลาคม  พ.ศ. 2411 ถึงวันที่ 23 ตุลาคม  พ.ศ. 2453
รัชกาลที่ 6  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระมหาธีรราชเจ้า ขึ้นครองราชย์วันที่  23  ตุลาคม  2453 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.  2468
รัชกาลที่ 7  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์วันที่  26  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2468 ถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477
รัชกาลที่ 8  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์วันที่  2  มีนาคม พ.ศ. 2477 ถึงวันที่  9  มิถุนายน  พ.ศ. 2489
รัชกาลที่ 9   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ขึ้นครองราชย์วันที่  9   มิถุนายน  พ.ศ.  2489 จวบจนถึงปัจจุบัน
ราชธานีของไทยแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นต่อจากกรุงธนบุรีนั้น มีชื่อว่า “กรุงรัตนโกสิรทร์” หรือ “กรุงเทพมหานคร” ซึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์” มีความหมายว่า พระนครแห่งนี้มีพื้นที่อันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต และเป็นพระมหานครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะได้ มีความงามอันแสนมั่นคงและเจริญยิ่ง อีกทั้งยังเป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก นครแห่งนี้เต็มไปด้วยพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย ซึ่งเป็นวิมานของเหล่าเทพผู้อวตารลงมา อันมีท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษนุกรรมลงมาเนรมิตไว้ให้ กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับกรุงธนบุรีที่เป็นราชธานีเดิม โดยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์จักรี ก็คือ “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครแห่งใหม่นี้ขึ้นด้วย โดยรับสั่งให้พิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครแห่งใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ทรงลงมือกำจัดจลาจลที่เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดกรุงธนบุรีสำเร็จแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา และได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรกแห่งราชวงศ์จักรีด้วย  โดยทรงพระนามให้ตนเองว่า “ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของราชวงศ์อันยิ่งใหญ่ที่ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากแต่งตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นมาแล้ว ในปี พ.ศ.  2325 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงย้ายราชธานีจากที่เคยตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี มาเป็นฝั่งกรุงเทพฯที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  โดยให้เหตุผลในการย้ายราชธานีดังต่อไปนี้

พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีมีความคับแคบอีกทั้งยังมีวัดขนาบข้างทั้งสอง อันได้แก่ วัดท้ายตลาดหรือวัดโมลีโลกยาราม และวัดอรุณราชวราราม ทำให้ยากต่อการขยับขยายเมือง
ทรงไม่ต้องการให้ราชธานีถูกแม่น้ำเจ้าพระยาแบ่งกั้นออกเป็น 2  ส่วน
พื้นที่ในแถบตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ราบลุ่มซึ่งเหมาะต่อการขยายอาณาเขตของเมืองออกไปได้อย่างกว้างขวางมากกว่า
พื้นที่ในฝั่งธนบุรีมีลักษณะเป็นท้องคุ้ง ซึ่งทำให้น้ำกัดเซาะตลิ่งและพังทลายลงได้ง่าย
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 4 ข้อ จึงทำให้สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตัดสินใจสร้างพระบรมมหาราชวังในที่แห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  และโปรดให้สร้างวัดขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง พร้อมอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานคู่บ้านคู่เมืองด้วย  ซึ่งในปัจจุบันก็คือ วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว นั่นเอง

สภาพภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์
ภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในบริเวณแหลมที่ยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก และมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้ขุดคูพระนครขึ้นตั้งแต่บริเวณบางลำภูไปจนถึงวัดเลียบ ซึ่งมีผลให้กรุงรัตนโกสินทร์มีสภาพคล้ายกับเกาะสองชั้น ในขณะเดียวกัน ก็โปรดให้มีการสร้างพระบรมมหาราชวังแบบง่ายๆขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วย ส่วนกำแพงของพระนครนั้นก็สร้างจากอิฐของกรุงศรีอยุธยา
และเนื่องจากกรุงรัตนโกสินทร์ มีชัยภูมิในการป้องกันข้าศึกชั้นเยี่ยม ทั้งมีแม่น้ำเจ้าพระยาขวางกั้นทางด้านตะวันตก และมีกรุงธนบุรีที่ดัดแปลงเป็นค่ายคอยต้านข้าศึกเอาไว้ ทำให้พม่าไม่สามารถยกทัพมาบุกกรุงรัตนโกสินทร์ได้เลยสักครั้ง

กรุงรัตนโกสินทร์สร้างแล้วเสร็จอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 2327 และมีการเลียนแบบองค์ประกอบของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น วัดสุทัศน์ที่เลียนมาจากวัดพนัญเชิญ ดังจะเห็นว่ามีพระบรมมหาราชวังอยู่ริมน้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรุงรัตนโกสินทร์ยังคงถูกก่อสร้างต่อมาเรื่อยๆ จนเสร็จสมบูรณ์หมดจริงๆในช่วงรัชกาลที่ 3 และช่วงเวลาถัดจากนี้ไปจะเป็นช่วงแห่งการขยับขยายเมืองเสียมากกว่า

ในรัชกาลที่ 4 ทรงริเริ่มขยายพระนครไปทางทิศตะวันออก โดยการขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้น พร้อมมีการสร้างป้อมแต่ไม่มีกำแพงขึ้นมาด้วย นอกจากนี้ ยังรับสั่งให้มีการตัดถนนเจริญกรุงและพระรามสี่ ทำให้เป็นการกระจายความเจริญออกไปพร้อมๆกับถนน ส่วนในรัชกาลที่ 5 มีการขยายความเจริญตามถนนราชดำเนินไปทางทิศเหนือ พร้อมทั้งมีการก่อสร้างพระราชวังดุสิตขึ้นมา ไม่เพียงเท่านั้น ยังโปรดให้รื้อกำแพงเมืองต่างๆออก เพราะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีการศึกแล้ว
ความเจริญถูกแพร่กระจายออกไปพร้อมกับวังเจ้านายที่ปลูกสร้างขึ้นไว้นอกพระนคร ทำให้พื้นที่ที่เคยเป็นทุ่งนากลายสภาพมาเป็นเมืองในที่สุด และในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ได้เพิ่มความเจริญขึ้นมาอีก โดยมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก ที่ชื่อว่า ‘สะพานพระรามหก’ ขึ้นมา ส่วนในรัชกาลที่ 7 ก็โปรดให้มีการสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือ สะพานพุทธ ขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยงระหว่างฝั่งกรุงธนบุรีกับฝั่งพระนครนั่นเอง และหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พระนครก็ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นการรวมจังหวัดต่างๆเข้าเป็น ‘กรุงเทพมหานคร’ เมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบันนั่นเอง

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  จะหมายถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 1  ถึง  รัชกาลที่  3  ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์ยุคเก่าและประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ที่มีการพัฒนาประเทศไป ตามอารยธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก หากกล่าวถึงความรุ่งเรืองในด้านต่างๆในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สามารถแบ่งได้มีดังนี้
การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ จะไม่เปลี่ยนแปลงจากสมัยอยุธยาเท่าไรนัก กล่าวคือ ยังคงมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดในการปกครองประเทศอยู่ ส่วนการปกครองส่วนกลาง จะแบ่งลักษณะได้ดังนี้  คือ

อัครมหาเสนาบดีแบ่งออกเป็น 2 ตำแหน่ง ได้แก่
สมุหกลาโหม ถือเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
สมุหนายก ถือเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน และทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
จตุสดมภ์ แบ่งออกเป็น 4  ฝ่าย  ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การดูแลของสมุหนายก จตุสดมภ์ แบ่งออกเป็น เสนาบดีกรมเมือง เสนาบดีกรมวัง เสนาบดีกรมคลัง และ เสนาบดีกรมนา
ในขณะที่การปกครองส่วนภูมิภาค จะแบ่งหัวเมืองออกได้เป็น  3  ประเภท  ได้แก่ หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองจัตวา หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้จากราชะานี จะต้องมีการส่งเครื่องบรรณาการมาถวายแก่เมืองหลวงปีละหนึ่งครั้ง  ในขณะที่ ประเทศราชที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากราชธานี จะต้องส่งมา 3 ปีต่อครั้ง

กฎหมายที่ใช้ในการปกครองในยุคสมัยนี้ ก็ถือเลียนแบบอย่างจากกฎหมายสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี  แต่ได้นำมาปรับแก้ไขให้ทันยุคทันสมัยขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1  เรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า “กฎหมายตราสามดวง”  อันได้แก่  ตราราชสีห์  ตราคชสีห์  และตราบัวแก้ว ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ ก็ถูกใช้กันมาอย่างยาวนานจนถึงในสมัยของรัชกาลที่ 5

การศึกษาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีศูนย์กลางอยู่ที่วัด  วัง  และตำหนักเจ้านาย  โดยรัชกาลที่  3  ได้โปรดให้มีการจารึกตำราการแพทย์แผนโบราณเอาไว้ที่วัดพระเชตุพน หรือ วัดโพธิ์ ทำให้วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น ‘วัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย’ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงสมัยที่มีการทำนุบำรุงศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเห็นได้จากการทำสังคายนาชำระพระไตรปิฎก  การออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์ การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่สำคัญ  เช่น วัดพระศรีรัตนศาดาราม  วัดสุทัศน์เทพวราราม  และวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม  เป็นต้น  อีกทั้งในสมัยรัชกาลที่  2  ยังโปรดให้มีการส่งทูตไปศึกษาประวัติทางพระพุทธศาสนาในลังกาอีกด้วย และในครั้งนั้นก็ได้มีการนำเอาหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกากลับมาที่ไทยด้วย  รัตนโกสินทร์จึงถือเป็นยุคสมัยแห่งการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

ในด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติ ประเทศไทยในสมัยนั้นก็มีการติดต่อกับประเทศแถบตะวันตกมากขึ้น และได้มีการขยายตัวตามต่างชาติมากขึ้นด้วย  เนื่องจากตรงกับยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมและลัทธิจักรวรรดินิยมพอดี โดยชาติตะวันตกที่มีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมาก ได้แก่

โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่เข้ามาติดต่อกับไทยชาติแรก โดยการนำของชาวโปรตุเกส ที่มีชื่อว่า ‘อันโตนิโอ  เอด วิเสนท์ (องตนวีเสน)’ โดยเขาผู้นี้ได้อัญเชิญสาส์นเข้ามาในรัชกาลที่1 และในสมัยรัชกาลที่ 2 ไทยก็ได้มีการส่งเรือเข้าไปค้าขายกับโปรตุเกสที่มาเก๊าด้วย  ความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีเช่นนี้ จึงทำให้โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามาตั้งสถานกงสุลในประเทศไทยได้สำเร็จ
อังกฤษเป็นอีกหนึ่งชาติที่เข้ามาผูกไมตรีกับไทย โดยหวังผลประโยชน์ในดินแดนมลายู โดยชนชาติอังกฤษเข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยขอให้ไทยช่วยส่งทหารไปรบกับพม่าและไทยกับอังกฤษก็ได้เริ่มทำสนธิสัญญาฉบับแรกร่วมกัน คือ ‘สนธิสัญญาเบอร์นี’ ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369  ซึ่งสาระสำคัญกล่าวไว้ว่า  ประเทศไทยกับอังกฤษจะมีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน และช่วยอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าให้แก่กันและกันด้วย และสนธิสัญญานี้ก็เป็นผลให้ เรือสินค้าที่เข้ามาค้าขายในไทยจะต้องเสีย ‘ภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ’ แทนการเก็บภาษีตามแบบเดิมที่เคยมีมาในอดีต
กรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ประวัติศาสตร์ไทยช่วงนี้ถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ และมีการทำ “สนธิสัญญาเบาริง” ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งที่มาและสาระสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนี้ มีดังต่อไปนี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ทรงตระหนักได้ถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังไล่คุกคามประเทศต่างๆในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนั้น รัชกาลที่ 4 จึงทรงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายมาเป็นการคบค้ากับชาติตะวันตกมากขึ้น  เพื่อความอยู่รอดของประเทศ โดยจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2398  โดยการทำ ‘สนธิสัญญาเบาริง’ กับประเทศอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นโดยมี เซอร์ จอห์น  เบาริงเข้ามาเป็นราชทูตเจรจากับไทย
สาระสำคัญของ ‘สนธิสัญเบาริง’ มีดังต่อไปนี้

อังกฤษขออนุญาตเข้ามาตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินเพื่อทำมาหากินในประเทศไทย
คนอังกฤษสามารถสร้างวัดและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ให้แก่คนไทยได้
มีการเก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทย มีสิทธิในการค้าขายกันได้อย่างเสรี
สินค้าต้องห้าม ได้แก่ ข้าว ปลา  และเกลือ
หากประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับประเทศอื่นๆที่ได้รับผลประโยชน์มากกว่าอังกฤษ  จะต้องยอมทำให้อังกฤษด้วย
ข้อความในสนธิสัญญานี้ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าจะใช้งานครบ10  ปี  และหากต้องการแก้ไขจะต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่าย และบอกความต้องการล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี
การสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษฉบับนี้มีผลดีและผลเสียที่ประเทศไทยจำเป็นต้องยอมรับ โดยผลดีที่ไทยได้รับประการสำคัญ คือ การรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ส่วนผลดีด้านอื่นๆที่ตามมา ก็คือ ทำให้การค้าของไทยขยายตัวได้มากขึ้น และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าเป็นแบบเสรีมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้นด้วย ในขณะที่ผลเสียก็มีไม่น้อยเช่นกัน เพราะไทยจำเป็นต้องเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ และเนื่องด้วยข้อได้เปรียบด้านนี้ ทำให้อังกฤษไม่ยอมแก้ไขสนธิสัญญากับไทย
ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ทำให้ไทยมีสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก และทำให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าตามแบบอารยธรรมตะวันตกมากยิ่งขึ้น  การเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

ด้านการปกครอง 
รัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขประเพณีดั้งเดิมบางประการ เพื่อให้ราษฎรมีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์มากขึ้น  โดยทรงเปิดโอกาสให้ราษฎรสามารถเข้าเฝ้าหรือถวายฎีการ้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์ได้อย่างสะดวก ส่วนสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่  โดยแบ่งเป็น  2  ระยะ  คือ  ‘ระยะการปรับปรุงในระยะแรก’ ที่มีการตั้งสภา 2 สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ กับ ระยะที่สองที่เป็น ‘ระยะการปรับปรุงการปกครอง’ ในปีพ.ศ. 2435  โดยการปกครองที่ปรับปรุงโปรดให้มีการปกครองส่วนกลางยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ และเปลี่ยนเป็นการแบ่งหน่วยราชการออกเป็น 12 กรม โดยมีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวงแทน ในขณะที่ การปกครองส่วนภูมิภาค ก็ทรงประกาศให้ยกเลิกการจัดหัวเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  และจัตวา ทิ้งเสีย และเปลี่ยนมาเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลแทน อีกทั้งยังทรงโปรดให้มีการรวมเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล และกำหนดให้ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑลนั้นๆ โดยขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย  สุดท้ายคือการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคให้เป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน  เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญไปในทั่วทุกพื้นที่

ด้านกฎหมายและการศาล
รัชกาลที่ 4  ทรงโปรดให้ตรากฎหมายขึ้นหลายฉบับ เพื่อทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น  กฎหมายมรดก  สินสมรส เป็นต้น  ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 5  ก็มี “กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์” ผู้เป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย  เป็นบุคคลสำคัญในการปฏิรูปกฎหมายและการศาลในหลายๆด้าน เช่น การจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย หารตรากฎหมายตามแบบอารยประเทศ การจัดตั้งกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น

ด้านเศรษฐกิจ 
หลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษแล้ว การค้าของไทยก็เริ่มเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้รัชกาลที่ 4  ทรงเปลี่ยนจากการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญแทน ส่วนในสมัยรัชกาลที่  5  ก็ประกาศให้เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาเป็นการใช้ระบบทศนิยม ซึ่งใช้ทองคำเป็นมาตรฐานของเงินตราเป็นหลัก  และโปรดให้มีการใช้เหรียญบาท เหรียญสลึง  และเหรียญสตางค์ ในการจับจ่ายซื้อของแทนเงินแบบเดิม  พร้อมมั้งจัดตั้งธนาคารเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น มีชื่อว่า  “แบงก์สยามกัมมาจล” หรือปัจจุบันก็คือธนาคารไทยพาณิชย์นั่นเอง

ด้านการศึกษา 
คณะมิชชันนารีอเมริกัน คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของไทยให้เป็นไปตามแบบสมัยใหม่ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4  ก็ได้เกิดโรงเรียนชายแห่งแรกขึ้นที่ตำบลสำเหร่  ซึ่งปัจจุบันก็คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในขณะที่ โรงเรียนสตรีแห่งแรก ก็คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ซึ่งปัจจุบันก็คือ โรงเรียนวัฒนาวิทยานั่นเอง

หลังจากนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และโรงเรียนวัดมหรรณพาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรกขึ้นมา ทั้งนี้ก็เพื่อปฏิรูปการศึกษาไทย และเป็นการสร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อเข้ารับราชการและช่วยพัฒนาประเทศไทยนั่นเอง   นอกจากนี้ ยังโปรดให้มีการจัดทำแบบเรียนฉบับแรกขึ้นมา ซึ่งถูกเรียบเรียงโดยพระยาศรีสุนทรโวหาร ยอดนักประพันธ์ที่สำคัญของคนไทยด้วย

ส่วนรัชกาลที่ 6  ก็ได้มีการปรับปรุงการศึกษาให้พัฒนาต่อยอดมากขึ้นไปอีก โดยโปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นมาใช้งานในปี พ.ศ. 2464  รวมทั้งมีการเรียกเก็บเงินค่า “ศึกษาพลี” จากราษฎร เพื่อใช้ในการบำรุงการศึกษาในท้องถิ่นด้วย และสุดท้ายคือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีชื่อว่า “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” ขึ้นมานั่นเอง

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย

เมโสโปเตเมีย ( Mesopotamia) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า “ที่ระหว่างแม่น้ำ” โดยมีนัยหมายถึง “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส” เมโสโปเตเมีย (meso=กลาง,potamia=แม่น้ำ)ดินแดนดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย
ชนชาติแรกอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์กาล บริเวณที่เข้ามาตอนแรกคือ แคว้นซูเมอร์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเมโสโปเตเมียติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น ลากาซ บาบิโลน อูร์ อูรุค นิปเปอร์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่ม
ดินแดนอินเดียโบราณทางศาสนามักเรียกว่าชมพูทวีป เป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมดินแดนอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศในปัจจุบัน ชื่ออินเดียมาจากภาษาสันกกฤตว่าสินธุ  ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำสายสำคัญทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียโบราณ ชาวอินเดียเองเรียกดินแดนของเขาว่า ภารตวรรษ  ซึ่งมีความหมายว่าดินที่อยู่ของชาวภารตะ  คำว่าภารตะมาจากคำว่าภรตะ  ซึ่งเป็นชื่อของ กษัตริย์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นที่ราบลุ่ม ที่อุดมสมบูรณ์มี อารรธรรมอินเดียโบราณที่ปรากฏหลักฐานอยู่ คือ ที่เมืองฮารัมปาในแคว้นปัญจาบ และเมืองโบราณโมเฮนโจ ดาโร ในแคว้นซินค์ เมืองทั้งสองนี้มีลักษณะที่บอกให้รู้ถึงการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ มีการแบ่งเขตภายในเมืองออกเป็นสัดส่วน  จัดที่ตั้งอาคารสำคัญไว้เป็นหมวดหมู่ มีถนนสายสำคัญๆ มีท่อระบายน้ำสร้างด้วยอิฐฝังลึกอยู่ในดิน มีสระน้ำใหญ่สร้างด้วยอิฐ และมีซากสิ่งก่อสร้างที่สันนิษฐานว่าเป็นยุ้งข้าวใหญ่โตหัวเสา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประเทศอินเดีย
อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ถูกสร้างขึ้นโดยชาวดราวิเดียน (มิลักขะหรือ ทมิฬ) ชนพื้นเมืองเดิมของอินเดียผิวดำ ร่างเล็ก จมูกแบนพูดภาษาตระกูลดราวิเดียน (ทมิฬ ) มีการค้นพบหลักฐานเมื่อ คริสต์ศักราช 1856 เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟบริเวณลุ่มน้ำสินธุ  ค้นพบซากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ คริสต์ศักราช 1920 ปรากฏเป็นรูปเมือง บริเวณเมือง ฮารัมปา(Harappa)  และเมืองโมเฮนโจ  ดาโร(Mohenjo  Daro) อายุประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลักฐานที่ค้นพบจัดเป็นอารยธรรมยุคโลหะเป็นสังคมเมือง ป้อมปราการขนาดใหญ่ มีสระอาบน้ำสาธารณะนักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการวางผังเมือง ตัดถนน มีกำแพงอิฐ บ้านเรือนสร้างด้วยอิฐ
มีระบบระบายน้ำสองท่อทำด้วยดินเผาอยู่ข้างถนน เพื่อรับน้ำที่ระบายจากบ้าน มีอักษรภาพใช้ พบโบราณวัตถุรูปแกะสลักหินชายมีเครา มีแถบผ้าคาด  มีตราประทับตรงหน้าผาก รูปสำริดหญิงสาว รูปแกะสลัก บนหินเนื้ออ่อน เครื่องประดับ สร้อยทองคำ สร้อยลูกปัด มีการเพาะปลูกพืชเกษตรเช่นฝ้าย ข้าวสาลี ถั่ง งา ข้าวโพด พบหลักฐานการค้ากับต่างแดนทั้งทางบกและทางทะเล เช่น เปอร์เชีย อัฟกานิสถาน เมโสโปเตเมีย ธิเบต โดยพบโบราณวัตถุจากอินเดีย  หินสี เงิน อัญมณีจากเปอร์เชีย หยกจากธิเบต และ มีการขุดค้นพบอารยธรรมนี้กว่า 100 แห่งบริเวณแม่น้ำสินธุ ส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห จีน  อารยธรรมจีนในแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห
อารยธรรมจีนได้สร้างสมอยู่ในแผ่นดินแถบบริเวณนี้เป็นมาเวลาช้านาน และมีอิทธิพลที่สร้างกันมานั้นก็ได้มาจากความนึกคิดของเขาเป็นสิ่งสำคัญซึ่งย่อมหมายถึง วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อโลก คนจีนจึงมุ่งที่จะสนใจในปรัชญาของชีวิตและนับถือนักปราชญ์ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ เป็นต้น
อารยธรรมของจีนโบราณที่ศึกษา คือ จีนยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ที่มณฑลโฮนาน และกัสสู ได้พบเครื่องมือหินและเครื่องปั้นดินเผา  เช่นเครื่องปั้นดินเผายางเซา ซึ่งเชื่อว่ามีมาก่อน 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และที่มณฑลซานตุง ได้พบเครื่องปั้นดินเผาสีดำ ใกล้ตำบลลุงชาน จึงเรียกว่าเครื่องปั้นดินเผาลุงชาน
อารยธรรมของจีนก่อตัวขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห และลุ่มแม่น้ำซีเกียงหลังจากนั้นได้ขยายไปสู่ทะเล และภาคพื้นทวีปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและขยายสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีร่องรอยความเจริญให้ชาวโลกได้ศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปกครอง จีนมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมีผู้นำที่มีความสามารถ จีนเชื่อว่ากษัตริย์ที่มาปกครองจีนนั้นเป็นคำสั่งของสวรรค์ ดังนั้นกษัตริย์ คือ  โอรสของสวรรค์ที่จะลงมาปกครองราษฎร์ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข  ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดปกครองราษฎร์ให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน  กษัตริย์พระองค์นั้นหรือราชวงศ์นั้นก็จะถูกลบล้างไป และมีกษัตริย์พระองค์ใหม่ระบบครอบครัวของจีนยึดความกตัญญูและนับถือผู้อาวุโสตามหลักคำสอนของ ขงจื๊อ
หลักคำสอนของขงจื๊อ  ถือว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์เพียบพร้อมที่สุดคือเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมแนวคำสอนที่เป็นพื้นฐานของภูมิปัญญาจีนที่เชื่อว่าปัญหาต่างๆในสังคมเกิดจากคนแต่ละคน การแก้ปัญหาทางหนึ่งคือการฝึกฝนตนเองการอบรมตนเอง  และสามารถปกครองครอบครัวได้ เมื่อปกครองครอบครัวได้ ก็สามารถปกครองแค้วนได้ คุณธรรมประกอบด้วย หลัก 5 ประการ ความสุภาพ มีใจโอบอ้อมอารี จริงใจ  ตั้งใจ  เมตตากรุณา   คุณธรรมที่สำคัญที่เป็นหัวใจของปรัชญาขงจื๊อ คือ เหริน เพราะคำนี้ประกอบด้วย อักขระสองตัวคือ “คน” กับ “สอง” หมายถึง มนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  เหรินคือความรัก ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ เริ่มจากความรักในบิดา มารดา ความรักในความเป็นพี่น้องกัน
ผลงานของขงจื๊อรวบรวมไว้เรียก ตำรับ 5 เล่มของขงจื๊อประกอบด้วย
1)  อี้จิง ตำรับว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
2)  ชูจิง ตำรับว่าด้วยประวัติศาสตร์
3)  ซือจิง ว่าด้วยกาพย์กลอน
4)  หลี่จิ้ง ว่าด้วยพิธีการ
5)  ชุนชิว พงศาวดารฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง
2. ด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ แต่ละราชวงศ์จะมีศิลปะวิทยาการต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปตามพื้นฐานของกษัตริย์ หลักฐานที่ปรากฏให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเช่น เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมยางเซา วัฒนธรรมลุงชาน และกำแพงเมืองจีน
อาณาจักรอิสลาม    คาบสมุทรอาระเบีย   อยู่ทางตะวันตกสุดของทวีปเอเชีย แหล่งชาวอาหรับนับถือเทพเจ้าหลายองค์
เกิดศาสนาอิสลามจึงหันมานับถือพระเจ้าองค์เดียวคืออัลเลาะห์เป็นปึกแผ่นคาบสมุทรอาระเบีย
อาณาจักรบิแซนตีน  หรืออาณาจักรตะวันออก  มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงสแตนติโนเปิล( เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งก็ตั้งตามชื่อของเขาเอง ซึ่งเดิมชื่อ ไบแซนทิอุม หรือ ไปแซนไทม์ —Byzantium–)
มีจักรพรรดิ์สำคัญคือ จัสติเนียน  ผู้มีความสามารถทางการเมือง การปกครองและการทหาร และจัดทำประมวลกฎหมายจัสติเนียน ซึ่งเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ ในทวีปยุโรป มรดกความเจริญทางวัฒนธรรม คือ สถาปัตย

สรุปการสิ้นสุดของสมัยกรุงธนบุรี

การจลาจลตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน

การปราบชุมนุมต่างๆการขจัดอิทธิพลของพม่าออกไปจากดินแดนไทย ตลอดจนการขยายอาณาเขตออกไปยังดินแดนลาวและเขมร แม้ว่าจะทำให้ประเทศชาติมีความเป็นเอกภาพและความมั่นคงก็ตาม แต่การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินติ้งทำสงความตลอดรัชกาลของพระองค์ ซึ่งในช่วงเวลา 15 ปีเกิดศึกสงครามถึง 10 ครั้ง ทำให้พระองค์ต้องตรากตรำจากการทำสงครามต่อเนื่อง ประกอบกับทรงต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการรบการการส่งกองทัพไปรบตามหัวเมืองต่างๆมาเป็นการตั้งรับในราชธานี อันเป็นผลมาจากการทิ้งเมืองเชียงใหม่ให้ร้างใน พ.ศ. 2319 และสภาพร่วงโรยของหัวเมืองเหนือหลังเสร็จศึกอะแซหวุ่นกี้ จนไม่สามารถใช้เป็นแนวรบได้ดั่งเช่นในอดีต สร้างความกังวลและความไม่สบายพระทัยให้กับพระองค์เป็นอย่างยิ่ง เพราะการตั้งรับข้าศึกภายในราชธานี ถ้าพ่ายแพ้ก็หมายถึงการล่มสลายของบ้านเมืองดังเช่นที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แรงกดดันเหล่านี้สร้างความเครียดให้กับพระองค์ จนถึงกับปฏิบัติพระองค์ผิดปกติไปในตอนปลายรัชกาล อันมีผลทำให้เกิดจลาจลในแผ่นดินขึ้นที่สุด
1.การจลาจลวุ่นวายในเขมร  2323
พ.ศ. 2323 เกิดการกบฏในเขมร พวกกบฏจับพระรามราชาและพระนารายณ์ราชาปลงพระชนม์ทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบการจลาจลได้สำเร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้นักองเองซึ่งเป็นโอรสของพระนารายณ์ราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงมีฟ้าทะละหะ (มู) เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เขมรจึงหันไปพึงญวนอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปปราบเขมร ขณะที่กองทัพไทยจะรบกับเขมรอยู่นั้น ก็มีข่าวว่าทางกรุงธนบุรีเกิดจลาจลวุ่นวาย ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเสียพระสติ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงต้องรีบยกทัพกลับ




2.ความวุ่นวายภายในกรุงธนบุรี  2324
สัญณาณการบอกเหตุความผิดปกติของพระองค์มีมากมาย เริ่มจากการที่พระองค์สนพระทัยเรื่องปาฏิหาริย์และเชื่อว่าการเจริญกรรมฐานจะทำให้พระองค์มีความสามารถเหนือมนุษย์ทั่วๆไป ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสได้บันทึกว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรับสั่งอยู่เสมอว่าพระองค์สามารถเหาะไปในอากาศได้ ทำให้พระองค์มุ่งมั่นในการเจริญกรรมฐานอย่างหนัก โดยทรงไปปฏิบัติกรรมฐาน ณ พระอุโบสถวัดบางยี่เรือใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2319 การคร่ำเคร่งมากเกินไปและการมีจุดประสงค์ในการที่ผิดหลักพระพุทธศาสนา ทำให้พระองค์มีพระสติฟั่นเฟือน โดยสำคัญพระองค์ว่าทรงทรงบรรลุโสดาบัน จึงตรัสถามพระราชาคณะว่าภิกษุจะไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันได้หรือไม่ เมื่อพระราชาคณะทูลว่าไม่ได้ก็ทรงพิโรธ ทรงให้ถอดพระราชาคณะออกจากสมณศักดิ์ แล้วให้เฆี่ยนรวมทั้งพระลูกด้วย ตั้งแต่นั้นมาพระสงฆ์เมื่อเข้าเฝ้า
จะต้องถวายบังคมดังเช่นฆราวาสจนสิ้นรัชกาล นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์อื่นๆอีกมากที่แสดงถึงพระสติที่แปรปรวนของพระองค์ ทำให้พระองค์สั่งประหารชีวิตผู้คน
โดยไม่มีความผิดหลายครั้ง ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งพระชายาและเจ้า
จอมของพระองค์ สร้างความระส่ำระสายให้กับบ้านเมืองไปทั่ว
การกระทำของสมเด็จพระเจ้าตากสินตอนปลายรัชกาล ซึ่งขัดต่อขนมประเพณีที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติ เช่น บังคับให้ภิกษุกราบไหว้พระองค์ เป็นต้น ทำให้กลุ่มขุนนางที่จงรักภักดีเริ่มเสื่อมศรัทธาในพระองค์และเอาใจออกห่าง ประกอบกับในตอนจะสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินยังทรงกระทำการหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่า พระองค์เสียพระสติมากขึ้น เช่น ทรงสอบถามถึงพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าเพื่อเปรียบเทียบกับพระวรกายของพระองค์ ทรงสอบฌานกับพระราชาคณะ ทรงลงโทษน้าของเจ้าพระยาจักรี ตลอดจนทรงยกย่องพี่เลี้ยงของพระราชบุตรและพระราชธิดาเป็น”สมศรีสมทรง”(เมียเจ้า)*4เป็นต้น ทำให้บ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวายจึงเกิดกลุ่มบุคคลต่อต้านพระองค์มากยิ่งขึ้น ในขณะที่อำนาจพระองค์กลับอ่อนแอลงเรื่อยๆ
3.กบฏพระยาสรรค์  2324
พ.ศ. 2324 เกิดจลาจลที่กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงให้พระยาสรรค์ขุนนางที่พระองค์ไว้วางพระทัยอย่างมาก ขึ้นไประงับการจลาจล โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินไม่ทรงทราบว่า หัวหน้าที่ก่อความวุ่นวายคือ ขุนแก้ว น้องชายของพระยาสรรค์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ นอกจากพระยาสรรค์จะไม่ปราบพวกก่อความวุ่นวายแล้ว ยังอาศัยช่วงจังหวะที่กลุ่มขุนนางไม่พอใจพระเจ้าตากสิน และดำเนินการต่อต้านพระเจ้าองค์ ตัดสินใจร่วมมือกับพวกก่อการจราจล ยกกำลังมาตีกรุ่งธนบุรี และเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระเจ้าตากสินได้สำเร็จ พร้อมกับบังคับให้พระองค์ทรงผนวช และจับพระบรมวงศานุวงศ์มาจองจำไว้ในราชวังแล้วตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการพร้อมกับประกาศจะถวายราชสมบัติให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกปกครองต่อไป ต่อมาพระยาสรรค์เปลี่ยนใจคิดจะครองราชย์สมบัติเสียเอง จึงเตรียมกองกำลังไว้ต่อสู้กับสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งจะกลับจากการทำสงครามในเขมรในระหว่างนี้
4.สงครามกลางเมืองระหว่างพระยาสรรค์และพระยาสุริยอภัย 2324
พระยาสรรค์ให้กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ยกทัพไปโจมตีค่ายพระยาสุริยอภัย หลานของสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกที่ยกทัพมาจากนครราชศรีมา เพื่อมารักษากรุ่งธนบุรีตามคำสั่งของสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ทั้งสองฝ่ายได้ปะทะกันอย่างหนัก กรมขุนอนุรักษ์สงครามเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถูกจับได้ พระยาสรรค์คิดว่าเรื่องที่ตนให้กรมขุนอนุรักษ์สงครามยกทัพไปตีค่ายพระยาสุริยอภัยเป็นความลับ จึงวางตัวนิ่งเฉยอยู่ในวัง พระยาสุริยอภัยซึ่งรู้ความจริงทั้งหมดจากกรมขุนอนุรักษ์สงครามเห็นเช่นนั้น จึงได้ควบคุมสถานการณ์ในวังเอาไว้ แล้วให้สึกสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้วนำไปจองจำเอาไว้ เพื่อรอสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกตัดสินความต่อไป


5.การพิจารณาปัญหาเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสิน
สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพมาถึงกรุ่งธนบุรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระองค์ได้ประชุมขุนนางและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เพื่อวางแผนฟื้นฟูบ้านเมืองพร้อมกับสอบถามความเห็นว่าจะจัดการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินอย่างไร ที่ประชุมเห็นความว่าควรจะสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินเสีย เพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อความมั่นคงของแผ่นดินต่อไป ส่วนพระยาสรรค์ถูกประหารชีวิตในภายหลัง จากนั้นขุนนาง ข้าราชการ และราษฎรได้พร้อมใจกันทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นกษัตริย์ต่อไปเป็นอันสิ้นสุดยุคธนบุรีพร้อมกับมีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือ“ราชวงศ์จักรี”ในพ.ศ.2325
6.สรุปการสิ้นสุดของสมัยกรุงธนบุรี กิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ได้บุกมาแล้วบังคับให้พระองค์ผนวช ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมายังกรุง ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน

สาเหตุการเสื่อมอำนาจของอยุธยา

15 สาเหตุการเสื่อมอำนาจของอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยเป็นระยะเวลายาวนาน 417 ปี (พ.ศ.1893-2310) พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา
คือ พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยาแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากที่สุด
ในรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133-2148) อาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด
ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การค้าขายและการเจริญไมตรีกับต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199-2231)
ความเสื่อมของอยุธยา กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง
   ครั้งแรก นสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราชเมื่อพ.ศ.2112
   ครั้งที่ 2 ในรัชสมัย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) เมื่อ พ.ศ.2310
สาเหตุการเสื่อมอานาจของกรุงศรีอยุธยา
 ความเสื่อมอานาจทางการเมือง มีการแก่งแย่งชิงอานาจใหม่ในหมู่ขุนนางข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์อยู่เนืองๆ
มีการกาจัดศัตรูทางการเมือง ทำให้กาลังทหารถูกบั่นทอนความเข็มแข็งลงไปมาก
 ความอ่อนแอของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงขาดความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ
กองทหารไม่ได้รับการฝึกฝนให้เตรียมพร้อมในการทำศึกสงคราม และมีปัญหาวินัยหย่อนยาน
 การที่ไทยว่างเว้นจากสงครามมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาทในการป้องกันพระราชอาณาจักร
ขาดการฝึกปรือกาลังทัพและการวางแผนการยุทธที่ดี ทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพในการทาสงครามป้องกันพระนคร
เมื่อพม่ายกกาลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนจะเสียกรุงใน พ.ศ.2310
 พม่าเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ไปจากเดิม คือ ยกทัพกวาดต้อนผู้คน สะสมเสบียงอาหารลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและขึ้นมาจากหัวเมืองฝ่ายใต้
ตัดขาดหัวเมืองรอบนอกมิให้ติดต่อและช่วยเหลือเขตราชธานีได้ และพร้อมที่จะรบตลอดทั้งปี โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นฤดูฝนหรือฤดูน้าหลาก
ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้ต่างไปจากเดิมที่มักจะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์และเข้ามาทางเดียว และเมื่อถึงฤดูน้าเหนือหลากลงมาท่วมก็ยกทัพกลับ
ทำให้ไทยวางแผนการตั้งรับผิดพลาดหมด
– กรุงศรีอยุธยาถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจโดยกองทัพพม่า ทั้งจากทางเหนือและใต้ รวมทั้งต้องทาศึกระยะยาวนานนับปี ทาให้กรุงศรีอยุธยาเกิดขาดแคลนเสบียงอาหารอันนาไปสู่ความอ่อนแอต่อกาลังทัพและผู้คนของไทย

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา

16 ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา
                    ความหมาย
คำว่า “วัฒนธรรม” มาจากคำสองคำ คำว่า “วัฒน” จากคำศัพท์ วฑฺฒน” ในภาษาบาลี หมายถึงความเจริญ ส่วนคำว่า “ธรรม” มาจากคำศัพท์ “ธรฺม” ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความดี เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า “วัฒนธรรม” หมายถึงความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
วัฒนธรรม    หมายถึง ( น. ) สิ่งที่นำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะเช่น วัฒนธรรมพื้นบ้านวัฒนธรรมชาวเขา
วัฒนธรรม  หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์ในแต่ละสังคมได้สร้างสรรค์ขึ้นมา  เพื่ออำนวย
ความสะดวกในการดำเนินชีวิต  หรือสนองความต้องการของสังคมและได้ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ปฏิบัติสืบต่อกันไป  โดยได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ในสังคม
วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความ
กลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
ภูมิปัญญา  หมายถึง  [พูม–] น. พื้นความรู้ความสามารถ.
ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญา  หมายถึง  ความรู้  ทักษะ  ความเชื่อ  และพฤติกรรมของคนไทย  โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบุคคล  ชุมชนและสังคม  ตลอดจนพื้นฐานความรู้เรื่องต่าง  ๆ  ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
              ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา
1.  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
      กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม  มีมีน้ำไหลผ่าน  3  สาย  คือ  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก
 และแม่น้ำลพบุรี  มีฝนตกเสมอ  ทำให้เหมาะแก่การเพาะ  การค้าขาย  และการดำเนินชีวิตของชาวอยุธยา
จึงส่งเสริมให้มีการคิดค้นภูมิปัญญาต่าง ๆ  ขึ้นมา  เช่น  บ้านเรือนที่มีใต้ถุนสูง  หลังคาทรงแหลม  บริโภคอาหารด้วยมือ  ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้  พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  เป็นต้น
2. ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
อยุธยาปกครองแบบสังคมศักดินา  ประกอบด้วยชนชั้นมูลนาย  และชนชั้นไพร่  มีการนับถือ
พระพุทธศาสนารวมทั้งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  มีการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการควบคุมกำลังคนให้เป็นระเบียบเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  โดยใช้กุศโลบายทางศาสนาเป็นเครื่องมืออบรมสั่งสอนผู้คน
3.  การรับอิทธิพลจากภายนอก
การที่อยุธยาติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ  จึงมีโอกาสได้เรียนรู้ภูมิปัญญาของชนชาติเหล่านั้น
และนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนในสมัยนั้น เช่น  อารยธรรมอินเดีย  อยุธยาได้นำรูปแบบ
การปกครองแบบเทวราชา  ที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือเทพเจ้าจุติลงมาปกครองประชาชน  โดยอยุธยารับมาจากเขมรซึ่งรับมาจากอินเดีย  อารยธรรมจีน  มีการติดต่อค้าขายในลักษณะของการส่งเครื่องราชบรรณาการหรือ จิ้มก้อง
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการสร้างรูปแบบการปกครองให้เหมาะสม
การปกครองจะต้องมีกษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองบ้านเมือง  ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์  –  ฮินดู  มาจากเขมรซึ่งเขมรรับต่อมาจากอินเดียโดยไทยเรียกเป็นสมมติเทพ  มีการวางระเบียบกฎเกณฑ์    ต่าง ๆ  เกี่ยวกับความสำคัญของพระมหากษัตริย์  เช่น  จัดให้มีที่ประทับสูงกว่าคนอื่น ๆ
มีการสร้างพระราชวังและภายในพระราชวังจะต้องมีกฎเกณฑ์และพิธีกรรมต่าง ๆ  ที่แสดงว่าพระองค์
เป็นสมมติเทพ  โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีถวาย  มีการใช้คำราชาศัพท์  มีกฎมณเฑียรบาล
มีเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์  แสดงถึงฐานะความเป็นกษัตริย์  มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงแก่สถาบันกษัตริย์  นอกจากนี้พระมหากษัตริย์จะต้องทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ  ได้กลายเป็นประเพณีสังคมไทยที่คนไทยต้องปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์
ด้วยความเคารพ  พระมหากษัตริย์ของไทยจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยและทรงเป็นประมุขของอาณาจักรไทยตลอดมา  การสร้างประเพณีการปกครองของคนไทยสมัยอยุธยา  จึงเป็นภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยและสถาบันกษัตริย์ได้กลายเป็นสถาบันหลักที่สำคัญของชาติใน
ระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน

การสถาปนาอาณาจักรธนบุรี

การสถาปนากรุงธนบุรี

ประวัติความเป็นมาของกรุงธนบุรี

เมืองธนบุรี

ในปัจจุบัน เมืองธนบุรีอาจมีฐานะเป็นเพียงเขตเล็กๆ เขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่ในอดีตพบว่าเมืองธนบุรีมีความสำคัญในฐานะราชธานีของไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2310 – 2315 แม้ว่าจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 15 ปี แต่ก็นับว่ามีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของชาติไทยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังปรากฏโบราณสถานที่สำคัญในสมัยธนบุรี คือ พระราชวังเดิม (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือ) รวมทั้งวัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นในปัจจุบันเมืองธนบุรีจึงได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาควบคู่กันไป
ความเป็นมา
เมืองธนบุรี หรือ บางกอกในอดีต คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน ๆ เป็นที่ราบสามเหลี่ยมปากน้ำเจ้าพระยาที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำเจ้าพระยา และลำคลองต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ ดังนั้นจึงมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่า “บางกอก” นั้นอาจจะเพี้ยนมาจากเดิมว่า “บางเกาะ” ด้วยความที่พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเกาะเล็กเกาะน้อยจากแม่น้ำลำคลองต่างๆ

เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลคดเคี้ยวมากตั้งแต่นนทบุรี ลงมายังพระนคร กล่าวคือ แม่น้ำเจ้าพระยาจะไหลจากทางเหนือ ผ่านเขตเมืองนนทบุรีลงมาถึงสะพานปิ่นเกล้า แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเข้ามาทางคลองบางกอกน้อย อ้อมผ่านตลิ่งชัน บางระมาดแล้ววกกลับเข้าคลองบางกอกใหญ่ (หรือคลองบางหลวง) แล้วไหลลงทางใต้ไปออกทะเลอ่าวไทย เป็นลักษณะรูปเกือกม้า ซึ่งความคดเคี้ยวของแม่น้ำนี้ ทำให้สองฟากฝั่งของแม่น้ำกลายเป็นที่ดอนซึ่งเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือน และกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกกันภายหลังว่า “ย่านบางกอก” แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ทำให้เสียเวลาในการเดินทางไปมา ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับหัวเมืองชายทะเลตะวันออก

ดังนั้นในสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 – 2089 ) จึงโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกขึ้น เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ที่ไหลอ้อมเข้าไปทางคลองบางกอกน้อย ออกคลองบางกอกใหญ่ (คือขุดตั้งแต่หน้าสถานีรถไฟบางกอกน้อย จนถึงหน้าวัดอรุณราชวรารามในปัจจุบัน) การขุดคลองลัดดังกล่าวทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดิน น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่ จึงไหลไปทางคลองขุดใหม่ และเซาะตลิ่งสองข้างจนกว้างขึ้น กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ (บริเวณที่ผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราช และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกวันนี้) ส่วนลำน้ำเดิมก็ค่อยๆ ตื้นเขินขึ้นลดขนาดลงเป็นลำคลอง ได้แก่ คลองบางกอกน้อย คลองชักพระ (คลองตลิ่งชัน) คลองบางขุนศรี คลองบางเชือกหนัง คลองวัดประดู่ และคลองบางกอกใหญ่ ดังที่เห็นในปัจจุบัน
เมื่อขุดคลองลัดสำเร็จ เมืองบางกอกหรือเมืองธนบุรีจึงถือกำเนิดขึ้น ทางฝั่งตะวันตก หัวมุมคลองบางกอกใหญ่ กลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และได้รับการยกฐานะขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล ทำหน้าที่ป้องกันศัตรูที่จะเข้ามาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งตรวจตราจัดเก็บภาษีสินค้าที่ผ่านเข้าออก โดยปรากฏชื่อครั้งแรกในพระราชพงศาวดาร ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ. 2091 – 2111) ว่า “เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร”แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ เพียง “ธนบุรี” ส่วนชื่อ”เมืองบางกอก” นั้นคงเป็นชื่อสามัญ ที่ชาวบ้านและชาวต่างประเทศนิยมเรียก ดังปรากฏชื่อบางกอกในแผนที่และเอกสารของชาวต่างชาติ

เมืองธนบุรีมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านทางทะเล โดยเฉพาะเมื่อการค้ากับต่างประเทศ เจริญรุ่งเรืองขึ้นถึงขีดสุด ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 – 2231) เนื่องจากเป็นเมืองท่าพักเรือต่างชาติ ที่เดินทางขึ้นล่องระหว่างกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงโปรดให้กองทหารฝรั่งเศส ขึ้นมาสร้างป้อมขึ้นทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเพื่อป้องกันข้าศึกซึ่งมาทางทะเล โดยเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นผู้กำกับการสร้าง เมื่อสร้างป้อมเสร็จจึงพระราชทานนามว่า “ป้อมวิไชยเยนทร์” และโปรดเกล้าฯ ให้ทหารต่างชาติทั้งโปรตุเกส และฝรั่งเศสมาประจำที่ป้อม ภายหลังที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ป้อมทั้งสองของเมืองธนบุรี (ป้อมฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก) กลายเป็นสมรภูมิรบระหว่างฝ่ายไทย กับกองทหารฝรั่งเศสที่ประจำป้อม ซึ่งในท้ายที่สุดฝรั่งเศสเป็นฝ่ายที่ต้องยอมแพ้ และถอนกำลังออกจากราชอาณาจักรไทย จากนั้นสมเด็จพระเพทราชาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อป้อมบางกอกทางฝั่งตะวันออก โดยให้คงเหลือแต่ป้อมทางฝั่งตะวันตก (ป้อมวิไชยเยนทร์) ไว้เท่านั้น ในคราวกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 พม่าได้ยึดเมืองบางกอกและแต่งตั้งให้นายทองอิน (คนไทยที่ไปเข้ากับฝ่ายพม่า) รักษาป้อมและเมืองบางกอก และหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ จึงโปรดฯ ให้บูรณะเมืองธนบุรีเพื่อใช้เป็นราชธานี
การสถาปนากรุงธนบุรี หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้เอกราชสำเร็จในปี พ.ศ. 2310 ทรงมีพระราชดำริว่ากรุง ศรีอยุธยามีสภาพทรุดโทรมมาก ไม่สามารถซ่อมแซมฟื้นฟูให้กลับคืนสภาพเดิมได้ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้าง ราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เนื่องจากเมืองธนบุรีมีชัยภูมิที่ดี เป็นเมืองหน้าด่านชายทะเล ควบคุมเส้นทางเดินเรือเข้าออก ประกอบกับเป็นเมืองที่มีป้อมปราการ และวัดวาอารามอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาก่อสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นเมืองขนาดย่อมซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะรักษาไว้ได้ และอยู่ปากแม่น้ำ หากเพลี่ยงพล้ำไม่สามารถรักษาเมืองไว้ได้จริงๆ ก็สามารถหลบหลีกศัตรูออกสู่ทะเล กลับไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้โดยสะดวก อีกทั้งตั้งอยู่บริเวณที่มีลำน้ำลึกใกล้ทะเล ถ้าข้าศึกไม่มี

การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีจำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อรองรับประชาชนที่หนีภัยสงครามมา และปรับปรุงให้เหมาะสมทางยุทธศาสตร์มากขึ้น ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเมืองไปทางทิศเหนือจนจรดคลองบางกอกน้อย พร้อมกับสร้างกำแพงเมืองตามแนวคลองขุดใหม่มีชื่อเรียกเป็นตอนๆ ว่า คลองบ้านขมิ้น คลองบ้านช่างหล่อ คลองบ้านหม้อ คลองวัดท้ายตลาด ส่วนทางทิศตะวันออกขยายไปจรดคลองคูเมืองที่ขุดขึ้นใหม่ (ปัจจุบันเรียกว่า”คลองหลอด”) ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมืองแล้วสร้างกำแพงเมืองขึ้นตามแนวคลองคูเมือง (กำแพงเมืองนี้ต่อมาได้ถูกรื้อลง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงขยายแนวกำแพงเมืองออกไปตามแนวคลองโอ่งอ่าง และคลองบางลำภู) ส่วนป้อมวิไชยเยนทร์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ป้อมวิไชยประสิทธิ์” พร้อมทั้งให้ขุดที่สวนเดิมเปลี่ยนเป็นท้องนานอกคูเมืองทั้ง 2 ฟากซึ่งเรียกว่า “ทะเลตม” ไว้สำหรับเป็นที่นาใกล้พระนคร

สำหรับขอบเขตของราชธานีแห่งใหม่นี้ ครอบคลุมสองฝั่งน้ำ โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่านกลางเมือง พื้นที่ในกำแพงเมือง ฝั่งตะวันตกเริ่มตั้งแต่เขตเมืองธนบุรี เดิมริมคลองบางกอกใหญ่ ไปจนถึงบริเวณหลังวัดบางหว้าน้อย (วัดอินทาราม) ริมคลองบางกอกน้อย ส่วนฝั่งตะวันออกเริ่มตั้งแต่ศาลเทพารักษ์หัวโชค (เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร) เลียบตามแนวคูเมือง (คลองคูเมืองบริเวณหลังกระทรวงมหาดไทย) ไปจรดแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด โดยภายในกำแพงเมืองธนบุรีเดิม เป็นที่ตั้งของพระราชวังกรุงธนบุรี

กรุงธนบุรีเป็นราชธานีเพียง 15 ปี หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันตก มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้พระราชวังกรุงธนบุรีว่างลง กรุงธนบุรีจึงถูกลดความสำคัญ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระราชวังกรุงธนบุรี ได้กลายเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กองทัพเรือ ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือจนถึงปัจจุบัน (สาระน่ารู้กรุงธนบุรี. 2555:ออนไลน์)


ปัจัยที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรื่องของของอาณาจักรธนบุรี

18 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง
การที่ประเทศไทยสมัยประชาธิปไตยมีความมั่นคงและมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามาเป็นสำคัญส่วนเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายประการ

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ

ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทย


๑. พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อราษฎรและประเทศชาติ ทั้งในเรื่องของความดีของราษฎร การเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติในยามที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามและการรุกรานจากภายนอก ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

๒. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในลักษณะที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญโดยพยายามปรับเปลี่ยนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอธิปไตยของชาติไว้ได้ ดังเช่น ในสมัยสงครามโลกครั่งที่ ๒ และสมัยที่ไทยกำลังเผชิญกับการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์

๓. การมีทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล สำหรับเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทยและความมั่นคงของประเทศ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ แก็สธรรมชาติสัตว์น้ำในบริเวณอ่าวไทย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวสำหรับเลี้ยงชีพคนไทยทั่วทุกภาคของประเทศอีกด้วย

๔. การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้การพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปอย่างเป็นระบบตามหลักของการพัฒนา ดังนั้น สภาพความเป็นอยู่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม และอื่น ๆ จึงขยายตัวออกไปทำให้ไทยมีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยา

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            เขตพื้นที่ จังหวัดสุโขทัยมีผู้คนมาพักอาศัยและตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัย สมัยทวาราวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
            บริเวณที่ราบตอนล่างของภาคเหนือของไทย เคยเป็นดินแดนที่มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางโบราณคดีพบเครื่องมือหินที่เขาขน เขากา ในเขตตำบลนครดิฐ อำเภอศรีนคร แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย  บ้านบึงหญ้า ตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ ฯลฯ ชุมชนเหล่านี้อยู่ต่อเนื่องกัน และตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นในเวลาต่อมา จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ได้มีการติดต่อกับดินแดนอื่นในแถบบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแบบทวาราวดี โดยได้พบโบราณวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ลูกปัด เครื่องมือสำริด เหล็ก เงินเหรียญที่มีรูปพระอาทิตย์ รวมทั้งโครงกระดูกมนุษย์ ที่แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่นในเขตเมืองเชลียง ซึ่งมีแท่งดินเผามีลวดลาย
            จากการพบโบราณสถานในศิลปะขอมที่บ้านนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ ชาวบ้านเรียกว่า ปรางค์เขาปู่จ่า และศาลาตาผาแดง ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย แสดงว่าในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีการติดต่อกับอาณาจักรขอมแล้ว
            ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปรากฏเรื่องการตั้งตนเป็นอิสระเพื่อปกครองสุโขทัยของกลุ่มชน ซึ่งต่อมาเป็นบรรพชนของคนไทยในปัจจุบัน


            พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรสุโขทัย
            เส้นทางคมนาคมและการค้าให้กำเนิดแคว้นสุโขทัย มีเส้นทางสำคัญสองเส้นทางคือเส้นทางข้ามหุบเขา ในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ และทิศทางตะวันออก - ตะวันตก เป็นเส้นทางเก่าแก่ใช้เดินทางกันมาแต่ครั้งโบราณ ระหว่างกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำโขง กับกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำน่าน และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน
            มีกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำโขงเคลื่อนย้ายไปตั้งถิ่นฐานบนเส้นทางสายเป็นหย่อม ๆ แล้วค่อย ๆ ทะยอยเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำน่าน บริเวณเขตจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาได้เกิดเป็นบ้านเมือง และได้กลายเป็นประชากรส่วนหนึ่งของแคว้นสุโขทัย
            เส้นทางแรกเชื่อมโยงผู้คนจากเขตเมืองหลวงพระบาง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) ลงใต้สู่ปากลาย ทุ่งยั้ง เชลียง และสุโขทัย อีกสายหนึ่งคือเส้นทางจากหลวงพระบาง ปัว น่าน แพร่ สุโขทัย ตาก ไปสุดทางที่ริมฝั่งทะเลอันดามันที่มะละแหม่ง
            เส้นทางข้ามหุบเขาสายตะวันออก - ตะวันตก เริ่มจากลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอิสานตอนบน รวมทั้งกลุ่มเมืองเวียงจันทน์ผ่านเทือกเขาภูพาน ในเขตจังหวัดอุดรธานี เข้าไปในเขตจังหวัดเลย ผ่านหุบเขาแถบอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ไปทางลำน้ำแควน้อย ซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำน่าน ในเขตอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เมื่อถึงลำน้ำน่านแล้ว ก็ล่องไปตามลำน้ำน่าน ผ่านเข้าเขตจังหวัดพิจิตร และนครสวรรค์ เข้าสู่บ้านเมืองเก่าสมัยทวาราวดี และลพบุรี บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
            ชาวไทยในภาคเหนือตอนล่างได้รวมตัวกันเป็นรัฐอิสระ มีความเจริญคู่เคียงกันมากับอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรอยุธยา มีศูนย์กลางการปกครองที่กรุงสุโขทัย ซึ่งไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง
            มีหลักฐานว่าพ่อขุนศรีนาวนำถุม ได้เป็นกษัตริย์ครองสองนคร คือทั้งเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย มีหลักฐานพอเชื่อได้ว่าเจ้านายในตระกูลศรีนาวนำถุม มีความสัมพันธ์กับตระกูลศรีโคตรบูรณ์ในลุ่มแม่น้ำโขงของภาคอีสานตอนบน ที่มีเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำเป็นเมืองสำคัญ นอกจากนั้นก็มีหลักฐานพอเชื่อได้ว่า ตระกูลของพ่อขุนบางกลางหาวมีเชื้อสายตระกูลเมืองน่าน และเมืองหลวงพระบาง และเชื่อมโยงไปถึงตระกูลสุพรรณบุรี ที่ครองแคว้นสุพรรณภูมิ ทางตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
            อาณาจักรสุโขทัย มีหลักฐานตั้งแต่สมัยพ่อขุนนาวนำถุม และชัดเจนขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว) ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๘๑ - ๑๘๒๒ ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ราชวงศ์พระร่วง) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา ๒๐๐ ปี จึงถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา
            อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ.๑๘๒๒ - ๑๘๔๑) ได้แผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยเจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งได้บ่งถึงความเจริญด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การทหาร กฎหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย และอื่น ๆ


            ประวัติศาสตร์ชุมชนเมืองเชลียง
            ชะเลียง ภาษาขอมแปลว่ายืน ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ วัดศรีชุม ได้บันทึกเหตุการณ์ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กล่าวถึงพ่อขุนนาวนำถุม เจ้าเมืองเชลียงว่า เป็นขุนในเมืองเชลียง ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้บันทึกถึงพระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า ทรงสถาปนาศิลาจารึกไว้ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงอีกหลักหนึ่งว่า จารึกอันหนึ่งมีในเมืองเชลียง
            เอกสารจดหมายเหตุอยุธยาได้กล่าวถึง เมือง เชลียง สุโขทัย ทุ่งย้าง บางยม สองแคว สระหลวง ชากังราว กำแพงเพชร
            ทางด้านตะวันตกของเมืองเชลียงเป็นเทือกเขาพระศรี มีวัดโบราณสร้างด้วยศิลาอยู่บนยอดเขาเทือกเขาพระศรีนี้ พระศิริมังคลาจารย์ผู้แต่งชินกาลมาลีปรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๐๕๙ เรียกนามภูเขานี้เป็นภาษาบาลีว่า สิริบรรพต
            เมืองเชลียงมีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองดังนี้
                -  ณ หมู่ที่ ๖ ตำบลศรีสัชนาลัย เมื่อปี พ.ศ.๑๕๐๓ - ๑๖๗๐ เป็นที่ตั้งของเมืองเชลียง
                -  สมัยสุโขทัย เรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า เมืองศรีสัชนาลัย
                -  เมื่อปี พ.ศ.๒๐๐๓ - ๒๐๑๗  อาณาจักรล้านนา สมัยพระเจ้าติโลกราชเรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า เมืองเชียงยืน
                -  พ.ศ.๒๐๑๗ - ๒๓๒๔  กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรีเรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า เมืองสวรรคโลก
                -  พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๓๗๘  กรุงรัตนโกสินทร์เรียกที่ตั้งจวนเจ้าเมืองโบราณ บริเวณวัดเชิงคีรี และตำบลท่าชัยว่า เมืองสวรรคโลก ปัจจุบันชาวบ้านคงเรียกว่า บ้านเมืองเก่า
                -  พ.ศ.๒๓๗๙ - ปัจจุบันเรียกที่ตั้งจวนเจ้าเมืองบริเวณหมู่บ้านวังไม้ขอนว่า เมืองสวรรคโลก ปัจจุบันคือตำบลสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
                -  พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๓๕  เรียกพื้นที่ตำบลสารจิตร ตำบลบ้านแก่ง ตำบลศรีสัชนาลัย และตำบลท่าชัยว่า เมืองวิเศษชัยสัตย์
                -  พ.ศ.๒๔๓๕ - ๒๔๗๐  พื้นที่ตำบลศรีสัชนาลัย และตำบลท่าชัย อยู่ในความปกครองของอำเภอสวรรคโลก
                -  พ.ศ.๒๔๕๖ - ๒๔๖๓  กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนชื่อตำบลเมืองเก่า เป็นตำบลศรีสัชนาลัย
                -  พ.ศ.๒๔๘๒  กระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนชื่ออำเภอหาดเสี้ยว เป็นอำเภอศรีสัชนาลัย
                -  พ.ศ.๒๕๒๖  กรมศิลปากร ประกาศจัดตั้งกลุ่มโบราณสถาน ตำบลท่าชัย ตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสวนจิตร ตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย


            ชุมชนอำเภอศรีสัชนาลัย
                -  พ.ศ.๒๔๒๘ - ๒๔๓๗  เรียกบริเวณบ้านปลายนา ตำบลบ้านตึกว่า เมืองด้ง
                -  พ.ศ.๒๔๓๗ - ๒๔๔๐  ปากห้วยแม่รากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเรียกว่า อำเภอด้ง
                -  พ.ศ.๒๔๔๐ - ๒๔๖๐  ตำบลหาดเสี้ยวเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ แต่ยังคงเรียกว่า อำเภอด้ง
                -  พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๘๒  เรียกนามอำเภอตามตำบลที่ตั้งอำเภอว่า อำเภอหาดเสี้ยว
                -  พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๕๑๐  ใช้นามอำเภอว่าศรีสัชนาลัย และอยู่ห่างจากเมืองศรีสัชนาลัยเก่า ประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ต่อมาใช้นามอำเภอว่าศรีสัชนาลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐


            โบราณสถาน และสถานที่สำคัญของอำเภอศรีสัชนาลัย  โบราณสถานก่อนที่ชุมชนไทยญวน ตำบลหาดเสี้ยว อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่น คนได้สร้างอุโบสถวัดหาดเสี้ยว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗ มีดังนี้
                -  วัดร้างสมัยสุโขทัย  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้สถาปนาเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษาตั้งชื่อวัดว่า วัดโบสถ์มณีราม มีอุโบสถเก่ากับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย มีจารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูป
                -  วัดร้างสมัยสุโขทัยอีกสองวัด ปัจจุบันไม่เหลือซาก
                -  วัดร้างสมัยสุโขทัยอยู่บนเขา ที่บ้านหาดสูง ปัจจุบันเป็นสำนักสงฆ์ชื่อว่า วัดภูธาตุเจดีย์
                -  วัดน้อย  อยู่ที่บ้านหาดสูง ชาวไทยพวนได้สร้างวิหารก่ออิฐถือปูนทับไปบนฐานวัดร้าง เป็นโบราณสถานสมัยสุโขทัย
                -  วัดโพธิทอง  อยู่ที่บ้านหาดสูง ชาวไทยพวนสถาปนาขึ้นเป็นวัด สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๖ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหาดสูง
                -  วัดโพธิชัย หรือวัดโพธิไทร  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหาดเสี้ยว จากศิลาจารึกที่ติดไว้ที่ฝาผนังอุโบสถ พบว่าอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๒๘๗ นับเป็นโบราณสถานสกุลช่างไทยพวน ที่เก่าแก่ที่สุดที่อยู่มาถึงปัจจุบัน กรมศิลปากรได้สำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ มีอาคาร อุโบสถ หอไตร เจดีย์ด้านทิศตะวันออก รวมสามรายการ ประตูโขงของวัด ๘ ประตู ถูกรื้อออกไปหมด ตามประเพณีไทยพวนเรียกชื่อประตูทั้งแปดทิศ และมีความหมายดังนี้
            ประตูซ้ำโกรน ทิศพายัพ หมายถึงหนู  ประตูโงนงก ทิศอุดร หมายถึงช้าง  ประตูชกเกวียน ทิศอิสาน หมายถึงวัว  ประตูเหียนแอ่น ทิศบูรพา หมายถึงครุฑ  ประตูแว่นโต ทิศอาคเนย์ หมายถึงสิงห์โต  ประตูโสภาค ทิศทักษิณ  ประตูลาภฟาน ทิศหรดี หมายถึงเสือ และประตูหารน้ำ ทิศประจิม หมายถึง พญานาค
                -  วัดบ้านใหม่  ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมตรงกันข้ามกับวัดโบสถ์มณีราม แต่เนื่องจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง ต้องย้ายวัดลึกเข้าไปจากฝั่ง
                -  วัดเวียงชัย  ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดแม่ราก ตามชื่อหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐
                -  หมู่บ้านข่า  ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเกาะระเบียง อยู่ในเขตตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย


            ชุมชนเมืองด้ง เมืองด้งอยู่ในเขตตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมืองด้งได้ชื่อมาจาก เจ้าหมื่นด้ง โอรสเจ้าหมื่นโลกสามล้าน เจ้านครลำปาง ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๓ มีนามว่าเจ้าหาญแต่ท้อง เมื่อเจริญชันษาแล้วได้เป็นแม่ทัพของอาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้าหมื่นด้ง เจ้าเมืองนครลำปาง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๘๖ และได้รักษาการเจ้าเมืองเชียงชื่น ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๐๐๓ - ๒๐๑๒ อีกด้วย ในห้วงเวลานี้ คงจะได้มาตั้งกองกำลังควบคุมเมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่น ที่ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย บริเวณวัดต้นสนโพธาราม
            คำว่าเมืองด้ง ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ.๒๔๒๘ ใบบอกเมืองสวรรคโลก จ.ศ.๑๒๔๗ แสดงว่าเมืองด้งคง จะได้รับการยกฐานะชุมชนบริเวณบ้านตึกขึ้นเป็นเมือง ตำแหน่งเจ้าเมืองมียศเป็นที่พระเมืองด้ง ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองสวรรคโลก ชื่อเมืองด้งมีความเป็นมา ดังนี้
                -  พ.ศ.๒๐๐๓ - ๒๐๑๗ เป็นที่ตั้งกองกำลังควบคุมเมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่นของเจ้าหมื่นด้งเจ้าเมืองนครลำปาง
                -  พ.ศ.๒๔๓๗ - ๒๔๔๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอด้ง
                -  พ.ศ.๒๔๔๑ - ๒๔๕๖ ตำบลบ้านตึก เป็นที่ตั้งสาขาของที่ว่าการอำเภอด้ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย
            ชุมชนอำเภอสวรรคโลก ชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ล้อมรอบด้วยวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดจวน ประวัติศาสตร์ชุมชนแห่งนี้เกี่ยวข้องกับเมืองเชลียง เมืองศรีสัชนาลัย เมืองเชียงชื่น และเมืองสวรรคโลกเก่า เป็น เมืองลูกหลวงในสมัยสุโขทัย เป็นเมืองพระยามหานคร มีศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ เท่ากับเมืองสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครศรีธรรมราช ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมัยกรุงธนบุรีเจ้าเมืองสวรรคโลกเป็นเจ้าพญาสวรรคโลก ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๔ เจ้าเมืองสวรรคโลกเป็นที่พระสวรรคโลก
            หลังจาก ปี พ.ศ.๒๔๓๕ ทางกรุงเทพ ฯ ได้เริ่มส่งข้าราชการมาบริหารการปกครองควบคู่กับตำแหน่งขุนนางสืบตระกูล ทายาทตระกูลวิชิตนาค นามเดิมชื่อมั่งเป็นเจ้าเมืองสวรรคโลก ลำดับที่สี่ เรียงกันดังนี้
                -  พญาสวรรคโลก (นาค - ต้นตระกูลวิชิตนาค) พ.ศ.๒๓๗๘ - ๒๓๘๕
                -  พญาสวรรคโลก (นก ) ลูกพญาสวรรคโลก (นาค) พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๔๑๑
                -  พระยาสวรรคโลก (ด้วง) ลูกพระยาสวรรคโลก (นก) พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๓๓
                -  พระยาสวรรคโลก (มั่ง  วิชิตนาค) ลูกพระยาสวรรคโลก (ด้วง) พ.ศ.๒๔๓๓ - ๒๔๔๕
            เมืองสวรรคโลกใหม่ย้ายจากเมืองสวรรคโลกเก่ามาอยู่ที่บ้านวังไม่ขอน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙ เมืองสวรรคโลกได้ย้ายไปสามครั้งแล้ว ตัวเมืองเดิมเป็นอย่างเมืองจริง ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำยม หรือแม่น้ำธานี มีกำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงอย่างแน่หนา เมืองสวรรคโลกที่ว่ามาธรรมราชสร้าง เป็นเมืองเดิมทิ้งร้างแล้ว เมืองได้ลงมาตั้งใหม่ที่บ้านท่าชัย ซึ่งบัดนี้เรียกว่าเมืองเก่า อยู่ใต้เมืองเดิมลงมาคุ้งหนึ่ง ต่อมาก็ทิ้งอีก แล้วมาตั้งที่บ้านวังไม้ขอน อยู่ใต้เมืองเก่าลงไปมาก
            เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๗ ยังมิได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่ตั้งเจ้าเมือง มีแต่หลวงยกบัตรรักษาการแทนเจ้าเมืองสวรรคโลก เมืองสวรรคโลกมีเมืองขึ้นสามเมืองคือ
                เมืองบางขลัง  ปัจจุบันเป็นตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก ชื่อเมืองนี้ปรากฏตั้งแต่สมัยเชลียงแล้ว โบราณสถานสำคัญของเมืองนี้ได้แก่วัดโบสถ์เมืองบางขลัง วัดใหญ่ชัยมงคล และหอรบทุ่งเสลี่ยม เป็นต้น หลังจากปี พ.ศ.๒๕๐๑ ได้แยกพื้นที่ของเมืองบางขลังตั้งเป็นอำเภอทุ่งเสลี่ยม
                เมืองทุ่งยั้ง  อยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งของวัดพระแท่นศิลาอาสน์ และวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองทางบางโพเป็นเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ ยกฐานะเมืองพิชัยจากเมืองตรีเป็นเมืองโท ตัดพื้นที่เมืองทุ่งยั้งในความปกครองของเมืองสวรรคโลก ให้อยู่ในความปกครองของเมืองพิชัยเช่นเดียวกับเมืองอุตรดิตถ์ หลังจาก ปี พ.ศ.๒๔๕๙ ได้ยกเมืองอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ พื้นที่เมืองทุ่งยั้งจึงอยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่นั้นมา
                เมืองบางยม  ปัจจุบันเป็นตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก ปรากฏชื่อเมืองนี้ครั้งแรกในเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ.๒๓๘๗ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๓๕ เมืองสวรรคโลกมีเมืองในปกครองหกเมืองคือ เมืองด้ง เมืองวิเศษชัยสัตย์ เมืองบางยม เมืองศรีนพมาศ เมืองพิรามรง และเมืองบางขลัง


            ชุมชนเมืองสุโขทัยเก่า  ปัจจุบันอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง ฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เจ้าเมืองสุโขทัย ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ เท่ากับตำแหน่งสำคัญ ๘ ตำแหน่งในครั้งนั้นคือ พระมหาอุปราช เจ้าพระยามหาเสนาสมุหพระกลาโหม เจ้าพญาจักรีสมุหนายก เจ้าพญาสุรสีห์เจ้าเมืองพิษณุโลก เจ้าพญาศรีธรรมราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองสวรรคโลก และเจ้าเมืองสุโขทัย
            ในสมัยธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระเชียงเงินเจ้าเมืองเชียงเงิน (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองตาก) เป็นผู้รั้งตำแหน่งพญาสุโขทัย
            ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระวิเชียรบุรี (ปัจจุบันเป็นชื่ออำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์) ดำรงตำแหน่งพญาสุโขทัย
            พ.ศ.๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้หลวงณรงอาสา กองส่วยไม้ขอนสัก บุตรพญาสุโขทัยคนเก่าเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย
            พระยาศรีสัชนาลัย (เลี้ยง  ศิริปาละ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยคนแรก
            เมืองสุโขทัยย้ายจากเมืองเก่ามาอยู่ธานีตั้งแต่เมื่อใด ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน
            การอนุรักษ์เมืองสุโขทัยเก่าให้เป็นเมืองประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ จอมพล. ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ไปตรวจราชการถึงเมืองสุโขทัยเก่า พบโบราณสถานอันสำคัญอยู่ในสภาพปรักหักพัง สมควรที่จะฟื้นฟูบูรณะให้เป็นเมืองประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของประเทศ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะเมืองสุโขทัยเก่าขึ้นมาในปีเดียวกันนั้น ต่อมาได้มีการตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรได้รับงบประมาณขุดแต่งบูรณะในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๘ - ๒๕๑๒ เป็นส่วนใหญ่
            ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีการใช้คำว่า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นครั้งแรก รัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาให้จังหวัดสุโขทัยมากเป็นพิเศษกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา


            ชุมชนเมืองราชธานี  ตั้งอยู่ที่ตำบลราชธานี อำเภอเมือง ฯ ชาวบ้านเรียกกันเป็นสามัญว่า ธานี
            คำว่าธานีซึ่งเป็นชื่อตำบลอยู่ปัจจุบัน เข้าใจว่ามาจากคำว่า ทะเลหลวง ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหงที่กล่าวว่า ด้านตะวันออกของตัวเมืองสุโขทัย เป็นที่ตั้งของทะเลหลวง ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำลำพัน แม่น้ำฝากระดาน คลองสามพวง ไหลมารวมกันเป็นทะเลหลวง แล้วไหลออกไปรวมกับแม่น้ำยมเก่าที่อำเภอกงไกรลาศ
            คำว่าธานี เป็นชื่อแม่น้ำท่าแพเดิมหรือแม่น้ำยมในปัจจุบัน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกแม่น้ำด้านตะวันออกกำแพงเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๐๐๒ ว่า แม่น้ำราชธานี
            ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๗๕ - ๒๓๗๘ ปรากฏชื่อเมืองราชธานีเป็นชื่อเมืองขึ้นของเมืองสุโขทัย
            ชื่ออำเภอเมือง ฯ มีลำดับความเป็นมาคือ ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๔๔๒ - ๒๔๕๙ เรียกว่าอำเภอในเมือง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๗๔ เรียกอำเภอธานี ตามชื่อตำบลธานี พ.ศ.๒๔๗๔ - ๒๔๘๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อำเภอธานีใช้ชื่ออำเภอว่า อำเภอสุโขทัยธานี จังหวัดสวรรคโลก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ กระทรวงมหาดไทยยุบ จังหวัดสวรรคโลก และอำเภอเมืองสวรรคโลก เป็นอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัยธานีจึงเปลี่ยนเป็น อำเภอเมืองสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน




            ชุมชนอำเภอศรีสำโรง  พื้นที่ของอำเภอศรีสำโรงมีชุมชนโบราณสามแห่งด้วยกัน คือ บ้านสระบัว ตำบลวังใหญ่ บ้านวังมีด (๑) ตำบลนาขุนไกร และบ้านวังมีด (๒) ตำบลขุนไกร นอกจากนี้วัดโรงฆ้อง และวัดป่าขมิ้น ตำบลเกาะตาเลี้ยง เป็นวัดโบราณอยู่ริมลำน้ำยมสายเก่า แสดงถึงการมีชุมชนในอดีตอยู่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ด้วย
            โบราณสถานเมืองศรีสำโรง  ได้แก่ วัดสำโรงทอง อยู่ที่บ้านท่ามักกะสัง ตำบลราวต้นจันทน์ วัดโรงฆ้อง ปัจจุบันชื่อวัดวงฆ้อง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมเก่า ตำบลเกาะตาเลี้ยง เป็นวัดที่มีอายุประมาณ ๗๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุ อันได้แก่ พระพุทธรูปโบราณสี่องค์เดิมอยู่ที่วัดโบสถ์ เมืองบางขลัง ชาวบ้านได้อาราธนามาประดิษฐานที่วัดบ้านซ่าน ตำบลบ้านซ่าน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ ระฆังโบราณของถ้ำระฆัง ตำบลนาขุนไกร และได้นำมาถวายไว้ที่วัดบ้านซ่าน พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย อยู่ที่วัดคลองโป่ง ตำบลคลองตาล




            ชุมชนอำเภอกงไกรลาศ  อยู่ที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอกงไกรลาศ เดิมคงจะเป็นเมืองกงครามในความปกครองของเมืองสุโขทัย และปรากฏชื่อเมืองกงไกรลาศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            ที่ว่าการอำเภอกงไกรลาศหลังแรกตั้งอยู่บนเกาะกง ในเขตตำบลกงในปัจจุบัน พื้นที่อำเภอกงไกรลาศมีวัดร้างมากเกือบ ๗๐ วัด เช่น วัดทุ่งเนินพยอม หรือวัดป่าแฝก อยู่ในเขตตำบลป่าแฝก มีโบราณสถานคือ ฐานวิหาร ฐานอุโบสถ กำแพงแก้ว หอไตร เตาเผาสังคโลกที่ระบายความร้อนแนวนอน


            ชุมชนอำเภอคีรีมาศ  อยู่ในเขตตำบลทุ่งหลวง หนึ่งแห่งและตำบลศรีคีรีมาศอีกแห่งหนึ่ง ชื่อเมืองคีรีมาศมีปรากฏอยู่ในบันทึกวัดพระเชตุพน ตอนทำเนียบหัวเมือง ที่จัดทำขึ้นระหว่าง ปี พ.ศ.๒๓๗๕ - ๒๓๗๘ เป็นเมืองในความปกครองของเมืองสุโขทัย เจ้าเมืองเป็นที่พระคีรีมาศ


            ชุมชนอำเภอบ้านด่านลานหอย  จากหลักฐานทางโบราณคดี พบคันดินและคูน้ำซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณ อยู่ในเขตตำบลวังน้ำขาวสองแห่ง จากจำนวน ๑๖ แห่งในเขตจังหวัดสุโขทัย เขาค่ายและบ้านด่าน สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นด่านโบราณ ระฆังโบราณที่เก็บรักษาอยู่ที่วัดสังฆาราม หรือวัดบ้านด่าน ตำบลบ้านด่าน นำมาจากถ้ำระฆังตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง
            ชื่อเดิมของชุมชนนี้ชื่อ บ้านด่านกับบ้านลานคอย เมื่อมีการแบ่งพื้นที่อำเภอเมืองสุโขทัย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ จึงนำเอาชื่อหมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดมารวมกันเป็นชื่ออำเภอ แต่ชื่อลานคอยได้กลายไปเป็นลานหอย
            เขาค่าย บ้านด่าน และบ้านคอย  อยู่ระหว่างเมืองสุโขทัย และเมืองตาก เมื่อเกิดศึกพม่าที่ยกมาทางด่านแม่ละเมา ผ่านเมืองตาก เป็นหน้าที่ของเจ้าเมืองตาก จะต้องรายงานให้หมู่บ้านลานคอยทราบ แล้วหมู่บ้านลานคอยจะต้องรับส่งม้าเร็วไปรายงานบ้านด่าน บ้านด่านต้องรับส่งม้าเร็วไปส่งข่าวศึกกับเมืองสุโขทัย ให้เตรียมป้องกันเมือง สันนิษฐานว่า ถ้าทัพพม่ายกผ่านเข้ามาถึงเมืองตาก ราษฎรบ้านลานคอย และบ้านด่าน จะต้องรีบอพยพครัวเรือน และข้าวเปลือก เข้าไปอยู่ในกำแพงเมืองสุโขทัย ส่วนไพร่ชายซึ่งมีหน้าที่ต้องเป็นทหารทุกคน คงต้องเตรียมอาวุธประจำกายมาป้องกันข้าศึกอยู่บริเวณเขาค่าย ปัจจุบันบนเขาค่าย ยังคงมีกองหินก่อเป็นเชิงเทินเหลืออยู่เป็นแนวยาวตลอดภูเขา

ปัจจัยที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาราจักรอยุธยา

1.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรือง
1.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

ชุมชนไทยก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา
            อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะก่อตั้งขึ้นในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ดินแดนของประเทศในอดีต เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณหลายแห่ง ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี  ฟูนัน ศรีวิชัย และนครศรีธรรมราช เป็นต้น   สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชนชาติมอญและขอม
            การก่อกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1780 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ทำสงครามขับไล่ชนชาติขอม   รวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้ง อาณาจักรสุโขทัยขึ้น ซึ่งในบริเวณดินแดนใกล้เคียงดังกล่าว ก็ยังมีผู้นำคนไทยที่ตั้งตัวเป็นอาณาจักรอิสระอีกแห่งหนึ่ง คือ อาณาจักรล้านนา
            การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้วในขณะนั้นแคว้นอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ
           1. แคว้นอู่ทองเป็นชุมชนของคนไทย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   มีการค้นพบซากเมืองโบราณและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในเขตตัวเมืองอู่ทอง(อยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) และในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
           2. ศูนย์กลางความเจริญของแคว้นอู่ทองอยู่ที่ตัวเมืองอู่ทอง จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า เมืองอู่ทอง เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร) จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 13 และถือว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่าเมืองโบราณที่นครปฐม
           3. การค้นพบศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้สันนิษฐานว่า ก่อนในช่วงดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้ หลังจากนั้น เมืองอู่ทอง ได้เสื่อมอำนาจและลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 เมืองสุพรรณบุรี กลับมีความเจริญเข้ามาแทนที่
            4.แค้วนอู่ทองหรือสุพรรณบุรี อาจเป็นเมืองเดิมของพระเจ้าอู่ทองก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง ทรงพาผู้คนอพยพหนีโรคระบาดจากแคว้นสุพรรณภูมิมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศณีอยุธยา และต่อมาทรงตั้งให้ ขุนหลวงพะงั่ว ญาติผู้ใหญ่ของพระองค์ไปครองเมืองสุพรรณบุรีแทนแคว้นละโว้หรือลพบุรี
             1.เมืองละโว้เป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 โดย "พระยากาฬวรรณดิศราช" กษัตริย์นครปฐมเป็นผู้สั่งให้สร้างเมืองละโว้ขึ้น ในพ.ศ. 1002 แต่ทั้งเมืองละโว้ นครปฐม อู่ทอง และสุพรรณภูมิ ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ในช่งพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งสิ้น โดยละโว้มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงทางด้านตะวันออกของอาณาจักร
            2.แคว้นละโว้มีความเจริญทางวัฒนธรรมและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ความเจริญของละโว้แผ่ขยาย ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณปากอ่าวไทยขึ้นไปตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออกจนถึง เมืองนครสวรรค์และเมืองหริภุญไชย
            3.แคว้นละโว้เริ่มรับวัฒนธรรมฮินดูและพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานจากเขมรอย่างมาก ตั้งแต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยเชื่อว่าแคว้นละดว้ตกอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของเขมร เพราะก่อนหน้านี้ละโว้เคยส่งทูตไปเมืองจีนอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจาก พ.ศ.1544 ก็ไม่ได้ส่งไปอีกเลย
           4.แคว้นละโว้ย้ายราชธานีใหม่ ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 17
                    4.1 แคว้นละโว้ถูกคุกคามโดยกองทัพของพระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม(พม่า)เมื่อประมาณ พ.ศ. 1601
                    4.2 พระนารายณ์กษัตริย์ของแคว้นละโว้ ได้ย้ายราชธานีใหม่มาตั้งตรงปากแม่น้ำลพบุรี (บริเวณที่แม่น้ำลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1625 และตั้งชื่อว่า "กรุงอโยธยา" ส่วนเมืองละโว้เดิมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ลพบุรี" และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา ตั้งแต่บัดนั้น
            5.แค้วนอโยธยามีอำนาจปกครองในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19  สันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้อพยพพาผู้คนมาตั้งเมืองใหม่ที่ หนองโสน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก สถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 และยกฐานะ ลพบุรี ให้เป็นเมืองลูกหลวงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
        1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากที่ใด มีข้อสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว 3 ประการ ดังนี้
            1.1 มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอู่ทอง  แคว้นสุพรรณภูมิ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1890 เมืองอู่ทองซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำจระเข้สามพัน ประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) ใช้เวลาสร้างเมืองใหม่ 3 ปี และสถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งใหม่ ใน พ.ศ.1893
            1.2 มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอโยธยา บริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นละโว้ โดยพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพไพร่พลทิ้งเมืองอโยธยา หนีภัยอหิวาตกโรคระบาด มาสร้างเมืองใหม่เช่นกัน
            1.3 มีฐานะเป็นพระราชโอรสของแคว้นละโว้ พระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นละโว้ และมอบหมายให้พระเจ้าอู่ทองไปครองเมืองเพชรบุรี ในฐานะเมืองลูกหลวง ครั้งเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระเจ้าอู่ทองจึงเสด็จกลับมาครองราชวมบัติในแคว้นละโว้ และต่อมาได้ย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา
        2. การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 เป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเสื่อมอำนาจลง ตรงกับรัชการพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ในขณะที่ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็ยังคงมีแคว้นของคนไทยตั้งบ้านเมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในที่สุดปัจจัยที่สนับสนุนให้การสถาปนากรุงศรีอยุธยาประสบความสำเร็จ
        1. ความเข้มแข็งทางการทหาร สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นละโว้ หรือดฃเป็นเจ้าเมืองที่มาจากเมืองอู่ทองอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีกำลังทหารเข้มแข็ง มีกำลังไพร่พลมาก และมีลักษณะเป็นผู้นำทางการเมืองที่ผู้คนยอมรับ จึงให้การสนับสนุนในด้านกำลังคนอย่างเต็มที่
        2. การดำเนินนโยบายทางการทูตที่เหมาะสมกับดินแดนใกล้เคียง พระเจ้าอู่ทองได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ จึงเป็นการเชื่อมโยงแค้วนละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทั้งสองอาณาจักรลดการแข่งขันทางการเมืองซึ่งกันและกัน
        3. การปลอดอำนาจทางการเมืองภายนอก  ในขณะนั้น อาณาจักรสุโขทัยของคนไทยด้วยกันที่อยู่ทางตอนเหนือ และอาณาจักรเขมร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง จึงไม่สามารถสกัดกั้นการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ของคนไทยได้
        4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา   ป่าสักและลพบุรี   ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป
        5. ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศของอยุธยาเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ  ประกอบกับอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการคมนาคมทางน้ำสะดวกทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้ง่ายการสร้างความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา
        ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพยายามสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักร โดยการดำเนินการทางการเมือง ดังต่อไปนี้
        1. การขยายอำนาจไปยังอาณาจักรเขมร เนื่องจากเขมรเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาก่อน มีอาณาจักรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอยุธยา ทำให้คนไทยเกิดความหวาดระแวงไม่ปลอดภัย
            1.1 รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพอยุธยาไปตีเขมร  2   ครั้ง ใน พ .ศ. 1895 และ 1896 ทำให้เขมรเสื่อมอำนาจลง ต้องย้ายเมืองหลวงหนี ทางฝ่ายไทยได้กวาดต้อนพราหมณ์ในราชสำนักเขมรมายังกรุงศรีอยุธยา เป็นผลให้เกิดการแพร่หลาย ศิลปวัฒนธรรมเขมรในไทยมากขึ้น
            1.2 รัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (สมเด็จพระเจ้าสามพระยา) เขมรต้องตกเป็นประเทศราชของไทย ทางอยุธยายินยอมให้เขมรได้ปกครองตนเอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี
        2. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เหตุการณ์สำคัญดังนี้
            2.1 รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง กองทัพอยุธยาตี เมืองสรรค์(ชัยนาท) เมืองหน้าด่านของสุโขทัยไว้ได้ใน พ .ศ. 1900  แต่พระยาลิไทย กษัตริย์สุโขทัยได้ส่งทูตมาเจรจาขอคืน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองยังดำเนินไปด้วยดี
            2.2 รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ยกกองทัพไปตีอาณาจักรสุโขทัยหลายครั้ง ใน พ.ศ. 1921 ได้เข้ายึดเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) เมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย พระยาไสยลือไทย กษัตริย์สุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมไม่คิดต่อสู้ ทำให้อยุธยามีอำนาจเหนืออาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้น โดยยินยอมให้สุโขทัยปกครองตนเองในฐานะประเทศราช
            2.3 รัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้เสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ยปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชวงศ์ของสุโขทัยด้วยกัน ใน พ.ศ. 1962 จนเหตุการณ์ยุติด้วยดี ในรัชกาลนี้สุโขทัยกับอยุธยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันมากขึ้น เมื่อมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าสามพระยาพระโอรสแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระธิดาแห่งกรุงสุโขทัย
            2.4 รัชกาลพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (สมเด็จเจ้าสามพระยา) โปรดให้พระราชโอรส พระราเมศวร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ในฐานะที่ทรงมีเชื้อสายสุโขทัย ขึ้นปกครองอาณาจักรสุโขทัย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ พิษณุโลก   เป็นผลให้สุโขทัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1983 เป็นต้นมา
        3. การขยายดินแดนให้กว้างขวาง ทำให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของคนไทย
        อาณาจักรอยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนบนและตอนล่าง กลายเป็นอาณาจักรของคนไทยที่เข้มแข็งที่สุด และเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมืองของคนไทยในสมัยนั้นอย่างแท้จริง มีอาณาเขต ดังต่อไปนี้
            3.1 ทิศเหนือ จรดอาณาจักรล้านนา และสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยด้วยกัน ต่อมาสุโขทัยถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าสลับกัน
            3.2 ทิศตะวันออก จรดอาณาจักร เขมรหรือขอม ซึ่งบางสมัยต้องตกเป็นประเทศราชของไทย และบางสมัยก็แข็งเมืองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อไทย
            3.3 ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติลาว มีความเข้มแข็งทางการเมืองรองจากอยุธยา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
            3.4 ทิศตะวันตก อยุธยามีอำนาจครอบครองอาณาจักรมอญ แถบเมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด แต่ต่อมาก็ต้องสูญเสียให้แก่พม่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21
            3.5 ทิศใต้ อยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมะลายูบางเมือง เช่น ปัตตานี กลันตัน และไทรบุรี เป็นต้น

1. ข้อความที่ค้นคว้ามาแสดงถึงช่วงเวลา และยุคสมัยใด

ตอบ ประมาณ พ.ศ.18932.

2.ยุคสมัยที่เกิดเหตุการณ์นั้น มีลักษณะเด่นอย่างไร

ตอบ พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม)เพราะประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก

3. การแบ่งเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษาประวัติศาสตร์
ตอบ ทำให้สะดวกต่อการศึกษาและเข้าใจได้ง่ายในเหตุการณ์ในช่วงเวลาต่างๆของประวัติศาสตร์

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

2.2 การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา


          การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้ว
แคว้นอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ

            แคว้นอู่ทองเป็นชุมชนของคนไทย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   มีการค้นพบซากเมืองโบราณและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในเขตตัวเมืองอู่ทอง (อยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) และในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี

            ศูนย์กลางความเจริญของแคว้นอู่ทองอยู่ที่ตัวเมืองอู่ทอง จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า เมืองอู่ทอง เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร) จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 13 และถือว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่าเมืองโบราณที่นครปฐม

            การค้นพบศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้สันนิษฐานว่า ก่อนในช่วงดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้ หลังจากนั้น เมืองอู่ทอง ได้เสื่อมอำนาจและลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 เมืองสุพรรณบุรี กลับมีความเจริญเข้ามาแทนที่

            แค้วนอู่ทองหรือสุพรรณบุรี อาจเป็นเมืองเดิมของพระเจ้าอู่ทองก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง ทรงพาผู้คนอพยพหนีโรคระบาดจากแคว้นสุพรรณภูมิมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา และต่อมาทรงตั้งให้ ขุนหลวงพะงั่ว ญาติผู้ใหญ่ของพระองค์ไปครองเมืองสุพรรณบุรีแทนแคว้นละโว้หรือลพบุรีแคว้นละโว้หรือลพบุรี
             เมืองละโว้เป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 โดย "พระยากาฬวรรณดิศราช" กษัตริย์นครปฐมเป็นผู้สั่งให้สร้างเมืองละโว้ขึ้น ในพ.ศ. 1002 แต่ทั้งเมืองละโว้ นครปฐม อู่ทอง และสุพรรณภูมิ ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งสิ้น โดยละโว้มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงทางด้านตะวันออกของอาณาจักร

            แคว้นละโว้มีความเจริญทางวัฒนธรรมและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ความเจริญของละโว้แผ่ขยาย ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณปากอ่าวไทยขึ้นไปตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออกจนถึง เมืองนครสวรรค์และเมืองหริภุญไชย

            แคว้นละโว้เริ่มรับวัฒนธรรมฮินดูและพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานจากเขมรอย่างมาก ตั้งแต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยเชื่อว่าแคว้นละโว้ตกอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของเขมร เพราะก่อนหน้านี้ละโว้เคยส่งทูตไปเมืองจีนอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจาก พ.ศ.1544 ก็ไม่ได้ส่งไปอีกเลย

            แคว้นละโว้ย้ายราชธานีใหม่ ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 17

 แคว้นละโว้ถูกคุกคามโดยกองทัพของพระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม (พม่า) เมื่อประมาณ พ.ศ. 1601
 พระนารายณ์กษัตริย์ของแคว้นละโว้ ได้ย้ายราชธานีใหม่มาตั้งตรงปากแม่น้ำลพบุรี (บริเวณที่แม่น้ำลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1625 และตั้งชื่อว่า "กรุงอโยธยา" ส่วนเมืองละโว้เดิมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ลพบุรี" และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา ตั้งแต่บัดนั้น


กรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา

            แค้วนอโยธยามีอำนาจปกครองในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19  สันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้อพยพพาผู้คนมาตั้งเมืองใหม่ที่ หนองโสน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก สถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 และยกฐานะ ลพบุรี ให้เป็นเมืองลูกหลวงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

            สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากที่ใด มีข้อสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว 3 ประการ ดังนี้

มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอู่ทอง แคว้นสุพรรณภูมิ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1890 เมืองอู่ทองซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำจระเข้สามพัน ประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) ใช้เวลาสร้างเมืองใหม่ 3 ปี และสถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งใหม่ ใน พ.ศ.1893
 มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอโยธยา บริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นละโว้ โดยพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพไพร่พลทิ้งเมืองอโยธยา หนีภัยอหิวาตกโรคระบาด มาสร้างเมืองใหม่เช่นกัน
มีฐานะเป็นพระราชโอรสของแคว้นละโว้ พระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นละโว้ และมอบหมายให้พระเจ้าอู่ทองไปครองเมืองเพชรบุรี ในฐานะเมืองลูกหลวง ครั้งเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระเจ้าอู่ทองจึงเสด็จกลับมาครองราชวมบัติในแคว้นละโว้ และต่อมาได้ย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา
            การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 เป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเสื่อมอำนาจลง ตรงกับรัชการพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ในขณะที่ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็ยังคงมีแคว้นของคนไทยตั้งบ้านเมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในที่สุดปัจจัยที่สนับสนุนให้การสถาปนากรุงศรีอยุธยาประสบความสำเร็จ

ปัจจัยที่สนับสนุนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
        1. ความเข้มแข็งทางการทหาร สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นละโว้ หรือดเป็นเจ้าเมืองที่มาจากเมืองอู่ทองอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีกำลังทหารเข้มแข็ง มีกำลังไพร่พลมาก และมีลักษณะเป็นผู้นำทางการเมืองที่ผู้คนยอมรับ จึงให้การสนับสนุนในด้านกำลังคนอย่างเต็มที่

        2. การดำเนินนโยบายทางการทูตที่เหมาะสมกับดินแดนใกล้เคียง พระเจ้าอู่ทองได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ จึงเป็นการเชื่อมโยงแค้วนละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทั้งสองอาณาจักรลดการแข่งขันทางการเมืองซึ่งกันและกัน

        3. การปลอดอำนาจทางการเมืองภายนอก ในขณะนั้น อาณาจักรสุโขทัยของคนไทยด้วยกันที่อยู่ทางตอนเหนือ และอาณาจักรเขมร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง จึงไม่สามารถสกัดกั้นการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ของคนไทยได้

        4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา   ป่าสักและลพบุรี   ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป

        5. ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศของอยุธยาเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ   ประกอบกับอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการคมนาคมทางน้ำสะดวกทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้ง่ายการสร้างความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา

           ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพยายามสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักร โดยการดำเนินการทางการเมือง ดังต่อไปนี้

1. การขยายอำนาจไปยังอาณาจักรเขมร เนื่องจากเขมรเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาก่อน มีอาณาจักรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอยุธยา ทำให้คนไทยเกิดความหวาดระแวงไม่ปลอดภัย

รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพอยุธยาไปตีเขมร  2   ครั้ง ใน พ .ศ. 1895 และ 1896 ทำให้เขมรเสื่อมอำนาจลง ต้องย้ายเมืองหลวงหนี ทางฝ่ายไทยได้กวาดต้อนพราหมณ์ในราชสำนักเขมรมายังกรุงศรีอยุธยา เป็นผลให้เกิดการแพร่หลาย ศิลปวัฒนธรรมเขมรในไทยมากขึ้น
รัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (สมเด็จพระเจ้าสามพระยา) เขมรต้องตกเป็นประเทศราชของไทย ทางอยุธยายินยอมให้เขมรได้ปกครองตนเอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี
2. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เหตุการณ์สำคัญดังนี้

รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง กองทัพอยุธยาตี เมืองสรรค์(ชัยนาท) เมืองหน้าด่านของสุโขทัยไว้ได้ใน พ .ศ. 1900  แต่พระยาลิไทย กษัตริย์สุโขทัยได้ส่งทูตมาเจรจาขอคืน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองยังดำเนินไปด้วยดี
รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ยกกองทัพไปตีอาณาจักรสุโขทัยหลายครั้ง ใน พ.ศ. 1921 ได้เข้ายึดเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) เมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย พระยาไสยลือไทย กษัตริย์สุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมไม่คิดต่อสู้ ทำให้อยุธยามีอำนาจเหนืออาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้น โดยยินยอมให้สุโขทัยปกครองตนเองในฐานะประเทศราช
รัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้เสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ยปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชวงศ์ของสุโขทัยด้วยกัน ใน พ.ศ. 1962 จนเหตุการณ์ยุติด้วยดี ในรัชกาลนี้สุโขทัยกับอยุธยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันมากขึ้น เมื่อมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าสามพระยาพระโอรสแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระธิดาแห่งกรุงสุโขทัย
รัชกาลพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (สมเด็จเจ้าสามพระยา) โปรดให้พระราชโอรส พระราเมศวร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ในฐานะที่ทรงมีเชื้อสายสุโขทัย ขึ้นปกครองอาณาจักรสุโขทัย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ พิษณุโลก   เป็นผลให้สุโขทัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1983 เป็นต้นมา
3. การขยายดินแดนให้กว้างขวาง ทำให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของคนไทย  อาณาจักรอยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนบนและตอนล่าง กลายเป็นอาณาจักรของคนไทยที่เข้มแข็งที่สุด และเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมืองของคนไทยในสมัยนั้นอย่างแท้จริง มีอาณาเขต ดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ จรดอาณาจักรล้านนา และสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยด้วยกัน ต่อมาสุโขทัยถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าสลับกัน
ทิศตะวันออก จรดอาณาจักร เขมรหรือขอม ซึ่งบางสมัยต้องตกเป็นประเทศราชของไทย และบางสมัยก็แข็งเมืองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อไทย
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติลาว มีความเข้มแข็งทางการเมืองรองจากอยุธยา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
 ทิศตะวันตก อยุธยามีอำนาจครอบครองอาณาจักรมอญ แถบเมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด แต่ต่อมาก็ต้องสูญเสียให้แก่พม่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21
ทิศใต้ อยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมะลายูบางเมือง เช่น ปัตตานี กลันตัน และไทรบุรี เป็นต้น