อ่านข่าว

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา

16 ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา
                    ความหมาย
คำว่า “วัฒนธรรม” มาจากคำสองคำ คำว่า “วัฒน” จากคำศัพท์ วฑฺฒน” ในภาษาบาลี หมายถึงความเจริญ ส่วนคำว่า “ธรรม” มาจากคำศัพท์ “ธรฺม” ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความดี เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า “วัฒนธรรม” หมายถึงความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
วัฒนธรรม    หมายถึง ( น. ) สิ่งที่นำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะเช่น วัฒนธรรมพื้นบ้านวัฒนธรรมชาวเขา
วัฒนธรรม  หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์ในแต่ละสังคมได้สร้างสรรค์ขึ้นมา  เพื่ออำนวย
ความสะดวกในการดำเนินชีวิต  หรือสนองความต้องการของสังคมและได้ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ปฏิบัติสืบต่อกันไป  โดยได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ในสังคม
วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความ
กลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
ภูมิปัญญา  หมายถึง  [พูม–] น. พื้นความรู้ความสามารถ.
ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญา  หมายถึง  ความรู้  ทักษะ  ความเชื่อ  และพฤติกรรมของคนไทย  โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบุคคล  ชุมชนและสังคม  ตลอดจนพื้นฐานความรู้เรื่องต่าง  ๆ  ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
              ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา
1.  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
      กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม  มีมีน้ำไหลผ่าน  3  สาย  คือ  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก
 และแม่น้ำลพบุรี  มีฝนตกเสมอ  ทำให้เหมาะแก่การเพาะ  การค้าขาย  และการดำเนินชีวิตของชาวอยุธยา
จึงส่งเสริมให้มีการคิดค้นภูมิปัญญาต่าง ๆ  ขึ้นมา  เช่น  บ้านเรือนที่มีใต้ถุนสูง  หลังคาทรงแหลม  บริโภคอาหารด้วยมือ  ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้  พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  เป็นต้น
2. ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
อยุธยาปกครองแบบสังคมศักดินา  ประกอบด้วยชนชั้นมูลนาย  และชนชั้นไพร่  มีการนับถือ
พระพุทธศาสนารวมทั้งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  มีการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการควบคุมกำลังคนให้เป็นระเบียบเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  โดยใช้กุศโลบายทางศาสนาเป็นเครื่องมืออบรมสั่งสอนผู้คน
3.  การรับอิทธิพลจากภายนอก
การที่อยุธยาติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ  จึงมีโอกาสได้เรียนรู้ภูมิปัญญาของชนชาติเหล่านั้น
และนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนในสมัยนั้น เช่น  อารยธรรมอินเดีย  อยุธยาได้นำรูปแบบ
การปกครองแบบเทวราชา  ที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือเทพเจ้าจุติลงมาปกครองประชาชน  โดยอยุธยารับมาจากเขมรซึ่งรับมาจากอินเดีย  อารยธรรมจีน  มีการติดต่อค้าขายในลักษณะของการส่งเครื่องราชบรรณาการหรือ จิ้มก้อง
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการสร้างรูปแบบการปกครองให้เหมาะสม
การปกครองจะต้องมีกษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองบ้านเมือง  ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์  –  ฮินดู  มาจากเขมรซึ่งเขมรรับต่อมาจากอินเดียโดยไทยเรียกเป็นสมมติเทพ  มีการวางระเบียบกฎเกณฑ์    ต่าง ๆ  เกี่ยวกับความสำคัญของพระมหากษัตริย์  เช่น  จัดให้มีที่ประทับสูงกว่าคนอื่น ๆ
มีการสร้างพระราชวังและภายในพระราชวังจะต้องมีกฎเกณฑ์และพิธีกรรมต่าง ๆ  ที่แสดงว่าพระองค์
เป็นสมมติเทพ  โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีถวาย  มีการใช้คำราชาศัพท์  มีกฎมณเฑียรบาล
มีเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์  แสดงถึงฐานะความเป็นกษัตริย์  มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงแก่สถาบันกษัตริย์  นอกจากนี้พระมหากษัตริย์จะต้องทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ  ได้กลายเป็นประเพณีสังคมไทยที่คนไทยต้องปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์
ด้วยความเคารพ  พระมหากษัตริย์ของไทยจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยและทรงเป็นประมุขของอาณาจักรไทยตลอดมา  การสร้างประเพณีการปกครองของคนไทยสมัยอยุธยา  จึงเป็นภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยและสถาบันกษัตริย์ได้กลายเป็นสถาบันหลักที่สำคัญของชาติใน
ระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น