อ่านข่าว

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย

เมโสโปเตเมีย ( Mesopotamia) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า “ที่ระหว่างแม่น้ำ” โดยมีนัยหมายถึง “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส” เมโสโปเตเมีย (meso=กลาง,potamia=แม่น้ำ)ดินแดนดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย
ชนชาติแรกอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์กาล บริเวณที่เข้ามาตอนแรกคือ แคว้นซูเมอร์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเมโสโปเตเมียติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น ลากาซ บาบิโลน อูร์ อูรุค นิปเปอร์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่ม
ดินแดนอินเดียโบราณทางศาสนามักเรียกว่าชมพูทวีป เป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมดินแดนอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศในปัจจุบัน ชื่ออินเดียมาจากภาษาสันกกฤตว่าสินธุ  ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำสายสำคัญทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียโบราณ ชาวอินเดียเองเรียกดินแดนของเขาว่า ภารตวรรษ  ซึ่งมีความหมายว่าดินที่อยู่ของชาวภารตะ  คำว่าภารตะมาจากคำว่าภรตะ  ซึ่งเป็นชื่อของ กษัตริย์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นที่ราบลุ่ม ที่อุดมสมบูรณ์มี อารรธรรมอินเดียโบราณที่ปรากฏหลักฐานอยู่ คือ ที่เมืองฮารัมปาในแคว้นปัญจาบ และเมืองโบราณโมเฮนโจ ดาโร ในแคว้นซินค์ เมืองทั้งสองนี้มีลักษณะที่บอกให้รู้ถึงการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ มีการแบ่งเขตภายในเมืองออกเป็นสัดส่วน  จัดที่ตั้งอาคารสำคัญไว้เป็นหมวดหมู่ มีถนนสายสำคัญๆ มีท่อระบายน้ำสร้างด้วยอิฐฝังลึกอยู่ในดิน มีสระน้ำใหญ่สร้างด้วยอิฐ และมีซากสิ่งก่อสร้างที่สันนิษฐานว่าเป็นยุ้งข้าวใหญ่โตหัวเสา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประเทศอินเดีย
อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ถูกสร้างขึ้นโดยชาวดราวิเดียน (มิลักขะหรือ ทมิฬ) ชนพื้นเมืองเดิมของอินเดียผิวดำ ร่างเล็ก จมูกแบนพูดภาษาตระกูลดราวิเดียน (ทมิฬ ) มีการค้นพบหลักฐานเมื่อ คริสต์ศักราช 1856 เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟบริเวณลุ่มน้ำสินธุ  ค้นพบซากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ คริสต์ศักราช 1920 ปรากฏเป็นรูปเมือง บริเวณเมือง ฮารัมปา(Harappa)  และเมืองโมเฮนโจ  ดาโร(Mohenjo  Daro) อายุประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลักฐานที่ค้นพบจัดเป็นอารยธรรมยุคโลหะเป็นสังคมเมือง ป้อมปราการขนาดใหญ่ มีสระอาบน้ำสาธารณะนักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการวางผังเมือง ตัดถนน มีกำแพงอิฐ บ้านเรือนสร้างด้วยอิฐ
มีระบบระบายน้ำสองท่อทำด้วยดินเผาอยู่ข้างถนน เพื่อรับน้ำที่ระบายจากบ้าน มีอักษรภาพใช้ พบโบราณวัตถุรูปแกะสลักหินชายมีเครา มีแถบผ้าคาด  มีตราประทับตรงหน้าผาก รูปสำริดหญิงสาว รูปแกะสลัก บนหินเนื้ออ่อน เครื่องประดับ สร้อยทองคำ สร้อยลูกปัด มีการเพาะปลูกพืชเกษตรเช่นฝ้าย ข้าวสาลี ถั่ง งา ข้าวโพด พบหลักฐานการค้ากับต่างแดนทั้งทางบกและทางทะเล เช่น เปอร์เชีย อัฟกานิสถาน เมโสโปเตเมีย ธิเบต โดยพบโบราณวัตถุจากอินเดีย  หินสี เงิน อัญมณีจากเปอร์เชีย หยกจากธิเบต และ มีการขุดค้นพบอารยธรรมนี้กว่า 100 แห่งบริเวณแม่น้ำสินธุ ส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห จีน  อารยธรรมจีนในแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห
อารยธรรมจีนได้สร้างสมอยู่ในแผ่นดินแถบบริเวณนี้เป็นมาเวลาช้านาน และมีอิทธิพลที่สร้างกันมานั้นก็ได้มาจากความนึกคิดของเขาเป็นสิ่งสำคัญซึ่งย่อมหมายถึง วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อโลก คนจีนจึงมุ่งที่จะสนใจในปรัชญาของชีวิตและนับถือนักปราชญ์ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ เป็นต้น
อารยธรรมของจีนโบราณที่ศึกษา คือ จีนยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ที่มณฑลโฮนาน และกัสสู ได้พบเครื่องมือหินและเครื่องปั้นดินเผา  เช่นเครื่องปั้นดินเผายางเซา ซึ่งเชื่อว่ามีมาก่อน 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และที่มณฑลซานตุง ได้พบเครื่องปั้นดินเผาสีดำ ใกล้ตำบลลุงชาน จึงเรียกว่าเครื่องปั้นดินเผาลุงชาน
อารยธรรมของจีนก่อตัวขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห และลุ่มแม่น้ำซีเกียงหลังจากนั้นได้ขยายไปสู่ทะเล และภาคพื้นทวีปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและขยายสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีร่องรอยความเจริญให้ชาวโลกได้ศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปกครอง จีนมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมีผู้นำที่มีความสามารถ จีนเชื่อว่ากษัตริย์ที่มาปกครองจีนนั้นเป็นคำสั่งของสวรรค์ ดังนั้นกษัตริย์ คือ  โอรสของสวรรค์ที่จะลงมาปกครองราษฎร์ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข  ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดปกครองราษฎร์ให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน  กษัตริย์พระองค์นั้นหรือราชวงศ์นั้นก็จะถูกลบล้างไป และมีกษัตริย์พระองค์ใหม่ระบบครอบครัวของจีนยึดความกตัญญูและนับถือผู้อาวุโสตามหลักคำสอนของ ขงจื๊อ
หลักคำสอนของขงจื๊อ  ถือว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์เพียบพร้อมที่สุดคือเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมแนวคำสอนที่เป็นพื้นฐานของภูมิปัญญาจีนที่เชื่อว่าปัญหาต่างๆในสังคมเกิดจากคนแต่ละคน การแก้ปัญหาทางหนึ่งคือการฝึกฝนตนเองการอบรมตนเอง  และสามารถปกครองครอบครัวได้ เมื่อปกครองครอบครัวได้ ก็สามารถปกครองแค้วนได้ คุณธรรมประกอบด้วย หลัก 5 ประการ ความสุภาพ มีใจโอบอ้อมอารี จริงใจ  ตั้งใจ  เมตตากรุณา   คุณธรรมที่สำคัญที่เป็นหัวใจของปรัชญาขงจื๊อ คือ เหริน เพราะคำนี้ประกอบด้วย อักขระสองตัวคือ “คน” กับ “สอง” หมายถึง มนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  เหรินคือความรัก ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ เริ่มจากความรักในบิดา มารดา ความรักในความเป็นพี่น้องกัน
ผลงานของขงจื๊อรวบรวมไว้เรียก ตำรับ 5 เล่มของขงจื๊อประกอบด้วย
1)  อี้จิง ตำรับว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
2)  ชูจิง ตำรับว่าด้วยประวัติศาสตร์
3)  ซือจิง ว่าด้วยกาพย์กลอน
4)  หลี่จิ้ง ว่าด้วยพิธีการ
5)  ชุนชิว พงศาวดารฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง
2. ด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ แต่ละราชวงศ์จะมีศิลปะวิทยาการต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปตามพื้นฐานของกษัตริย์ หลักฐานที่ปรากฏให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเช่น เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมยางเซา วัฒนธรรมลุงชาน และกำแพงเมืองจีน
อาณาจักรอิสลาม    คาบสมุทรอาระเบีย   อยู่ทางตะวันตกสุดของทวีปเอเชีย แหล่งชาวอาหรับนับถือเทพเจ้าหลายองค์
เกิดศาสนาอิสลามจึงหันมานับถือพระเจ้าองค์เดียวคืออัลเลาะห์เป็นปึกแผ่นคาบสมุทรอาระเบีย
อาณาจักรบิแซนตีน  หรืออาณาจักรตะวันออก  มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงสแตนติโนเปิล( เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งก็ตั้งตามชื่อของเขาเอง ซึ่งเดิมชื่อ ไบแซนทิอุม หรือ ไปแซนไทม์ —Byzantium–)
มีจักรพรรดิ์สำคัญคือ จัสติเนียน  ผู้มีความสามารถทางการเมือง การปกครองและการทหาร และจัดทำประมวลกฎหมายจัสติเนียน ซึ่งเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ ในทวีปยุโรป มรดกความเจริญทางวัฒนธรรม คือ สถาปัตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น