อ่านข่าว

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การตีความหลักฐาน

04 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ การพยายามเข้าใจความหมายของข้อสนเทศที่ปรากฎอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งความหมายของข้อสนเทศที่ปรากฎอยู่ในหลักฐานนั้นจะมีอยู่ 2 ระดับด้วยกัน คือ

1 ความหมายตามตัวอักษรหรือความหมายตามรูปภายนอก ผู้ศึกษาต้องแน่ใจว่าหลักฐานที่ตนใช้นั้นมีความหมายตรงไปตรงมาว่าอย่างไร ดังตัวอย่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ประติมากรรมที่ค้นพบในประเทศไทย ผู้ศึกษาจะต้องรู้ว่าเป็นรูปของพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนา หรือเป็นรูปของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

2 ความหมายที่แท้จริง หลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังมีความหมายอื่น ซึ่งเป็นความหมายตามเจตนารมณ์ของผู้สร้างหลักฐานแฝงอยู่ด้วย ดังเช่น จารึกที่เป็นการบันทึกการทำบุญของกษัตริย์ นอกจากจะมีเจตนารมณ์ที่จะบรรยายการทำบุญสร้างวัดใดวัดหนึ่งของกษัตริย์แล้ว อาจจะยังมีเจตนารมณ์ที่จะประกาศบุญญาอภินิหารของผู้สร้างที่ไม่มีผู้ใดเทียบเทียมได้ หรือว่าเทวรูปที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูนั้น อาจไม่ได้เป็นเพียงรูปเคารพในศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นภาพจำลองของกษัตริย์ที่ลวงลับไปแล้วเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น